Monday, January 23, 2017

ยุทธศาสตร์ของอเมริกา vs การแก้เกมของจีน ตอนที่ 6/6 จบ

ตอนสุดท้าย
9. ปิดท้าย
Pivot to Asia เป็นแผนการที่เรียกสวยหรูว่า Rebalancing Policy for the New World Orderหรือนโยบายที่จะจัดความสัมพันธ์เพื่อระเบียบโลกใหม่ (ของอเมริกา โดยอเมริกา และเพื่ออเมริกา) ที่มีเนื้อแท้เป็น แผนการปิดล้อมและควบคุมจีนของอเมริกา นั่นเอง ในที่นี้หมายถึง การย้ายจุดหนักจากแนวทางการทูตมาสู่แนวทางการทหาร, ในทางพื้นที่ หมายถึง ย้ายจากจุดอิทธิพลที่อเมริกามีอยู่เดิมในยุโรปและตะวันออกกลาง มาสู่เอเชียในพื้นที่เล็ก ๆ ที่เรียกว่าทะเลจีนใต้และช่องแคบมะละกา, ในทางเวลา หมายถึง จาก อย่างค่อยเป็นค่อยไป มาสู่ อย่างรวดเร็วฉับพลัน ครั้งเดียว

โดยสรุปPivot to Asia มีความหมายว่า อเมริกาจะมุ่งตัดสินปัญหาความขัดแย้งทั้งหลายทั้งปวงกับจีน ด้วยการทำสงครามทางทะเลที่มีชอบเขตจำกัด (ไม่ขยายไปสู่สงครามนิวเคลียร์) ด้วยการเข้าควบคุมปิดช่องแคบมะละกา และล่อกองทัพเรือจีนที่อเมริกาเชื่อว่ามีความอ่อนด้อยกว่าอเมริกาทั้งในเชิงปริมาณและคุณภาพ ให้ออกมาปกป้องอธิปไตยเหนือหมู่เกาะปะการังและหินโสโครกในทะเลจีนใต้ เพื่อที่อเมริกาจะได้ทำลายเสียในครั้งเดียวด้วยกำลังทางเรือที่อเมริกาวางกำลังซุ่มอยู่ในแปซิฟิกตะวันออก ซึ่งจะมีผลบังคับให้จีนต้องยอมเจรจาภายใต้เงื่อนไขที่อเมริกาเป็นผู้กำหนด เหมือนกับที่ญี่ปุ่นกระทำกับจีนในสนธิสัญญาชิโมโนเซกิ ปี 1895 

เพื่อที่จะให้แผนการนี้เกิดขึ้นเป็นจริงอเมริกาโดยกระทรวงกลาโหมจึงต้องเคลื่อนย้ายกำลังทั้งปวงมารวมศูนย์ไว้ในบริเวณมหาสมุทรแปซิฟิก ในขณะที่มอบหมายกระทรวงการต่างประเทศให้การสนับสนุนส่งเสริมบทบาทของ NATO ในยุโรปควบคุมรัสเซีย และซาอุดิอาระเบียรวมทั้งกลุ่มพันธมิตรอาหรับ เข้ามีบทบาทในตะวันออกกลางควบคุมอิหร่าน  อย่างไรก็ดีอเมริกาโดยกระทรวงกลาโหมก็ได้วางกำลังจำนวนมากไว้ในอัฟกานิสถานตอนเหนือ และให้ NATO วางกำลังทหารไว้ในอัฟกานิสถานตอนใต้ เป็นลิ่มชี้ไปทางเอเชียกลาง

บทบาทของ Obama ในอินเดียและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นเพียงการแสดงสร้างภาพทางการเมืองที่ทำให้อเมริกาเป็นเหมือนผู้นำฝ่ายประชาธิปไตยที่ปรารถนาสันติภาพเท่านั้น เพื่อคานบทบาทของจีนในภูมิภาคนี้ โดยให้ความหวังลม ๆ แล้ง ๆ แก่อินเดีย และไม่ได้ให้การสนับสนุนทางวัตถุที่เป็นกอบเป็นกำใด ๆ แก่ประเทศอาเซียนอย่างจริงจัง จนกระทั่งObama ได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพคู่กับอองซานซูจี
แม้กระทั่งการสนับสนุนให้ฟิลิปปินส์ ทำการต่อต้านจีน นำเรื่องกรณีพิพาทดินแดนในทะเลจีนใต้กับจีน ยื่นต่อ คณะอนุยาโตตุลาการระหว่างประเทศ เพื่อสร้างความชอบธรรมให้แก่การแทรกแซงของอเมริกาเมื่อถึงเวลา โดยที่อเมริกาไม่ได้ตอบแทนฟิลิปปินส์เท่าที่ควรนอกจากความช่วยเหลือทางทหารในรูปของการฝึกและเรือรบเก่าไม่กี่ลำ เนื่องจากอเมริกาไม่ได้ตั้งใจที่จะให้ฟิลิปปินส์หรือประเทศใด ๆ มีส่วนโดยตรงในแผนการทำลายกองทัพเรือจีน

และแล้วการถอนความสนใจหลักออกจากยุโรปและตะวันออกกลาง ส่งผลให้รัสเซียต้องไปร่วมมือกับจีน ซึ่งถือว่า ทำให้ ความพยายามแยกรัสเซียออกจากจีนที่อเมริกาทำมาครึ่งศตวรรษ ต้องล้มครึนลงในชั่วพริบตา การเข้าส่งออกประชาธิปไตยของ NATO ฝ่ายตุรกีเข้าไปในซีเรียก่อให้เกิดสงครามกลางเมืองซีเรีย และการขยายอิทธิพลของซาอุดิอาระเบียเข้าไปสู่อิรักและซีเรียไปคานอิทธิพลอิหร่านกลายเป็นการส่งออลัทธิวาหะบี และลัทธิก่อการร้าย กลายเป็นขบวนการ ISIS คุกคามอิทธิพลของอเมริกาในอิรักเสียเองทำให้อเมริกาถอนตัวออกจากตะวันออกกลางไม่ได้ ยิ่งไปกว่านั้นซาอุดิอาระเบียยังเปิดศึก 2 ด้าน ก่อสงครามโจมตีเยเมนโดยพลการ การสร้างสงครามกลางเมืองในซีเรีย โดย NATO และซาอุดิอาระเบียนี่เองทำให้ อัสซาด ๆม่มีทางเลือกต้องขอให้รัสเซียเข้ามาช่วยรัสเซียจึงมีทางออกแหกวงล้อมNATO ในยุโรปเปิดการรุกที่ช่องว่างปลายปีกทั้ง 2 ข้างของอเมริกาที่ซีเรีย (ปลายปีกด้านหนึ่งของอเมริกาคือ NATO ในซีเรีย และปลายปีกอีกด้านหนึ่งของอเมริกา คือ ซาอุดิอาระเบีย ที่ปลายปีกทั้ง 2 ข้างใกล้บรรจบกันพอดีที่ซีเรีย ในขณะที่ตัวตรงกลางและหัวของอเมริกาอยู่ที่ ทะเลจีนใต้) อเมริกาจึงทำอะไรไม่ได้เพียงเท่านี้Pivot to Asia ก็ล้มลงโดยพื้นฐานแล้ว

ในขณะเดียวกันจีนก็เปิดเข็มมุ่งOne Belt, One Road ล่ออเมริกาให้เคลื่อนกำลังเกือบทังหมดไปรวมศูนย์ไว้ที่ทะเลจีนใต้โดยหวังที่จะทำลายทัพเรือจีนและปิดช่องแคบมะละกาในการรบณจุดเดียวและครั้งเดียวเหมือนกับคราวที่ญี่ปุ่นทำลายกองทัพเรือจีนในทะเลเหลืองในการรบที่ปากแม่น้ำยาลูในทะเลเหลืองเมื่อวัน 17 กันยายน 1894ส่งผลให้จีนพ่ายแพ้ญี่ปุ่นในสงครามจีน-ญี่ปุ่นครั้งที่ 1 (สิงหาคม 1894 – เมษายน 1895) บังคับให้จีนต้องลงนามในสนธิสัญญาชิโมโนเซกิเมื่อวันที่ 17 เมษายน 1895 สูญเสียเกาหลีและไต้หวันพร้อมกับต้องจ่ายค่าปรับสงครามเป็นจำนวนมหาศาลให้ญี่ปุ่นPivot to Asia ในปี 2013 ของอเมริกาก็มีเป้าหมายคล้ายคลึงกัน

เมื่อเริ่มต้นPivot to Asia อเมริกาก็ได้ผลักให้รัสเซียไปร่วมมือกับจนในขณะที่Obama ป้วนเปี้ยนอยูในเอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้Kerry กำลังหัวปั่นวิ่งวุ่นอยู่ในยุโรปและตะวันออกกลางและCarter กำลังจดจ่ออยู่ที่ทะเลจีนใต้One Road ของจีนก็บรรลุข้อตกลงทางการค้าพลังงานและการพัฒนาระบบสาธารณูประโภคการขนส่งและการทหารกับรัสเซียอิหร่านและประเทศเอเชียกลางและจีนก็ได้ระดมทรัพยากรทั้งหมด ไปรวมศูนย์และกระจายอยู่ในเอเชียกลาง อย่างเงียบ ๆ
จนกระทั่งมีข่าวว่า “จีนได้เริ่มเดินรถไฟขนส่งสินค้าขบวนแรกไปยังกรุงลอนดอนสหราชอาณาจักรแล้วเมื่อวันที่ 1 มกราคม 2017”ข่าวนี้หมายความว่าอย่างไร... หมายความว่า เข็มมุ่ง One Road ของจีนได้บรรลุเป้าหมายโดยพื้นฐานแล้ว ทำให้การขนส่งสินค้าบนเส้นทางสายไหมใหม่เป็นไปได้และเกิดขึ้นเป็นจริงเรียบร้อยแล้ว จีนบรรลุหลักประกันการเคลื่อนที่ทางบกในยูเรเชีย 

ก่อนหน้านี้ ก็มีข่าวสำคัญ คือ
วันที่ 15 สิงหาคม 2016 จีนส่งดาวเทียมสื่อสารระบบควันตัม(Quantum Experiments at Space Scale – QUESS) ขึ้นสู่วงโคจร เทคโนโลยีการสื่อสารระบบควันตัมนี้ จะทำให้ไม่มีใครสามารถดักการฟังและถอดรหัสการสื่อสารของจีนได้
วันที่ 16 ตุลาคม 2016 จีนส่งมนุษย์อวกาศ 2 นายไปปฏิบัติงานในในสถานีอวกาศ Tiangong-2 และมนุษย์อวกาศทั้ง 2 นายสามารถกลับลงมาสู่โลกอย่างปลอดภัย เมื่อวันที่ 18พฤศจิกายน 2016 หลังจากอยู่ในอวกาศเป็นเวลา 32 วัน ในระหว่างนั้นมีการถ่ายทอดสดสภาพของมนุษย์อวกาศ เป็นระยะ แต่ไม่มีเสียง และมีข่าวว่า NASA ไม่สามารถตรวจจับการสื่อสารใด ๆ จากสถานีอวกาศ Tiangong-2 ได้เลยนอกจากสัญญาณที่จีนต้องการจะให้จับได้
ในวันที่ 16 ธันวาคม 2016 มีข่าวว่าเรือจีนจับยานโดรนใต้น้ำของอเมริกาได้ในทะเลจีนใต้ โครงการโดรนใต้น้ำของอเมริกานี้ เป็นโครงการลับสุดยอดที่อเมริกาใช้เงินนับหมื่นล้านดอลลาร์ในการพัฒนา เป็นเทคโนโลยีขั้นสูงสุดของกองทัพเรืออเมริกา มีคำถามว่า จีนใช้เทคนิคอะไรที่จะสามารถจับโดรนใต้นำของอเมริกาได้
ทั้ง 3 ข่าวเป็นเพียงตัวอย่าง ที่บอกใบ้ให้อเมริการู้ถึง สมรรถภาพทา
งการทหารของจีน ซึ่งอเมริกาจะต้องชั่งใจให้ดีก่อนตัดสินใจก่อสงครามกับจีน ...


จบบริบูรณ์

บันทึกท้ายเล่ม

 [1]   ฐานะการเป็นฝ่ายกระทำและฝ่ายถูกกระทำคัดจากหมายเหตุผู้ตัดสำเน่า  ในนิพนธ์เหมาเจ๋อตุงเรือง ปัญหายุทธศาสตร์ในสงครามจรยุทธ์ต่อต้านญี่ปุ่น (พฤษภาคม ๑๙๓๘), สรรนิพนธ์เหมาเจ๋อตุง เล่ม ๒ ตอนต้น ฉบับภาษาไทย สำนักพิมพ์ภาษาต่างประเทศ ปักกิ่ง  ๑๙๖๘, ฉบับเผยแพร่ใหม่ ๒๐๑๖ สำนักพิมพ์สื่อแสงสว่าง
ฐานะการเป็นฝ่ายกระทำและฝ่ายถูกกระทำ นี่เป็นหัวข้อยุทธศาสตร์ที่สำคัญที่สุด ที่มีผลต่อการปฏิวัติ  รวมไปถึงการแก้ปัญหาประจำวันในชีวิตส่วนตัวของปัจเจกบุคคล ไปถึงระดับยุทธวิธี ทั้งในทางการเมืองและการทหาร ในทางประวัติศาสตร์ พลังการผลิตของมนุษย์ที่ก้าวหน้ามาจนทุกวันนี้ ก็เกิดจากความต้องการที่มนุษย์จะเป็นฝ่ายกระทำต่อธรรมชาติ ในขณะที่ต้องทนเป็นฝ่ายถูกการกระทำจากธรรมชาติตลอดมา
เป็นธรรมดาของกฎความขัดแย้ง ที่มี ๒ ด้านที่ตรงกันข้ามกันดำเนินความสัมพันธ์กันทั้งที่เป็นแบบปฏิพัทธ์ (เกื้อกูลกัน) หรือแบบปฏิปักษ์ (ต่อสู้กัน) ณ ขณะหนึ่ง ๆ ด้านหนึ่งจะดำรงเป็นด้านหลักและอีกด้านหนึ่งเป็นด้านรองเสมอ  ด้านหลักจะเป็นผู้กำหนดความเป็นไปของด้านรอง  ภาวะนี้เรียกว่า “ฝ่ายกระทำ” ส่วนด้านรองที่ถูกกำหนดโดยด้านหลักเรียกว่า “ฝ่ายถูกกระทำ”(โปรดอ่าน “ว่าด้วยความขัดแย้ง” ในสรรนิพนธ์เหมาเจอตุง เล็มที่ ๑ ตอนปลาย)
ฝ่ายกระทำมีเสรีภาพสามารถกำหนดให้ฝ่ายถูกกระทำเคลื่อนไหวไปตามความต้องการของตนได้ เช่นเราต้อนควายไปเลี้ยงในทุ่งหญ้า เราเป็นฝ่ายกระทำ และควายเป็นผู้ถูกกระทำ แต่เมื่อควายเตลิดหนีไปทุ่งอื่นเราต้องตามไปต้อนควายกลับมา ในเวลาเช่นนี้ ควายเป็นผู้กระทำ บังคับให้เราต้องไล่ติดตามควายไป ตอนนี้ เราเป็นผู้ถูกกระทำ อย่างไรก็ตามในสภาพทั่วไป เราก็ยังเป็นฝ่ายกระทำอยู่แต่สูญเสียความเป็นฝ่ายกระทำไปชั่วคราวเท่านั้น
ปัจจัยของความเป็นฝ่ายกระทำก็คือ เสรีภาพที่จะกระทำหรือไม่กระทำการใด ๆ ในความสัมพันธ์กับฝ่ายตรงกันข้าม นั่นคือ เสรีภาพในการเคลื่อนไหวตามอำเภอใจของเราและในขณะเดียวกันก็มีอิทธิพลอำนาจกำหนดให้ฝ่ายตรงกันข้ามเคลื่อนไหวไปตามที่เราต้องการ
เส้นแบ่งระหว่างความเป็น “ฝ่ายกระทำ” กับ “ฝ่ายถูกกระทำ” นั้นบางมาก ด้านที่ฝ่ายกระทำ อาจเปลี่ยนไปเป็นฝ่ายถูกกระทำ ได้ในชั่วพริบตา หากค้านนั้นสูญเสียความสามารถในการยึดกุมเงื่อนไขปัจจัยในการเป็นฝ่ายกระทำของตนไปแม้เพียงชั่วพริบตา ในขณะเดียวกันในด้านที่เป็นฝ่ายถูกกระทำ ก็สามารถช่วงชิงเงื่อนไขปัจจัยในการเป็นฝ่ายกระทำมาได้ในชั่วพริบตานั้นมาเป็นของตนได้ก็จะกลายเป็นฝ่ายกระทำไปในทันที ภาวะเช่นนี้เรียกว่า “จุดพลิกผัน”
“จุดพลิกผัน” นี้ไม่ได้เกิดขึ้นมาลอย ๆ แต่เป็นจุดที่ฝ่ายถูกกระทำใช้ความพยายามไปช่วงชิง เงื่อนไขปัจจัยในการเป็นฝ่ายกระทำมาได้
การเป็นฝ่ายกระทำ มีได้ทั้งในทางการเมืองและการทหาร โดยทางประวัติศาสตร์และยุทธศาสตร์แล้วฝ่ายปฏิวัติเป็นฝ่ายประทำ และฝ่ายปฏิกิริยาเป็นฝ่ายถูกกระทำ แต่ในระยะผ่านทางประวัติศาสตร์นี้ ฝ่ายปฏิวัติและฝ่ายปฏิกิริยาผลัดเปลี่ยนกันเป็นฝ่ายกระทำกันไปมา โดยเฉพาะในตอนเริ่มแรกของการปฏิวัติ ชนชั้นปกครองปฏิกิริยาได้กระทำการกดขี่ต่อประชาชนผู้ถูกปกครอง ฝ่ายปฏิกิริยาเป็นฝ่ายกระทำ จนทำให้เกิดการต่อต้านการกดขี่ของผู้ปกครองโดยประชาชน ตอนนี้ฝ่ายประชาชนกลับเป็นฝ่ายกระทำ  จากนั้นฝ่ายผู้ปกครองก็ปราบปรามการต่อต้านของประชาชน ผู้ปกครองเป็นฝ่ายกระทำ ..... จนกระทั่งถึงเกิดสงครามปฏิวัติของประชาชน ฝ่ายปฏิวัติจึงเป็นฝ่ายกระทำ จนการปฏิวัติได้รับชัยชนะ ผู้ปกครองถูกกระทำจนต้องถูกโค่นล้มออกไป นี่เป็นท่วงทำนองประวัติศาสตร์ ตลอดระยะประวัติศาสตร์ ประชาชนผู้ถูกกดขี่จะตอบโต้และพลิกสถานการณ์เป็นฝ่ายกระทำในที่สุดเสมอ
เมือในทางประวัติศาสตร์ และทางยุทธศาสตร์ ฝ่ายปฏิวัติเป็นฝ่ายผู้กระทำ ปัญหาแท้จริงกลับมาเป็นในทางยุทธวิธี ที่มักก่อความเสียหายที่ไม่จำเป็นต่อฝ่ายปฏิวัติ เนื่องจากไม่สามารถยึดกุมยุทธศาสตร์การเป็นฝ่ายกระทำไปใช้ได้ ซึ่งอาจเนื่องมาจากไม่มีวิธีคิด ไม่มีความสันทัดจัดเจน หรือไม่มีอะไรเลย แม้มีดุลกำลังเหนือกว่า เป็นฝ่ายกระทำตั้งแต่เริ่มต้น ในตอนท้ายก็มักตกอยู่ในสภาพฝ่ายถูกกระทำเสมอ  
อเมริกาเป็นตัวอย่างของการไม่มีวิธีคิด ไม่ว่าในเวียดนาม อัฟกานิสถาน และอิรัก เริ่มเป็นฝ่ายกระทำ รุกเข้าไปยึดได้แล้ว แต่แล้วในที่สุดก็ตั้งรับรอแต่การโจมตีของข้าศึก ตกเป็นฝ่ายถูกกระทำ ข้าศึกมีเสรีภาพในการเคลื่อนไหว และเลือกรบกับฝ่ายอเมริกาในเวลาและสถานที่ที่ตนเองได้เปรียบที่สุด และไม่ยอมทำตามที่อเมริกาต้องการ ไม่ยอมรบในสนามรบที่อเมริกากำหนด ที่จะทำให้ตนสูญเสียฐานะการเป็นฝ่ายกระทำไป
โดยพื้นฐานแล้ว การเป็นฝ่ายกระทำ สัมพันธ์กับ การเคลื่อนที่ เมื่อหยุดการเคลื่อนที่ โอกาสที่จะเป็นฝ่ายกระทำ ก็น้อยลง เว้นแต่ฝ่ายเราจะมีดุลกำลังเหนือกว่าศัตรู และตั้งใจที่จะล่อศัตรูให้เข้ามาโจมตี ในพื้นที่ตั้งรับที่เราได้ตระเตรียมไว้แล้ว ตัวอย่างก็คือ การยุทธ์ที่เคอร์สค(Battle of Kursk) ในสงครามโลกครั้งที่ ๒ ในรัสเซีย เมื่อเดือนกรกฎาคม ๑๙๔๓ ที่รัสเซียล่อให้เยอรมันเข้าโจมตีแนวตั้งรับที่เตรียมเอาไว้อย่างดี เมื่อเยอรมันอ่อนกำลงลงแล้ว จึงใช้กำลังตีโอบปีกทั้ง ๒ ข้างของเยอรมัน บังคับให้เยอรมันต้องถอยไป ๆ ไกลถึง เบลโลรัสเซียใกล้ชายแดนโปแลนด์ อันเป็นจุดที่ เยอรมัน เริ่มต้นรุกรานรัสเซียในปี ๑๙๔๑ การพ่ายแพ้ที่เคอร์สค ทำให้เยอรมันหมดกำลังจนไม่สามารถทำการรุกโต้ได้อีกในแนวรบตะวันออก หมดสภาพและความสามารถการเป็นฝ่ายกระทำลงโดยสิ้นเชิง และพ่ายแพ้สงครามในที่สุด
แต่โดยทั่วไป การเป็นฝ่ายกระทำ สัมพันธ์กับ การเคลื่อนที่ การหยุดนิ่งอยู่กับที่ ยอมกลายเป็นเป้าให้ถูกกระทำได้ง่าย หมดความสามารถที่จะเป็นฝ่ายกระทำ  จักรพรรดินิยม และพวกปฏิกิริยามีพลังอำนาจสามารถเป็นฝ่ายกระทำในความขัดแย้งใด ๆ อย่างเช่นอเมริกา ไม่มีวิธีคิดอย่างนี้ ไม่เข้าใจยุทธศาสตร์การเป็นฝ่ายกระทำ ทุก ๆ สงครามที่อเมริกาเข้าไปยุ่งเกี่ยว ก็เริ่มต้นจากการเป็นฝ่ายกระทำ แล้วในที่สุดก็จบลงด้วยกลายเป็นฝ่ายถูกกระทำ เห็นได้ว่าอมริกาเป็นฝ่ายกระทำในขณะทำการรุก เมื่อการรบยุติลง อเมริกาก็หยุดเคลื่อนที่ แล้วยึดพื้นที่ตั้งรับ ในทางทหารก็ถือว่าเป็นปรกติ แต่ตามทรรศนะวิทยาศาสตร์ เห็นว่าการเมืองกับการทหารเป็นเรื่องเดียวกัน เป็นกระบวนการเชื่อมต่อกัน เมื่อยุติการรบลง ก็ต้องเริ่มงานการเมือง อเมริกามีทรรศนะด้านเดียวไม่ทำการรุกต่อทางการเมือง เพื่อรักษาการเป็นฝ่ายกระทำของตนเอาไว้  การรุกทางการเมืองนี้เราหมายความว่า “การสร้างมิตร” แต่อเมริกากลับทำในทางตรงกันข้ามคือ “สร้างศัตรู” ปฏิบัติการปราบปรามพลเมืองในพื้นที่ยึดครองอย่างโหดร้าย.
การกระทำของอเมริกากลับเลวร้ายยิ่งกว่าผู้ปกครองเดิมเสียอีก จักรพรรดินิยมและพวกปฏิกิริยามองเห็นว่าประชาชนเป็นศัตรูไปหมด และพบว่าตัวเองถูกศัตรูล้อมเอาไว้ทุกด้าน จึงกลายเป็นฝ่ายถูกกระทำไปโดยปริยาย สิ่งนี้เกิดขึ้นใน เกาหลี เวียดนาม อัฟกานิสถาน และอิรัก  ที่ในที่สุดจักรพรรดินิยมต้องพ่ายแพ้ในทุกสงคราม นี่คือตัวอย่างหนึ่งของการไม่มีวิธีคิดที่ถูกต้อง ไม่เข้าใจเรื่อง การเป็น “ฝ่ายกระทำ” และการเป็น “ฝ่ายถูกกระทำ” ที่สัมพันธ์กับ “การเคลื่อนที่” และ “การหยุดอยู่กับที่” รวมทั้งความเชื่อมต่อกันของ การทหารและการเมือง
อ่านเพิ่มเติมในข้อ (๗๘) - (๙๐),ความเป็นฝ่ายกระทำ ความพลิกแพลง และความมีแผนการ,“ว่าด้วยสงครามยืดเยื้อ”, สรรนิพนธ์เหมาเจ๋อตุง เล่ม ๒ ตอนต้น. ซึ่งนำมาบรรจุไว้เป็น ภาคผนวก ต่อท้ายหมายเหตุท้ายบท หน้า 57
[2] ความสามารถใน“การระดมเคลื่อนที่รวมศูนย์และกระจาย”ทรัพยากรได้อย่างรวดเร็วเป็นเป็นความสามารถเฉพาะและพิเศษของจีน ที่พัฒนามาตั้งแต่สงครามปฏิวัติจีน (ปี 1927-1949) ที่เหมาเจ๋อตุงได้ให้ความสำคัญเป็นยุทธวิธีในการรบสงครามเคลื่อนที่ หลักการทางยุทธวิธีนี้ ได้พัฒนาไปเป็นยุทธศาสตร์ด้านต่าง ๆ ของจีนในปัจจุบัน ที่ส่งผลให้จีนก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานเส้นทางคมนาคมอย่างขนานใหญ่ต่าง ๆ ทั่วประเทศอย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นที่ไหนมาก่อนในโลก เพื่อเอื้ออำนวยให้ ความสามารถใน “การเคลื่อนที่-รวมศูนย์-กระจาย” มีประสิทธิภาพสูงสุด
[3]ความไม่เชื่อมต่อกันของการเมืองกับการทหารเหมาเจ๋อตุงกล่าวถึงความสัมพันธ์ระหว่างการเมืองกับการทหาร ไว้ในหัวข้อ สงครามกับการเมืองในนิพนธ์เหมาเจ๋อตุง “ว่าด้วยสงครามยืดเยื้อ” (พฤษภาคม ๑๙๓๘), สรรนิพนธ์เหมาเจ๋อตุง เล่ม ๒ ตอนต้น:
สงครามกับการเมือง
(๖๓) “สงครามคือการต่อเนื่องของการเมือง”เมื่อกล่าวในแง่นี้แล้วสงครามก็คือการเมืองและตัวสงครามเองก็คือการปฏิบัติการที่มีลักษณะการเมือง.ตั้งแต่โบราณกาลเป็นต้นมา ไม่มีสงครามใด ๆเลยที่ไม่มีลักษณะการเมืองติดอยู่.สงครามต่อต้านญี่ปุ่นเป็นสงครามปฏิวัติของทั้งประชาชาติชัยชนะของสงครามนี้มิอาจแยกออกจากจุดมุ่งหมายทางการเมืองของสงครามขับไล่จักรพรรดินิยมญี่ปุ่นออกไปและสถาปนาประเทศจีนใหม่ที่มีอิสรภาพและความเสมอภาคมิอาจแยกออกจากเข็มมุ่งทั่วไปที่ให้ยืนหยัดในสงครามต่อต้านและยืนหยัดในแนวร่วม มิอาจแยกออกจากการระดมประชาชนทั่วประเทศ,มิอาจแยกออกจากหลักการการเมืองต่าง ๆอาทิการให้นายทหารกับพลทหารเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันการให้กองทัพกับประชาชนเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันและการทำให้กองทหารข้าศึกแตกสลายมิอาจแยกออกจากการปฏิบัติตามแนวนโยบายแนวร่วมเป็นอย่างดีมิอาจแยกออกจากการระดมทางวัฒนธรรม,มิอาจแยกออกจากความพยายามในการช่วงชิงการช่วยเหลือของพลังทางสากลและของประชาชนในประเทศคู่อริ. พูดสั้น ๆ ก็คือสงครามนั้นจะแยกออกจากการเมืองไม่ได้แม้สักขณะเดียว.ในหมู่ทหารต่อต้านญี่ปุ่นถ้ามีความโน้มเอียงที่ดูเบาการเมืองโดยถือว่าสงครามเป็นสิ่งโดดเดี่ยวจนกลายเป็นพวกสัมบูรณ์นิยมในสงครามแล้ว ก็เป็นการผิด ควรที่จะแก้เสีย.
(๖๔) แต่ว่า สงครามก็มีลักษณะพิเศษของมันเองเมื่อกล่าวในแง่นี้แล้ว สงครามก็มิใช่ว่าจะเท่ากับการเมืองทั่ว ๆ ไป.“สงครามคือการต่อเนื่องของการเมืองด้วยวิธีการพิเศษ”.เมื่อการเมืองคลี่คลายถึงขั้นที่แน่นอนขั้นหนึ่งไม่สามารถจะรุดหน้าต่อไปเช่นเดิมได้อีกแล้ว ก็ระเบิดเป็นสงครามขึ้นเพื่อขจัดอุปสรรคบนเส้นทางการเมืองให้หมดไป. เป็นต้นว่าฐานะกึ่งเอกราชของประเทศจีนเป็นอุปสรรคในการคลี่คลายทางการเมืองของจักรพรรดินิยมญี่ปุ่น ญี่ปุ่นต้องการจะขจัดอุปสรรคนี้ออกไปฉะนั้นจึงได้ก่อสงครามรุกรานขึ้น. ส่วนประเทศจีนการกดขี่ของจักรพรรดินิยมเป็นอุปสรรคของการปฏิวัติประชาธิปไตยชนชั้นนายทุนของจีนมานานแล้ว,ฉะนั้นจึงได้มีสงครามปลดแอกเกิดขึ้นหลายต่อหลายครั้งด้วยความพยายามที่จะขจัดอุปสรรคนี้ไปเสีย. ขณะนี้ญี่ปุ่นใช้สงครามมากดขี่หมายจะมาตัดเส้นทางที่แล่นไปสู่การปฏิวัติของจีนให้ขาดสะบั้นลงโดยสิ้นเชิงเราจึงจำต้องเข้าทำสงครามต่อต้านญี่ปุ่นตัดสินใจแน่วแน่ที่จะขจัดอุปสรรคนี้ไปเสียให้พ้น. เมื่ออุปสรรคถูกขจัดไปจุดมุ่งหมายทางการเมืองบรรลุผลแล้ว,สงครามก็ยุติ.ถ้าอุปสรรคยังขจัดไม่หมดสิ้นสงครามก็ยังจะต้องดำเนินต่อไปเพื่อบรรลุผลให้ตลอด. เป็นต้นว่าถ้าภาระหน้าที่ในการต่อต้านญี่ปุ่นยังมิได้ปฏิบัติให้ลุล่วงไปแล้วมีผู้คิดจะหาทางประนีประนอม ก็ย่อมจะสำเร็จไปไม่ได้เป็นแน่; เพราะถึงแม้ว่าจะได้ประนีประนอมกันด้วยเหตุบางประการ,แต่สงครามก็ยังจะต้องเกิดขึ้น ประชาชนอันไพศาลจะไม่ยอมเป็นแน่จะต้องทำสงครามต่อไปเพื่อให้จุดมุ่งหมายทางการเมืองของสงครามบรรลุผลโดยตลอด. ดังนั้นจึงกล่าวได้ว่า,การเมืองคือสงครามที่ไม่หลั่งเลือดและสงครามคือการเมืองที่หลั่งเลือด.
(๖๕) เนื่องจากลักษณะพิเศษของสงคราม จึงต้องมีการจัดตั้งพิเศษชุดหนึ่งวิธีการพิเศษชุดหนึ่งและกระบวนการพิเศษชนิดหนึ่งสำหรับสงคราม.การจัดตั้งนี้ก็คือกองทัพและสิ่งทั้งปวงที่ติดพ่วงมากับกองทัพ.วิธีการนี้ก็คือยุทธศาสตร์และยุทธวิธีที่ชี้นำสงคราม.กระบวนการนี้ก็คือรูปการการเคลื่อนไหวทางสังคมชนิดพิเศษชนิดหนึ่งซึ่งกองทัพที่เป็นคู่อริต่างเข้าตีหรือตั้งรับซึ่งกันและกันโดยนำเอายุทธศาสตร์และยุทธวิธีที่เป็นผลดีแก่ตนและไม่เป็นผลดีแก่ข้าศึกมาใช้. ดังนั้นความจัดเจนจากสงครามจึงเป็นความจัดเจนพิเศษ.บรรดาผู้ที่เข้าร่วมในสงครามจะต้องสลัดความเคยชินตามปรกติเสียและให้ชินกับสงคราม จึงจะสามารถช่วงชิงชัยชนะจากสงครามได้.
[4]สงเสียงบูรพาฝ่าตีประจิมเหมาเจ๋อตงกล่าวว่า “ความต้องการประการสุดท้ายในการถอยนั้นก็คือ ก่อให้เกิดและค้นพบข้อผิด พลาดของข้าศึก. ต้องรู้ไว้ว่า ผู้บังคับบัญชาของกองทัพข้าศึกที่ปรีชาสามารถคนใดก็ตาม จะไม่เกิดความผิดพลาดขึ้นบ้างในระยะเวลายาวนานพอดูนั้น ย่อมเป็นไปไม่ได้  ด้วยเหตุนี้ ความเป็นไปได้ที่เราจะฉวยเอาช่องโหว่ของข้าศึก มาใช้ให้เป็นประโยชน์จึงมีอยู่เสมอ.  ข้าศึกทำผิดพลาดได้ เช่นเดียวกับที่บางครั้งเราเองก็ผิด พลาดไป และบางครั้งก็เปิดช่องโหว่ให้ข้าศึกฉวยเอาไปใช้เป็นประโยชน์ ฉะนั้น. ยิ่งกว่านี้ เรายังสามารถทำให้กองทัพข้าศึกเกิดความผิดพลาดขึ้นด้วยน้ำมือของเราเองได้ด้วย  เช่น ประเภทที่ ซุนจื่อ เรียกว่า “แสดงร่องรอย” (แสดงร่องรอยทางตะวันออก, แต่เข้าตีทางตะวันตก คือสิ่งที่เรียกว่า ทำทีจะบุกทางตะวันออก, แต่แล้วเข้าตีทางตะวันตก).”
ดูนิพนธ์เหมาเจ๋อตุง, ปัญหายุทธศาสตร์ในสงครามปฏิวัติของจีน (ธันวาคม ๑๙๓๖), บทที่ ๕การรับทางยุทธศาสตร์, ตอนที่ ๓ การถอยทางยุทธศาสตร์
[5]. The Lebanon War 2006 (12 กรกฎาคม –14 สิงหาคม 2006) อิสราเอลโจมตีเลบานอนโดยมีเป้าหมายที่จะยึดครองภาคใต้ของประเทศเลบานอน และทำลายขบวนการเฮสบอลลาห์(Hezbollah) ที่อิหร่านให้การสนับสนุน  อย่างไรก็ตาม อิสราเอลเป็นฝ่ายพ่ายแพ้อย่างหมดรูป เสียรถถังไป 79 คัน  แต่อิสราเอลถูกช่วยเอาไว้โดยมติสภาความมั่นคงองค์การสหประชาชาติที่ 1701 (UNSCR 1701) ให้ทั้ง 2 ฝ่ายยุติสงคราม นับแต่นั้นมากองทัพอิสราเอลจึงไม่อยู่ในสภาพเหมือนเดิมต่อไป
[6]..การเดินทัพทางไกล (红军长征) เป็นการเดินทัพของกองทัพแดง (กองทัพแดงกรรมกรชาวนา ด้านที่ ๑ หรือ กองทัพแดงส่วนกลาง  (红一方面军)) และศูนย์กลางพรรคคอมมิวนิสต์จีนจากฐานที่มั่นโซเวียตเจียงซี ในวันที่ ๑๖ ตุลาคม ๑๙๓๔ ไปถึง เยนอานในภาคเหนือของส่านซี เมื่อวันที่ ๑๙-๒๒ ตุลาคม ๑๙๓๕ 
การเดินทัพทางไกล เป็นการถอยทางยุทธศาสตร์ ของศูนย์กลางพรรคคอมมิวนิสต์จีนและกองทัพแดง ที่มีความหมายยิ่งใหญ่ทางประวัติศาสตร์ จากฐานที่มั่นโซเวียตเจียงซี  ลงไปกวางสี เลี้ยวเข้า กุ้ยโจว แล้ววกเข้า ยูนนาน ผ่านเสฉวน ข้ามภูเขาหิมะลงไปซีคัง (ทิเบต) ข้ามทุ่งมรณะ จนบรรลุถึง ภาคเหนือส่านซี รวมระยะทางกว่า ๑๒,๐๐๐ กิโลเมตร กินเวลา ตั้งแต่ เดือนตุลาคม ๑๙๓๔ ถึง ตุลาคม ๑๘๓๕ เริ่มจากกำลังพล ๘ หมื่นคนเมื่ออกจากเจียงซี  เมื่อไปถึงภาคเหนือส่านซี เหลือกำลังเพียง ๘ พันคนเศษ อย่างไรก็ตาม การเดินทัพทางไกล ครั้งนี้ก็ได้บรรลุเป้าหมายทางยุทธศาสตร์ “รุกขึ้นเหนือ ทำสงครามต่อต้านญี่ปุ่น”



การเดินทัพทางไกลนั้น มีจุดเริ่มต้นจากการถอยอย่างทุลักทุเลออกจากฐานที่มั่นโซเวียตเจียงซี จากการล้อมปราบครั้งที่ ๕ ของก๊กมิ่นตั๋ง ซึ่งศูนย์กลางพรรคคอมมิวนิสต์จีนอยู่ภายใต้การนำของกลุ่มฉวยโอกาสเอียงซ้าย “๒๘ บอลเชวิค” ที่มี ป๋อกู่ และหลี่เต๋อ (อ๊อตโต บรัน:ผู้แทนของคอมมินเทอร์น) เป็นแกนนำ ใช้แนวทางการทหารผิดพลาด ที่ทำให้กองทัพแดงที่ ๑ ต้องพ่ายแพ้ยับเยินและต้องถอยร่นออกจากฐานที่มั่นโซเวียตเจียงซี จากที่มีกำลังกว่า ๓ แสนกว่าคน ก่อนการล้อมปราบครั้งที่ ๕ ของก๊กมิ่นตั๋ง เหลือกำลัง ๘ หมื่นเมื่อเริ่มการถอยจากเจียงซี  เมื่อถอยทัพมาถึงเมืองจุนยี่ มณฑลกุ้ยโจว เหลือกำลังแค่ ๓ หมื่นคน ทำให้ศูนย์กลางพรรคคอมมิวนิสต์ต้องจัดให้มีการประชุมรอบขยายวงขึ้น เรียกว่า “การประชุมจุนยี่” ซึ่งถือว่าเป็นจุดพลิกผันครั้งสำคัญที่สุดครั้งหนึ่งของพรรคคอมมิวนิสต์จีนและการปฏิวัติจีน ที่เหมาเจ๋อตง ได้รับเลือกกลับเข้าเข้ามาดำรงตำแหน่งเป็นเลขาธิการคณะกรรมการกลางฯ และคณะกรรมการปฏิวัติและการทหารของพรรค และที่ประชุมได้มีมติรับรองยุทธศาสตร์ของเหมาเจ๋อตง ให้เคลื่อนทัพขึ้นสู่ภาคเหนือ เพื่อดำเนินสงครามต่อต้านญี่ปุ่น 

ยุทธศาสตร์ของอเมริกา vs การแก้เกมของจีน ตอนที่ 5/6

ตอนที่ 5.

6.Pivot to Asia, Aftermath
ปิดฉาก Pivot to Asia
Obama จำต้องยุติแผนการ Pivot to Asia ในปลายปี 2015 เมื่อองค์ประกอบต่าง ๆในแผนการหลุดออกนอกขอบเขตที่วอชิงตันจะสามารถควบคุมได้ ในเวลาแค่ 2 ปี ที่เป็นเช่นนี้ มันเกิดจากอะไร?
หลังจากที่ได้สังเกตการณ์ Pivot to Asia ก็พบเบาะแสว่าแผนการนี้เป็นการออกแบบของ Ashton Carter เนื่องจากจากมันมีเนื้อหาทางการทหารเกือบทั้งหมดแทนที่จะมีลักษณะการเมืองเป็นด้านหลักเพื่อรื้อฟื้นความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจการเมืองและวัฒนธรรมกับกลุ่มประเทศอาเซียน เป็นฉากนำก่อน เตรียมพื้นที่สำหรับการทหารที่จะติดตามมาเมื่อจำเป็น แต่แผนการของ Carter   กลับปฏิบัติไปในทางตรงกันข้ามที่เริ่มต้นจากการท้าทายทางการทหารต่อจีนในทะเลจีนใต้ โดยบังคับให้ฟิลิปปินส์เป็นหัวหอกเข้าปะทะทางการเมืองกับจีนเพื่อสร้างความชอบธรรมแก่ปฏิบัติการ Freedom of Navigation   หวังล่อจีนให้ออกมาปะทะทางเรือกับอเมริกาซึ่งอเมริกาเชื่อมั่นว่าฝ่ายตนมีกำลังและสมรรถนะเหนือกว่าจีนจะสามารถทำลายกำลังทางเรือของจีนได้และเป็นฝ่ายเข้าควบคุมทะเลจีนใต้และช่องแคบมะละกาได้เด็ดขาดแล้วจึงใช้เป็นเงื่อนไขบังคับให้จีนต้องยอมจำนนต่ออเมริกาภายในระยะเวลาอันสั้น

จีนเข้าใจวิธีคิดและความต้องการของอเมริกาในแผนการ Pivot to Asia   ด้านหนึ่งก็แสดงท่าทีว่าเร่งรัดเสริมสร้างกำลังทางเรือซ้อมรบและสำแดงกำลังอย่างต่อเนื่องในแปซิฟิกตะวันตก เตรียมตัวเต็มที่ที่จะตอบโต้การท้าทายของอเมริกาในทันที พร้อม ๆ กับที่ประกาศเตือนอเมริกาอย่างแข็งกร้าวมาตลอดเวลา จนทั่วโลกคาดคะเนว่าการปะทะกันระหว่างจีนกับอเมริกาจะต้องเกิดขึ้นอย่างไม่มีทางหลีกเลี่ยงได้
ไล่เลี่ยกับเวลาที่อเมริกาเริ่มเดินหน้าแผนการ Pivot to Asia จีนก็ประกาศเข็มมุ่ง One Belt, One Road Initiative ซึ่งเห็นได้ชัดว่าเป็นการตอบโต้แผนการของอเมริกา ซึ่งในตอนแรก  ๆ OBOR ของจีนดูเป็นสิ่งเลื่อนลอยมีลักษณะเพ้อฝันเชิงอุดมคติแบบจีน ๆ ซึ่งประกาศขึ้นมาในขณะที่สถานการณ์ของจีนกำลังคับขันในทะเลจีนใต้ ทำให้อเมริกาประเมินว่า OBOR มีเจตนาที่จะเบี่ยงเบนความสนใจของตนที่กำลังรวมศูนย์กำ  ลังอยู่ที่ทะเลจีนใต้ที่จีนกำลังตกอยู่ในฐานะฝ่ายถูกกระทำ และจีนจำต้องใช้ทรัพยากรและพลังงานจำนวนมากในการเสริมสร้างกำลังทางเรือ และเกาะเทียมเป็นป้อมปราการ เพื่อรับสถานการณ์ในทะเลจีนใต้จนไม่อาจสร้างความฝันเรื่อง “ทางสายไหมใหม่” ขึ้นมาได้แน่นอน ทัศนะเช่นนี้ของอเมริกา ทำให้ยิ่งมั่นใจว่าPOA เป็นยุทธศาสตร์ที่ถูกต้องและได้ผลในการกำราบจีน

แต่ผลของ Pivot to Asia ไม่เป็นไปตามที่ต้องการ ในตะวันตก NATO ไม่สามารถควบคุมรัสเซียได้ ซ้ำยังผลักให้รัสเซียไปร่วมมือกับจีน เปิดช่องว่างให้รัสเซียแทรกเข้าไปได้ในซีเรีย กอบกู้อัสซาด ทำลายโอกาสชนะของฝ่ายกบฏ สร้างความร่วมมือรัสเซียกับอิหร่าน ผลักตุรกีไปร่วมมือกับรัสเซีย อเมริกาหมดพื้นที่ในตะวันออกกลาง  ในทางตะวันออก จีนไม่ออกมารบในทะเลจีนใต้ อเมริกาเสียพันธมิตรอย่างฟิลิปปินส์ เวียดนามวางเฉย การปิดล้อมจีนในพม่าเป็นหมัน เสียปากีสถานพันธมิตรเก่าให้กับจีน ได้พันธมิตรใหม่ที่วางใจไม่ได้อย่างอินเดียเข้ามาแทน ซาอุดิอาระเบียล่มจม กลายเป็นผีบ้าคลั่งศาสนา อาชญากรสงคราม หมดสง่าราศีในโลกอาหรับ 

ในทางตรงกันข้าม จีนบรรลุเป้าหมายของตนสร้างยูเรเซียให้เป็นแพงเมืองจีนใหม่ขึ้นมา บรรลุเส้นทางบก สายไหมใหม่กลายเป็นทางหลัก เส้นทางทะเล ทรานส์อินโด-แปซิฟิก  กลายเป็นทางรอง เป้าหมายของ Pivot to Asia ที่จะทำลายกองทัพเรือจีนและยึดช่องแคบมะละกา ปิด ทรานส์อินโด-แปซิฟิก จึงสิ้นความ หมายไปโดยสิ้นเชิง ไม่สามารถสกัดกั้นจีนไม่ให้ขนส่งสินค้าไปยังยุโรปและขนน้ำมันจากตะวันออกกลางมาจีน
ยูเรเชีย ก็คือพื้นที่ส่วนใหญ่ของอดีตสหภาพโซเวียตนั่นเอง

กลยุทธ์ “สงเสียงบูรพาฝ่าตีประจิม” [4]
เมื่อเป็นที่แน่ชัดว่า อเมริกา จะใช้การควบคุมช่องแคบมะละกา มาบีบเส้นเลือดพลังงานและการขนส่งสินค้าทางทะเลของจีน โดยจะใช้ข้ออ้าง เสรีภาพทางการเดินเรือ ส่งเรือรบและเครื่องบินมาท้าทายอธิปไตยของจีนเหนือหมู่เกาะในทะเลจีนใต้ เพื่อล่อให้จีนต้องรบกับอเมริกาเพื่อรักษาอธิปไตยของตน โดยที่อเมริกาจะใช้โอกาสนี้ทำลายกองทัพเรือจีนเสีย แล้วใช้ชัยชนะมาบีบบังคับจีนให้ทำตามที่ตนเองต้องการ บรรลุจุดมุ่ง หมายในการจับจีนใส่ขวดขังไปตลอดกาล จีนจึงประกาศเข็มมุ่งOne Belt, One Road Initiative โดยเอา One Belt ที่หมายถึงสายคาด (ทางสายไหมทางทะเล)  ขึ้นมานำหน้าชี้ให้เป็นว่าเส้นทางเดินเรือเป็นยุทธ ศาสตร์เบื้องต้นที่มีความสำคัญที่สุดของจีน

เมื่ออเมริกาแสดงคำขู่ เรื่อง Freedom of Navigation     จีนก็ตอบสนองด้วยการแสดงท่าทีว่าจะปกป้องอธิปไตยของตนด้วยการตอบโต้อย่างรุนแรง ประโคมข่าวแถลงแผนการเร่งเสริมสร้างกองทัพเรือและกอง ทัพอากาศ เร่งการฝึกซ้อมรบทางทะเลอย่างบ่อยครั้ง เสริมและขยายเกาะเทียม สร้างสนามบิน    เพื่อให้อเมริกาเชื่อว่า จีนติดกับดักทำทุกอย่างเป็นไปตามแผนที่ตนต้องการ แล้วอเมริกาก็ดำเนินการยั่วยุ ส่งเรือรบและเครื่องบินเข้าไปในเขตที่จีนอ้างอธิปไตย  พร้อมกับเตรียมกองเรือรบขนาดใหญ่4 กองเอาไว้ในแปซิฟิกตะวันออก เสริมฝูงบินรบและฐานทัพในเกาะกวม รอทีที่จะซุ่มทำลายกองเรือจีน หากเกิดการกระทบกระทั่งกันขึ้น เราไม่อาจทราบสมรรถภาพชองกองทัพเรือจีนโดยแน่ชัดว่าจะสามารถเอาชนะกองทัพเรืออเมริกาอันเกรียงไกรมากด้วยประสบการณ์นี้ได้หรือไม่

แต่ถึงอย่างไรก็ตาม หากพิจารณาให้ดี แม้ว่าจีนจะเอาชนะอเมริกาได้ แต่ไม่สามารถทำลายกองทัพเรืออเมริกาได้ทั้งหมด อเมริกาก็ยังสามารถใช้ความขัดแย้งนี้เป็นเหตุ ไปปิดช่องแคบมะละกาได้อยู่ดี ชัยชนะของจีนถ้ามีก็ถือว่าไม่ใช่ชัยชนะเด็ดขาด ไม่อาจช่วยเปิดช่องแคบมะละกาได้ หรือให้หลักประกันใด ๆ ในเสรีภาพการเดินเรือของจีนในเส้นทางทรานส์อินโด-แปซิฟิกได้

ในขณะที่ทุกคนกำลังสนใจความขัดแย้งในทะเลจีนใต้ จีนกลับเร่งยุติกิจกรรมและแผนการทางเศรษฐกิจในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และเร่งทุมการพัฒนาต่าง ๆ ลงไปในย่านเอเชียกลาง เร่งรื้อฟื้นและขยายขอบเขตความสัมพันธ์กับรัสเซีย เพื่อทำให้ทางสายไหมใหม่ทางบกเกิดขึ้นเป็นจริง เผยให้เห็นความสามารถของจีน ในการระดม เคลื่อนที่ (ทั้งการรุกและการถอย) รวมศูนย์และกระจายทรัพยากรต่าง ๆ จากภูมิภาคหนึ่งไปยังอีกภูมิภาคหนึ่งได้อย่างรวดเร็ว อย่างที่ไม่มีชาติไหนทำได้มาก่อน ขยายกำแพงเมืองจีนใหม่เข้าไปสู่เอเชียกลางและเชื่อมต่อทางบกได้กับยุโรป

7.ประเมินสภาพยุทธศาสตร์ภายหลังยุค Obama
ความย่อยยับของอเมริกาที่เกิดจาก Pivot to Asia
ในขณะที่อเมริกาจมปลักอยู่ในทะเลจีนใต้  และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทิ้งให้ยุโรปและตะวัยออกกลางสับสนอลหม่าน NATO ไปยั่วยุรัสเซียในขณะที่ตนก็ไม่มีดุลกำลังพอที่จะสู้กับรัสเซียได้ ซาอุดิอาระเบีย ไปเปิดศึกหลายด้านแปรจุดหมายทางการเมืองไปเป็นเป้าหมายทางศาสนา ฝ่ายต่อต้านอัสซาดในซีเรียแตก แยกกระจัดกระจายกลายเป็นกลุ่มเล็กกลุ่มน้อย ISIS เบนเข็มออกจากซีเรียมาขยายลงในอิรักอัฟริกาก็เกิดความสับสนวุ่นวายจนออกนอกเหนือการควบคุมของอเมริกา   กองกำลังกบฏอิสระต่าง ๆ แปรไปเป็นขบวน การหัวรุนแรงทางศาสนาเนื่องจากได้รับการสนับสนุนจากลัทธิวาฮาบิ UAE ก่อสงครามก่อการร้ายขึ้นทั่วอัฟริกากลางและตะวันออก ที่อเมริกาไม่ได้ให้ความสนใจมาเป็นเวลานานPivot to Asia    ยิ่งทำให้ช่องว่างระหว่างอเมริกากับอัฟริกาขยายห่างออกไป ทำให้จีนสามารถแทรกซึมเข้าไปได้ 

Pivot to Asia ที่ออกแบบและอำนวยการโดย Ashton Carter นี้ ยังได้สร้างความขัดแย้งระหว่างกระทรวงการต่างประเทศและกระทรวงกลาโหมอเมริกาขึ้น นโยบายทางการเมืองและการทหารจึงไม่สอดคล้องและแยกออกจากกัน อย่างเช่นในซีเรีย กระทรวงการต่างประเทศและ CIA สนับสนุนกบฏกลุ่มต่าง ๆ รวมทั้ง ISIS เพื่อโค่นรัฐบาลอัสซาด ในขณะกระทรวงกลาโหม สนับสนุนกลุ่มชาวเคิร์ด ต่อสู้กับ ISIS และกลุ่มที่เกี่ยวข้องกับal-Qaeda

แผนและปฏิบัติการ Pivot to Asia ของ Ashton Carter ตั้งอยู่บนทัศนะด้านเดียวและแยกส่วน ที่จะกำราบจีนในปฏิบัติการทางทหารชุดเดียวในพื้นที่เดียว โดยไม่ให้ใส่ใจต่อความสำคัญและการต่อเนื่องด้านการ เมือง จึ่งเป็นแนวคิด ลัทธิม้วนเดียวจบโดยกระทรวงกลาโหม โดยที่กระทรวงการต่างประเทศจึงไม่มีส่วนเกี่ยวข้อง แม้แต่โอบามาจะเป็นผู้ประกาศว่าตนเป็นผู้อำนวยการแผนการนี้ก็ตาม แต่ในความเป็นจริงก็เป็นแค่ผู้มีบทบาทสนับสนุนเท่านั้น เมื่ออเมริกาวางเหยื่อล่อด้วยการส่งเรือรบเข้าไปใกล้เขตอธิปไตยของจีนในทะเลจีนใต้นั้นในอันดับแรกก็มีฐานะฝ่ายกระทำ แต่เมื่อต้องรอการตอบสนองจากจีน จึงตกลงสู่ฐานะฝ่ายถูกกระทำ แล้วก็ถูกจีนจูงจมูก ลากให้เข้าติดแหงกอยู่ในย่านทะเลจีนใต้ ยิ่งไปกว่านั้นฝ่ายกระทรวงการต่างประ เทศก็ไม่ได้ยื่นมือไปช่วงชิงโอกาสทางการเมืองในประเทศกลุ่มอาเซียนนอกจาก Obama จะไปเคลื่อนไหว ดึงอินเดีย และประเทศอาเซียนบางประเทศอย่างพม่าและลาว ให้เข้ามาสนับสนุน ด้วยตนเอง

ในขณะเดียวกัน Ashton Carter ก็ปล่อยให้ NATO เคลื่อนไหวกดดันรัสเซียตามใจชอบ ในขณะที่ปล่อยให้ ซาอุดิอาระเบียเคลื่อนไหวตามใจชอบเช่นกัน ทิ้งให้ John Kelly มีบทบาทในการสนับสนุนฝ่ายต่อต้านอัสซาดในซีเรียทางการเมืองเท่านั้น โดยไม่ได้รับการสนับอย่างจริงจังจากฝ่ายกระทรวงกล่าโหม   ซึ่งโดยนัย ให้การสนับสนุนปฏิบัติการในซีเรียผ่าน NATOที่ใช้ตุรกีเป็นผู้ให้ความสะดวก และผ่านซาอุดิอาระเบียกับพันธมิตร โดยมีจอร์แดนเป็นผู้ให้ความสะดวก โดยให้ NATO และซาอุดิอาระเบียเป็นผู้ออกค่าใช้จ่าย ทำให้อเมริกาตกอยู่ในฐานะที่จะไม่สามารถที่ควบคุมสถานการณ์ใด ๆ ได้เลย ทั้งในยุโรปและตะวันออกกลาง หากมีเหตุนอกเหนือความคาดหมายเกิดขึ้น
Pivot to Asia  เปลี่ยนสภาพทางภูมิรัฐศาสตร์และดุลกำลังของโลก
นั่นก็คือ เมื่อเกิดรัฐประหารขึ้นในยูเครนโดยพวกขวาจัดที่มี NATO เป็นผู้สนับสนุน ซึ่งบังคับให้รัสเซียต้องยึดเอาไครเมียกลับคืนเพื่อประกันความมั่นคงของตนในทะเลดำ แต่ NATO ไม่สามารถตอบโต้รัสเซียทางทหารได้ นอกจากใช้การแซงชั่นทางเศรษฐกิจต่อรัสเซีย ซึ่งเป็นผลบังคับให้รัสเซียต้องหันไปพึ่งพาทางเศรษฐกิจจากจีนยิ่งไปกว่านั้น เมื่อ NATO กับซาอุดิอาระเบียเข้าไปแทรกแซงสงครามกลางเมืองในซีเรีย ก็เปิดทางให้รัสเซียสามารถแหกวงล้อมของ NATO ในยุโรปได้ และสามารถพลิกสถานการณ์ของฝ่ายรัฐบาลซีเรียให้กลับมาเป็นฝ่ายกระทำอย่างง่ายดาย จนฝ่ายกบฏเข้าตาจนใกล้พ่ายแพ้ในปลายปี 2016

Pivot to Asia เป็นผลทำให้นโยบายแยกจีนออกจากรัสเซีย ซึ่งเป็นรากฐานของนโยบายปิดล้อมจีนที่มีมาตั้งแต่ยุคสงครามเย็นนั้น ต้องล้มครึนลง ทำให้จีนสามารถเชื่อมกับรัสเซียผ่านยูเรเซียได้โดยสะดวก ทำให้เอเชียกลางกลายเป็นกำแพงเมืองจีนยุคใหม่ขึ้นมา และยังสามารถขยายอิทธิพลเข้าสู่ตะวันออกกลางได้ จนสามารถสร้างกลุ่มแกน จีน-รัสเซีย-อิหร่าน ให้เกิดขึ้น ทำให้อเมริกาไม่สามารถดำเนินโยบายปิดล้อมแบบแยกส่วนได้อีกต่อไปในอีกด้านหนึ่ง กลุ่มแกน จีน-รัสเซีย-อิหร่าน ทำให้เอเมริกากลับกลายเป็นฝ่ายถูกล้อมเสียเอง รวมทั้งพันธมิตร NATOก็ตกอยู่ในวงล้อมอีกชั้นหนึ่งเมื่อตุรกีกลับลำมาร่วมกับกลุ่มแกน จีน-รัสเซีย-อิหร่าน และมีท่าทีว่า อียิปต์ก็จะเข้ามาร่วมในระยะต่อไป ตัดการเชื่อมต่อของซาอุดิอาระเบียกับอัฟริกา ล้อมอเมริกาในอัฟริกาเอาไว้อีกชั้นหนึ่ง


กลุ่มแกน จีน-รัสเซีย-อิหร่าน เป็นฝันร้ายของอเมริกา
ในขณะที่ฐานทัพอเมริกาที่ล้อมรอบจีนทางทะเล ก็หมดความหมายลงไปโดยสิ้นเชิง ซึ่งอเมริกาจะถอนก็ไม่ได้ เนื่องจากถูก One Belt ของจีนตรึงเอาไว้ นอกจากนี้ ฐานทัพที่กระจัดกระจายกันทั่ว แปซิฟิกและมหาสมุทรอินเดียนั้นยังเป็นภาระทางการคลังของอเมริกาที่จะต้องคอยบำรุงรักษา ยังไม่นับจุดอ่อนทางยุทธศาสตร์ในการส่งกำลังบำรุงฐานทัพต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นที่อเมริกาจะต้องคอยเฝ้าระวัง
นโยบาย การปิดล้อมจีนของอเมริกาจะดำเนินต่อไป
ไม่ว่าสถานการณ์ข้างหน้าจะเป็นอย่างไรอเมริกายังคงถูกครอบงำโดยกลุ่มอำนาจแฝงอยู่ต่อไป พวกเขายังคงเห็นว่า จีนเป็นอันตรายต่อฐานะครองความเป็นเจ้าของอเมริกาโดยสรุปก็คือ:
- จีนเป็นตัวแทนของลัทธิคอมมิวนิสต์ ที่เป็นศัตรูทางอุดมการณ์ต่อลัทธิทุนนิยมที่อเมริกาเป็นตัวแทน
- ความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจ การเมือง การทหาร และวัฒนธรรมของจีนเป็นไปอย่างรวดเร็วเหนือความคาดหมาย จนอาจจะแซงหน้าอเมริกาได้ในเวลาเร็ววันที่จะทำให้อำนาจอิทธิพลต่าง ๆ ของอเมริกาลดลง จนไม่อาจเป็นหลักในการควบคุมโลกได้อีกต่อไป
- ความมั่งคั่งของจีน เป็นผลมาจาก การปล้นชิงเอาความมั่งคั่ง แหล่งทรัพยากรและตลาดไปจากอเมริกาและประเทศบริวาร โดยอาศัยการเอาเปรียบทางการค้า (ต้นทุนสินค้าต่ำ)  และการลักขโมยสมบัติทางสติปัญญาของตะวันตก
- ความสัมพันธ์จีนกับรัสเซียจะเสริมความเข้มแข็งซึ่งกันและกัน และจะส่งผลให้มีการรื้อฟื้นคืนชีพพรรคคอมมิวนิสต์สหภาพโซเวียตและสาธารณรัฐสังคมนิยมสหภาพโซเวียตขึ้นมา ซึ่งจะเป็นอันตรายร้ายแรงต่ออเมริกาและยุโรปตะวันตก
- ฝ่ายนิยมอำนาจแข็งของอเมริกายังเชื่อว่า กองทัพเรือจีนยังล้าหลัง เป็นจุดอ่อนที่สุดของจีน ที่กองทัพเรืออเมริกาจะสามารถเอาชนะได้ง่ายในการรบครั้งเดียว ซึ่งอเมริกาจะสามารถครองความเป็นเจ้าทะเลและควบคุมจีนได้เด็ดขาด
ดังนั้นไม่ว่าใครก็ตามได้เป็นประธานาธิบดีของอเมริกา เป็นไปได้ที่อเมริกาจะดำเนินการต่อไปนี้
- แยกสลายความสัมพันธ์จีน-รัสเซียให้จงได้
- ลดความตึงเครียดในที่ต่าง ๆ ทั่วโลกเป็นการชั่วคราว
- ถอยไปอยู่ที่ปลอดภัย จัดการปัญหาภายใน สร้างเอกภาพทางการดำเนินนโยบายระหว่างฝ่ายการเมืองและฝ่ายการทหาร (การต่างประเทศและกลาโหม) ฟื้นฟูฐานะทางเศรษฐกิจ (การควบคุมการค้าระหว่างประเทศ/นโยบายกีดกันทางการค้า) ฟื้นกำลังขึ้นมาใหม่
- กระชับพันธมิตรในยุโรป ในขณะที่ปลดปล่อยให้ญี่ปุ่นสร้างกองทัพ และส่งเสริมบทบาทของญี่ปุ่นในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
- สร้างแนวรับใหม่ที่อัฟริกา และแปซิฟิกตะวันออกซึ่งรวมไปถึงอเมริกาใต้
- หากเป็นไปได้ ก็จะต้องล่อให้จีนออกมาสู้กับอเมริกาในทะเลเปิด
8  ฐานะทางยุทธศาสตร์ของจีน  เปลี่ยนจากขั้นยันมาเป็นขั้นรุก
อเมริกาหมดเงื่อนไขการเป็นฝ่ายรุก และการเป็นฝ่ายกระทำของตน
ในทัศนะของจีน ฐานะทางยุทธศาสตร์ขึ้นอยู่กับ “สภาพของดุลกำลัง”Pivot to Asia ของ Obama ได้ทำลายฐานะการเป็นฝ่ายรุกทางยุทธศาสตร์ของตนลงไปจนเกือบหมดสิ้น     NATO และ EU ไม่มีความสามารถในการควบคุมและปิดล้อมรัสเซีย แล้วยังทำให้ฝ่ายตะวันตกหมดหนทางที่จะควบคุมทะเลดำเปิดเผยสภาพลังที่แท้จริงของ NATO ว่ามีขนาดเล็กจนไม่อาจปกป้องตนเองได้นอกจากนี้การดำเนินนโยบายผิดพลาดยังทำให้NATO สูญเสียพันธมิตรสำคัญ อย่างตุรกี ที่หันไปร่วมมือกับรัสเซียและอิหร่านพร้อมกับความพ่ายแพ้ของฝ่ายกบฏในซีเรีย เปิดทางให้จีนเข้าไปแสดงบทบาทด้านบวกในการฟื้นฟูตะวันออกกลาง- 

ซาอุดิอาระเบีย สูญเสียเกียรติภูมิและฐานะผู้นำประเทศมุสลิม เสื่อมอิทธิพลในตะวันออกกลาง นอกจากไม่สามารถควบคุมและปิดล้อมอิหร่าน แล้วยังบังคับให้อเมริกาติดหล่มอยู่ในอิรัก ไม่สามารถเพิ่มแรงกดดันทางการทหารต่อจีนในเอเชียกลางผ่านอัฟกานิสถาน มิหนาซ้ำยังไปสั่นคลอนอิทธิพลอเมริกาในอัฟริกา โดยให้การสนับสนุนผู้ก่อการร้านมุสลิม ในขณะที่อเมริกาไม่พร้อมจะแสดงบทบาทในภูมิภาคนั้น เกิดช่องว่าง เปิดทางให้จีนเพิ่มบทบาททางเศรษฐกิจ การเมือง และการทหารในทวีปอัฟริกาที่สำคัญอีกประการหนึ่ง ทำให้อเมริกาเหลือตัวเลือกสุดท้ายในตะวันออกกลางคือ อิสราเอล อันเป็นน่ารังเกียจในสายตาชาวโลก อีกทั้งอิสราเอลก็ยังอยู่ในสภาพเศรษฐกิจทรุดโทรม กองทัพก็ไม่ได้อยู่ในสภาพเหมือนอดีต  อีกทั้งตกอยู่ในสภาพถูกล้อมทางยุทธศาสตร์ 

ความเชื่อมั่นในตนเองเกินไป และการประเมินว่าจะสามารถจัดการจีนได้ในการรบทางทะเล ณ จุดเดียวและครั้งเดียวเป็นเป้าหมายสุดท้ายของ Pivot to Asiaนั้นนอกจากจะสะท้อนวิธีคิดกลไกของAshton Carter และฝ่ายนำอเมริกาแล้ว ยังสะท้อนความจำกัดของอเมริกาที่ไม่มีความสามารถที่จะทำสงครามในมิติและขอบเขตที่กว้างใหญ่ได้อีกต่อไปและเป็นเหตุสำคัญที่ทำให้จีนสามารถหลอกล่อ จูงจมูกอเมริกาให้มารวมศูนย์ความสนใจและกำลังอยู่ที่ทะเลจีนใต้ ซึ่งแทบจะไม่มีผลกระทบทางยุทธศาสตร์ใด ๆ กับจีน เมื่อแผน One Road ได้บรรลุเป้าหมาย เชื่อมต่อทางบกระหว่าง จีน-ยุโรป-เอเชียกลาง-รัสเซีย-อิหร่าน-ตุรกีแล้ว นอกจากนี้อเมริกายังทำความผิดพลาดที่ไม่ดำเนินการทางการเมืองอย่างเพียงพอหาการสนับสนุนจากประเทศกลุ่มอาเซียน นอกจากโครงการTPP (Trans Pacific Partnership) ที่กำกวมเพียงอย่างเดียว

ความเสียหายจาก Pivot to Asia จะบังคับให้อเมริกาต้องถอยกลับไปอยู่ในฐานะฝ่ายรับทางยุทธศาสตร์ อย่างไม่มีทางหลีกเลี่ยงได้ เพื่อรักษาตนเอง แนวตั้งรับใหม่ของอเมริกาจะอยู่ที่อัฟริกา ความขัดแย้งและสงครามจึงจะย้ายออกจากตะวันออกกลางไปอยู่ในอัฟริกา และพื้นที่ใกล้เคียง อย่างเยเมน ที่ซาอุดิอาระเบียจะถูกลากให้เผชิญหน้ากับอิหร่านโดยตรง คล้ายกับกรณีสงครามเลบานอน ปี 2006 [5] (12 กรกฎาคม –14 สิงหาคม 2006)ที่อิสราเอลได้ปะทะกับอิหร่าน โดยขบวนการเฮสบอลลาห์(Hezbollah)ในเลบานอน ซึ่งอิสราเอลเป็นฝ่ายพ่ายแพ้อย่างหมดรูป เสียรถถังไป 79 คัน

เงื่อนไขสำคัญที่ทำให้ฐานะทางยุทธศาสตร์ของจีนเปลี่ยนไปก็คือ ความสัมพันธ์จีน-รัสเซีย ยังทำให้ฐานะทางยุทธศาสตร์ของจีนในการต่อสู้กับอเมริกา ก้าวจากขั้นยัน มาเป็นขั้นรุก ความล้มเหลวของอเมริกาทั้งทางการเมืองและการทหารทั่วโลก บังคับให้อเมริกาตกอยู่ในฐานะฝ่ายถูกกระทำ และเป็นฝ่ายรับทางยุทธศาสตร์อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

อย่างไรก็ตาม ฝ่ายนิยมสงครามของอเมริกา ก็จะยังยึดติดอยู่กับความเชื่อและทัศนคติเดิม ที่เชื่อว่าจีนนั้นมีกองทัพเรือที่อ่อนแอและเส้นทางขนส่งทางทะเลผ่านช่องแคบมะละกาเป็นเส้นเลือดของจีน ที่อเมริกาจะสามารถทำลาย และตัดขาดได้ง่าย เมื่อเป็นเช่นนี้จีนก็จะยังแสดงท่าทีท้าทายอเมริกาในทะเลจีนใต้ต่อไป เพื่อล่อให้อเมริกาติดหล่มติดกับอยู่ตรงนั้นให้ยาวนานที่สุด

แต่โดยทั่วไปแล้ว ไม่ว่าผู้ใดจะเป็นประธานาธิบดีคนใหม่ของอเมริกา ไม่ว่าผู้ใดจะเป็นรัฐมนตรีกลาโหมและต่างประเทศ แม้ว่าเป้าหมายลัทธิครองความเป็นเจ้าของอเมริกาจะยังไม่เปลี่ยนแปลง อเมริกาต้องปรับแนวรบของตนมาตั้งรับต้องหดแนวรบ และต้องสร้างกำลังขึ้นมาใหม่ รวมทั้งการปรับยุทธวิธี ในการต่อสู้กับ กลุ่มแกนจีน-รัสเซีย-อิหร่าน ที่เกิดขึ้นมาใหม่อันเป็นผลจาก แผนการ Pivot to Asia ของอเมริกานั่นเอง
จุดหมายปลายทางของ Belt & Road Initiate ซึ่งโดยพื้นฐานเป็นยุทธการต้านการล้อมปราบของจักรพรรดินิยมต่อจีน โดยทำสงครามที่ไม่ต้องรบ ซึ่งไม่ได้มุ่งที่จะทำให้จักรพรรดินิยม (อเมริกาและประเทศตะวันตก) ต้องพ่ายแพ้โดยสิ้นเชิง แต่มุ่งที่จะสร้างเงื่อนไขให้จักรพรรดินิยมยอมรับ หลักการ “โลกหลายขั้ว” ที่ประเทศต่าง ๆ ปฏิบัติต่อกันอย่างยุติธรรมและเท่าเทียม อันจะนำไปสู่สันติภาพอันยั่งยืนซึ่งก็คือ New World Order ในทัศนะของจีนและรัสเซียนั่นเอง
การเดินทัพทางไกลครั้งใหม่ของจีน
ในกลางเดือนตุลาคม 2016 สีจิ้งผิงได้ประกาศ “การเดินทัพทางไกล” [6] ขึ้นอีกครั้งหนึ่งสะท้อนให้เห็นชัดเจนว่าจีนยังยึดมั่นความคิดเหมาเจ๋อตง เป็นเครื่องชีนำการต่อสู้กับจักรพรรดินิยม ความไม่เข้าใจความคิดเหมาเจ๋อตงย่อมไม่อาจเข้าใจยุทธศาสตร์และยุทธวิธีอันมีพื้นฐานมาจากลัทธิมาร์กซ-เลนินที่มีลักษณะเฉพาะของจีน

จีนใช้ หลักการแห่งลัทธิมาร์กซ “ค้นหาสัจธรรมจากความเป็นจริง” เผยแพร่ลัทธิมาร์กซ-เลนิน ผ่านการสำแดงตัวอย่างที่เป็นจริงของความล้ำเลิศระบอบสังคมนิยมที่มีลักษณะเฉพาะของจีนโดยไม่ต้องใช้การส่งออกการปฏิวัติอย่างที่เคยปฏิบัติมา ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างใหญ่หลวงในทางความคิดของชาวพรรคสังคมนิยมและพรรคคอมมิวนิสต์รัสเซียและประเทศอื่น ๆ ทั่วโลก

การเดินทัพทางไกลครั้งใหม่นั้นหมายถึง การปรับยุทธศาสตร์ของจีน จากการรับทางยุทธศาสตร์ มาเป็นการรุกทางยุทธศาสตร์ภายใต้เข็มมุ่ง One Belt, One Road ภายหลังได้เปลี่ยนไปเป็น Belt & Road Initiativeโดยใช้จุดแข็งที่สุดของจีนคือ ความสามารถและความจัดเจนในการระดม เคลื่อนที่ รวมศูนย์ และกระจายทรัพยากร เคลื่อนทัพขึ้นเหนือ (หมายถึงเขตอิทธิพลจักรพรรดินิยม) สู่ฐานที่มั่นใหม่ในพื้นที่แนวร่วมยูเรเชีย (จีน-รัสเซีย-เอเชียกลาง) เป็นฐานที่มั่นในการเปิดการรุกทั่วด้านในสงครามไร้ขอบเขต (Unlimited War) อันเป็นการขยายความหมายใหม่ของสงครามเคลื่อนที่ ในระดับยุทธศาสตร์โลก เป็นสงครามทั่วด้านทุกมิติ ทั้งเศรษฐกิจ การเมือง วัฒนธรรม และการทหารเปลี่ยนจากการถูกปิดล้อม มาเป็นการล้อม เปลี่ยนสงครามประชาชนจีน ไปเป็นสงครามประชาชาติโลก ไปล้อมจักรพรรดินิยม
การเดินทัพทางไกลครั้งใหม่ ยังมีความหมายในทางภูมิรัฐศาสตร์ของโลก ที่จีนจะย้ายเมืองหลวงจากปักกิ่งไปซีอาน ภายในไม่เกิน 20 ปีข้างหน้าประหนึ่ง การย้ายฐานที่มั่นโซเวียตเจียงซีทางใต้ ไปสู่ฐานที่มั่นสานเป่ย (ส่านซีเหนือ) ทางเหนือ ในปี 1935

ขยายความหมายของเอเชียกลาง มาเป็นยูเรเชียใหม่ ที่เป็นการรวมแผ่นดินใหญ่ทวีปยุโรปและเอเชียเข้ามาไว้ด้วยกันเป็นแนวร่วมใหญ่ต่อต้านจักรพรรดินิยม ซึ่งซีอานนอกจากที่มีความหมายลึกซึ้งทางประวัติศาสตร์ของชาติจีนแล้ว ซีอานยังสามารถแสดงบทบาทเป็นศูนย์กลางของยูเรเซียได้เต็มที่ นอกจากนี้ การเดินทัพทางไกลครั้งใหม่ ยังหมายถึง การเคลื่อนย้ายฐานผลิตอุตสาหกรรมและประชากรจากภาคตะวันออกไปสู่ภาคตะวันตกของจีน อย่างขนานใหญ่และรวดเร็วเมืองหลวงซีอานยังเพิ่มระยะห่างจากศูนย์กลางของจักรพรรดินิยมที่สามารถก่อสงครามคุกคามปักกิ่งได้โดยง่าย แม้เป้าหมายสำคัญของการเดินทัพทางไกล จะเป็นการเปิดฉากการรุกต่อจักรพรรดินิยม ก็ไม่ได้หมายความว่าจะเป็นการก่อสงครามทำลายล้างกับจักรพรรดินิยม แต่เป็นการทำให้จักรพรรดินิยม

การคาดการณ์นี้จะมีเริ่มขึ้นเป็นรูปเป็นร่างในสมัยประชุมสมัชชาพรรคคอมมิวนิสต์จีนครั้งที่ 19 ที่จะมีขึ้นในฤดูใบไม้ร่วง ปี 2017   
จบตอนที่ 5.



[4]สงเสียงบูรพาฝ่าตีประจิมเหมาเจ๋อตงกล่าวว่า “ความต้องการประการสุดท้ายในการถอยนั้นก็คือ ก่อให้เกิดและค้นพบข้อผิด พลาดของข้าศึก. ต้องรู้ไว้ว่า ผู้บังคับบัญชาของกองทัพข้าศึกที่ปรีชาสามารถคนใดก็ตาม จะไม่เกิดความผิดพลาดขึ้นบ้างในระยะเวลายาวนานพอดูนั้น ย่อมเป็นไปไม่ได้  ด้วยเหตุนี้ ความเป็นไปได้ที่เราจะฉวยเอาช่องโหว่ของข้าศึก มาใช้ให้เป็นประโยชน์จึงมีอยู่เสมอ.  ข้าศึกทำผิดพลาดได้ เช่นเดียวกับที่บางครั้งเราเองก็ผิด พลาดไป และบางครั้งก็เปิดช่องโหว่ให้ข้าศึกฉวยเอาไปใช้เป็นประโยชน์ ฉะนั้น. ยิ่งกว่านี้ เรายังสามารถทำให้กองทัพข้าศึกเกิดความผิดพลาดขึ้นด้วยน้ำมือของเราเองได้ด้วย  เช่น ประเภทที่ ซุนจื่อ เรียกว่า “แสดงร่องรอย” (แสดงร่องรอยทางตะวันออก, แต่เข้าตีทางตะวันตก คือสิ่งที่เรียกว่า ทำทีจะบุกทางตะวันออก, แต่แล้วเข้าตีทางตะวันตก).”
ดูนิพนธ์เหมาเจ๋อตุง, ปัญหายุทธศาสตร์ในสงครามปฏิวัติของจีน (ธันวาคม ๑๙๓๖), บทที่ ๕การรับทางยุทธศาสตร์, ตอนที่ ๓ การถอยทางยุทธศาสตร์ 

[5]. The Lebanon War 2006 (12 กรกฎาคม –14 สิงหาคม 2006) อิสราเอลโจมตีเลบานอนโดยมีเป้าหมายที่จะยึดครองภาคใต้ของประเทศเลบานอน และทำลายขบวนการเฮสบอลลาห์(Hezbollah) ที่อิหร่านให้การสนับสนุน  อย่างไรก็ตาม อิสราเอลเป็นฝ่ายพ่ายแพ้อย่างหมดรูป เสียรถถังไป 79 คัน  แต่อิสราเอลถูกช่วยเอาไว้โดยมติสภาความมั่นคงองค์การสหประชาชาติที่ 1701 (UNSCR 1701) ให้ทั้ง 2 ฝ่ายยุติสงคราม นับแต่นั้นมากองทัพอิสราเอลจึงไม่อยู่ในสภาพเหมือนเดิมต่อไป

[6]..การเดินทัพทางไกล (红军长征) เป็นการเดินทัพของกองทัพแดง (กองทัพแดงกรรมกรชาวนา ด้านที่ ๑ หรือ กองทัพแดงส่วนกลาง  (红一方面军)) และศูนย์กลางพรรคคอมมิวนิสต์จีนจากฐานที่มั่นโซเวียตเจียงซี ในวันที่ ๑๖ ตุลาคม ๑๙๓๔ ไปถึง เยนอานในภาคเหนือของส่านซี เมื่อวันที่ ๑๙-๒๒ ตุลาคม ๑๙๓๕ 
การเดินทัพทางไกล เป็นการถอยทางยุทธศาสตร์ ของศูนย์กลางพรรคคอมมิวนิสต์จีนและกองทัพแดง ที่มีความหมายยิ่งใหญ่ทางประวัติศาสตร์ จากฐานที่มั่นโซเวียตเจียงซี  ลงไปกวางสี เลี้ยวเข้า กุ้ยโจว แล้ววกเข้า ยูนนาน ผ่านเสฉวน ข้ามภูเขาหิมะลงไปซีคัง (ทิเบต) ข้ามทุ่งมรณะ จนบรรลุถึง ภาคเหนือส่านซี รวมระยะทางกว่า ๑๒,๐๐๐ กิโลเมตร กินเวลา ตั้งแต่ เดือนตุลาคม ๑๙๓๔ ถึง ตุลาคม ๑๘๓๕ เริ่มจากกำลังพล ๘ หมื่นคนเมื่ออกจากเจียงซี  เมื่อไปถึงภาคเหนือส่านซี เหลือกำลังเพียง ๘ พันคนเศษ อย่างไรก็ตาม การเดินทัพทางไกล ครั้งนี้ก็ได้บรรลุเป้าหมายทางยุทธศาสตร์ “รุกขึ้นเหนือ ทำสงครามต่อต้านญี่ปุ่น”
การเดินทัพทางไกลนั้น มีจุดเริ่มต้นจากการถอยอย่างทุลักทุเลออกจากฐานที่มั่นโซเวียตเจียงซี จากการล้อมปราบครั้งที่ ๕ ของก๊กมิ่นตั๋ง ซึ่งศูนย์กลางพรรคคอมมิวนิสต์จีนอยู่ภายใต้การนำของกลุ่มฉวยโอกาสเอียงซ้าย “๒๘ บอลเชวิค” ที่มี ป๋อกู่ และหลี่เต๋อ (อ๊อตโต บรัน:ผู้แทนของคอมมินเทอร์น) เป็นแกนนำ ใช้แนวทางการทหารผิดพลาด ที่ทำให้กองทัพแดงที่ ๑ ต้องพ่ายแพ้ยับเยินและต้องถอยร่นออกจากฐานที่มั่นโซเวียตเจียงซี จากที่มีกำลังกว่า ๓ แสนกว่าคน ก่อนการล้อมปราบครั้งที่ ๕ ของก๊กมิ่นตั๋ง เหลือกำลัง ๘ หมื่นเมื่อเริ่มการถอยจากเจียงซี  เมื่อถอยทัพมาถึงเมืองจุนยี่ มณฑลกุ้ยโจว เหลือกำลังแค่ ๓ หมื่นคน ทำให้ศูนย์กลางพรรคคอมมิวนิสต์ต้องจัดให้มีการประชุมรอบขยายวงขึ้น เรียกว่า “การประชุมจุนยี่” ซึ่งถือว่าเป็นจุดพลิกผันครั้งสำคัญที่สุดครั้งหนึ่งของพรรคคอมมิวนิสต์จีนและการปฏิวัติจีน ที่เหมาเจ๋อตง ได้รับเลือกกลับเข้าเข้ามาดำรงตำแหน่งเป็นเลขาธิการคณะกรรมการกลางฯ และคณะกรรมการปฏิวัติและการทหารของพรรค และที่ประชุมได้มีมติรับรองยุทธศาสตร์ของเหมาเจ๋อตง ให้เคลื่อนทัพขึ้นสู่ภาคเหนือ เพื่อดำเนินสงครามต่อต้านญี่ปุ่น



แผนที่แสดงเส้นทางเดินทัพทางไกล
ก่อนหน้านั้น ระหว่างการล้อมปราบครั้งที่ ๕ ต่อฐานที่มั่นโซเวียตเจียงซี (๒๕ กันยายน  ๑๙๓๓ – ตุลาตม ๑๙๓๔)  ฝ่ายก๊กมิ่นตั๋งได้ใช้ยุทธศาสตร์สร้างป้อมค่ายค่อย ๆ ปิดล้อมบีบฐานที่มั่นโซเวียตเจียงซีเข้ามาทุกทิศทาง แทนที่ศูนย์กลางพรรคคอมมิวนิสต์จะใช้ยุทธศาสตร์สงครามเคลื่อนที่ของเหมาเจ๋อตง ที่เคยสามารถทำลายการล้อมปราบที่ผ่านมาแล้วถึง ๔ ครั้งได้ ในขณะนั้นเหมาเจ๋อตุง ถูกมอบหมายในดูแลงานรัฐบาลและไม่สามารถเช้ามายุ่งเกี่ยวงานการทหาร  กลุ่ม ๒๘ บอลเชวิค ใช้แนวทางเอียงซ้าย ประเมินกำลังของตนสูง ประมาทข้าศึก ใช้ยุทธศาสตร์สงครามป้อมค่ายเช่นเดียวกันเข้าต่อสู้ เนื่องจากกำลังของกองทัพแดงนั้นด้อยกว่าข้าศึกมาก ทำให้กองทัพแดงตกอยู่ในฐานะฝ่ายถูกกระทำ และได้รับความเสียหายอย่างหนัก จากจำนวน ๒ แสนกว่าคน ลดลงเหลือ ๘ หมื่นกว่าคน ก่อนที่ศูนย์กลางฯจะตัดสินใจถอยออกจากฐานที่มั่นโซเวียตเจียงซี ซึ่งอันที่จริงก็ยังสามารถยืนหยัดต้านข้าศึกได้อีกนาน และยังมีโอกาสถอยไปทางคะวันตกเข้าสู่หูหนาน อันฮุ่ย หูเป่ยได้สะดวก แต่ธรรมชาติของพวกฉวยโอกาสเอียงซ้ายนั้นเป็นพวกลัทธิอัตวิสัยสูง ในเวลาคับขันก็มัก เล็งผลร้ายมากเกินไป ประเมินตนเองต่ำ ประเมินข้าศึกสูง  ในปลายเดือนกันยายน ๑๙๓๔ก็ตัดสินใจถอยลงใต้อย่างฉุกละหุก ปิดโอกาสที่จะฝ่าวงล้อมไปทางตะวันตกที่ข้าศึกเบาบางกว่ามาก ไปสู่กับดักที่ตายไม่มีทางออกทางใต้  กองทัพแดงถูกข้าศึกสกัดและตามตี จากกำลัง ๘ หมื่น จากเจียงซี เข้าสู่กวางสี เมื่อข้ามแม่น้ำเซียง มาถึงจุนยี่ ในกุ้ยโจวแล้ว มีกำลังเหลือเพียง ๓ หมื่นเศษ เท่านั้น ซึ่งเป็นสถานการณ์คับขันยิ่งยวดที่กองทัพแดงและพรรคคอมมิวนิสต์จีนใกล้จะถูกทำลายสลายลงอย่างสิ้นเชิง จนเจียงไคเช็คถึงกับต้องรีบมาตั้งกองบัญชาการที่คุนหมิงยูนนานเพื่อทำลายคอมมิวนิสต์เสียให้สิ้นซาก
ในการประชุมจุนยี่นี้ เมื่อกลุ่ม ๒๘ บอลเชวิค ได้ยอมรับความผิดพลาดของตนแล้ว และเหมาเจ๋อตงได้รับตำแหน่งนำในพรรคแล้ว เพื่อให้รอดพ้นจากวิกฤติ มีปัญหาที่จะต้องแก้โดยด่วน ๒ ประการคือ ๑) เปลี่ยนสภาพจากการเป็นฝ่ายถูกกระทำให้เป็นฝ่ายกระทำ  ๒) เปลี่ยนยุทธศาสตร์จาก ถอย ให้เป็น รุก ดังนั้นเขาจึงได้เสนอเข็มมุ่งยุทธศาสตร์ใหม่ “รุกขึ้นเหนือ ทำสงครามต่อต้านญี่ปุ่น” ซึ่งเท่ากับเปลี่ยนสภาพการเป็นฝ่ายถูกกระทำไปเป็นฝ่ายกระทำ เปลี่ยนการถอยทางยุทธศาสตร์   ไปเป็นการรุกทางยุทธศาสตร์ อันเป็นที่มาของ การเดินทัพทางไกลอันลือเรื่อง
การเดินทัพทางไกลนี้ ไม่ใช่ความปรารถนาของกองทัพแดง พรรคคอมมิวนิสต์จีน และ เหมาเจ๋อตง เลย แต่เป็นความจำเป็นที่จะต้องสลัดจากการติดตามทำลายของก๊กมิ่นตั๋ง  เพื่อให้รอดจากการล้อมปราบและบรรลุเข็มมุ่งที่จะไปให้ถึงภาคเหนือของส่านซี กองทัพแดงจึงจำต้องแยกออกเป็นหลายขบวน เดินทัพและทำการบวกวน ข้ามแม่น้ำฉือสุ่ย (ทางตะวันตกเฉียงเหนือของจุนยี่) 4 ครั้ง  แล้วรุกรวดเร็วเข้าไปในยูนนาน แล้ววกกลับข้ามแม่น้ำแยงซีเข้าเสฉวน ผ่านด่านซีฉาง ข้ามสะพานโซ่เหล็กลู่ติ้ง ข้ามภูเขาหิมะ ลงไปสู่ซีคัง (พื้นที่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของเสฉวน และทางใต้ของก่านซู) ผ่าทุ่งมรณะ ตะลุยผาพยัคฆ์ จนบรรลุถึง เยนอาน ในสานเป่ย (ส่านซีเหนือ) สร้างฐานที่มั่นดำเนินสงครามต่อต้านญี่ปุ่นได้ในเดือนตุลาคม ๑๙๓๕ เมื่อมาถึงเยนอานนั้น กองทัพแดงเหลือกำลังเพียง ๘ พันกว่าคนเท่านั้น ต่อมา ในตอนต้นปี ๑๙๓๖ จึงมีทหารจากกองทัพแดงที่ ๔ เดินทางมาสมทบอีก ๒ หมื่นกว่าคน