Monday, March 28, 2016

จากอ่าวเปอร์เซียถึงทะเลสาบแคสเปียน

โครงการสร้างคลองลัดของอิหร่านจากอ่าวเปอร์เซียไปยังทะเลสาบแคสเปียน
26/3/2016
ดูเหมือนว่าสหรัฐฯจะเป็นห่วงโครงการคลองลัดของอิหร่านจากอ่าวเปอร์เซียไปยังทะเลสาบแคสเปียน

การริเริ่มที่เตหะรานต้องการเห็นมากที่สุด  คือการสร้างคลองขุดเพื่อการเดินเรือเชื่อมทะเลสาบแคส เปียนกับอ่าวเปอร์เซีย     โครงการนี้คาดว่าจะเสร็จสมบูรณ์ในปี 2020 โดยเฉพาะอย่างยิ่งจะเป็นประ โยชน์ต่อรัสเซียเป็นอันมาก   เนื่องจากสัมพันธภาพที่เย็นชากับตุรกี  แต่สำหรับยุโรป และประเทศอดีตสหภาพโซเวียตจะได้ผลประโยชน์มากมายจากโครงการนี้
นาย อเล็กไซ ชิคกิน นักวิเคราะห์ด้านเศรษฐศาสตร์ให้ความเห็นว่า...ในอิหร่านการก่อสร้างคลองเพื่อเชื่อมเส้นทางเดินเรือนี้ได้เริ่มลงมือและมีความคืบหน้าไปบ้างแล้ว
การริเริ่ม ..ไม่ใช่เรื่องใหม่   ความคิดนี้เริ่มขึ้นเมื่อปลายศตวรรษที่ 19 โดยวิศวกรชาวรัสเซีย ได้พัฒนาพิมพ์เขียวสำหรับเส้นทางเดินเรือขึ้นในทศวรรษที่ 1890  เพื่อเป็นทางลัดไปยังมหาสมุทรอินเดียโดยไม่ต้องผ่านช่องแคบตุรกี (บอสพอรัส) และคลองสุเอซในอียิปต์
โครงการนี้ได้รับการอนุมัติจากนาย มามูต อาห์มาดิเนจาด  ประธานาธิบดีคนก่อน     เมื่อปี 2012  นาย มาจิด  นามโจ รัฐมนตรีพลังงานอิหร่านคนก่อนได้ประมาณการว่าโครงการนี้มีมูลค่าประมาณเจ็ดแสนล้านดอลลาร์

เดือนกุมภาพันธ์ 2015 นาย อเลดิน โบรูเจอร์ดี ประธานนโยบายความมั่นคงแห่งชาติและคณะกรรม การนโยบายต่างประเทศของรัฐสภาอิหร่าน  ให้สัมภาษณ์สำนักข่าว ฟาร์ส นิวส์ว่า บริษัทวิศวกรรม  คาทาม อัล อันบิยา ที่มีกองกำลังพิทักษ์การปฏิวัติเป็นเจ้าของ   จะเป็นผู้ดูแลรับผิดชอบโครงการอย่างใกล้ชิด

แต่ก็ใช่ว่าจะมีผู้เห็นด้วยกับแนวคิดนี้ทั้งหมด...  ”ตะวันตกและตุรกี มีความพยายามที่จะสกัดกั้นการก่อ สร้างทั้งทางตรงและทางอ้อม     จริงๆแล้วสหรัฐฯได้ประกาศมาตรการแซงชั่น “บริษัทใดๆก็ตามที่มีส่วนเกี่ยวข้องในโครงการนี้”  ..ชิคกิน อธิบาย  

ข้อเรียกร้องต้องการที่จะทำการก่อสร้างอีกประการหนึ่งก็คือเพื่อขจัดความแห้งแล้งในภาคกลางของอิหร่านรวมไปถึงในดินแดนที่ราบสูงอีกด้วย     โครงการขนาดมหึมานี้ต้องการเงินลงทุนสูงมาก  นอก   นอกเหนือจากเรื่องอื่นๆแล้วยังครอบคลุมไปถึงการพยายามกลั่นน้ำจืดจากน้ำเค็ม     นอกจากนี้แล้วคลองขุดจะก่อสร้างขึ้นในพื้นที่ๆเกิดแผ่นดินไหวอีกด้วย


ญี่ปุ่นสร้างฐานทัพบนหมู่เกาะเซ็นกากุ

ญี่ปุ่นสร้างฐานทัพบนหมู่เกาะเซ๊นกากุ/เตียวหยู

วันจันทร์ที่ 28 ที่ผ่านมา ญี่ปุ่นได้ส่งทหารของกองกำลังป้องกันตนเองออกจากโอกินาวา  ไปยังเกาะ ตอนใต้สุดของหมู่เกาะเซ็นกากุ/เตียวหยู ที่จีนอ้างสิทธิ์จากกรณีพิพาท    ซึ่งห่างจากโอกินาวาไปทางใต้ประมาณ 92 ไมล์    สำนักข่าวเกียวโดของญี่ปุ่นแจ้งว่า   รัฐบาลได้ส่งทหาร 160 นายไปประจำการที่เกาะโยนากูนิ เกาะใต้สุดของหมู่เกาะเซ็นกากุ/เตียวหยู    รวมถึงการทำหน้าที่พิเศษในการเฝ้าสังเกตการณ์ทางทะเลรอบๆเกาะและพื้นที่ใกล้เคียงกับเกาะเซ็นกากุ/เตียวหยูโดยสถานีเรดาร์ที่ตั้งอยู่บนเกาะนั้น

กรณีพิพาททางการเมืองระหว่างจีน-ญี่ปุ่นเริ่มขึ้นในปี 2012 และรุนแรงขึ้นในกรณีพิพาททางดินแดน    เมื่อรัฐบาลญี่ปุ่นได้ประกาศอธิปไตยของชาติเหนือเกาะเซ็นกากุที่จีนอ้างสิทธิ์ในทะเลจีนตะวันออก    โดยถือว่าเป็นส่วนหนึ่งในจังหวัดโอกินาวาของญี่ปุ่น    ปี 2014 จีนและญี่ปุ่นได้มีข้อตกลงที่จะลดความตึงเครียดในข้อพิพาทเรื่องหมู่เกาะลง   กระนั้นเรือของจีนยังรุกล้ำอธิปไตยในน่านน้ำรอบๆเกาะเซ็นกากุหลายตรั้งซ้ำๆกันในปี 2015

เหตุการณ์พิพาท จีน-ญี่ปุ่น กรณีเกาะเซ็นกากุ/เตียวหยู

ปี 1371  จีนอ้างสิทธิ์ในการค้นพบหมู่เกาะในสมัยกลาง
ทศวรรษที่ 1780 เกาะเซ็นกากุ/เตียวหยู  ได้แสดงไว้ในแผนที่ของญี่ปุ่นว่าเป็นของจีน
ปี 1895 ญี่ปุ่นได้ผนวกหมู่เกาะเข้าในจักรวรรดิญี่ปุ่นหลังสงครามจีน-ญี่ปุ่นครั้งแรก
ปี 1900 โคกะ ทัตสึชิโร  นักธุรกิจญี่ปุ่น ได้ก่อตั้งบริษัทค้าปลาและดำเนินการมาจนถึงปี 1940 นับแต่นั้นมาเกาะถูกทิ้งร้างไป
ปี 1945 หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 สหรัฐฯได้เข้ายึดครองหมู่เกาะ
ปี 1969 สำนักงานคณะกรรมการเศรษฐกิจเอเชียและตะวันออกไกล(ECAFE) ได้ระบุถึงศักยภาพของการเป็นแหล่งสำรองปริมาณก๊าซธรรมชาติและน้ำมันในบริเวณใกล้เคียงหมู่เกาะ
ปี 1970 ทาญาติของ ทัตสึชิโร  ได้ขายเกาะเล็กๆสี่เกาะให้แก่ตระกูลคูริฮารา   ส่วนเกาะที่ 5 ยังอยู่ในครอบครองของรัฐบาลญี่ปุ่น
ปี 1972  สหรัฐฯได้มอบคืนเกาะจากการยึดครองให้แก่ญี่ปุ่น
ปี 1992  จีนได้ประกาศว่า เป็นเขตครอบครองของตนมาแต่ดั้งเดิม
ปี 1999  จากการสำรวจรอบๆเกาะพบว่ามีแหล่งสะสมแก๊สธรรมชาติประมาณ 200 ล้านคิวบิคเมตร
ปี 2002  รัฐบาลญี่ปุ่นได้เช่าเกาะทั้ง 4 เกาะจากตระกูลคูริฮารา

เดือนกันยายน 2012  รัฐบาลญี่ปุ่นได้ซื้อ 3 ใน 4 เกาะและประกาศอธิปไตยของชาติเหนือหมู่เกาะ   จึงเป็นชนวนความตึงเครียดครั้งใหม่ในด้านความสัมพันธ์กับจีน