Pivot to Asia vs One Belt One Road
ภูรินทร์
เทพเทพินทร์ ธันวาคม 2559
เกริ่นนำ
บทความนี้ เริ่มเขียนเมื่อวันที่ 4 ตุลาคม 2016 เนื่องมาจาก เพื่อนรุ่นพี่ที่นับถือคนหนึ่งของผู้เขียนได้ขอให้ผู้
เขียนแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับคำว่า Pivot to Asiaในทัศนะลัทธิมาร์กซ-เลนิน
และความคิดเหมาเจ๋อตงซึ่ง เป็นทัศนะของพรรคคอมมิวนิสต์จีนที่ผู้เขียนพอมีความเข้าใจอยู่บ้างตลอดทั้งผู้เขียนได้ติดตามสถานการณ์
ในจีน พม่า และที่อื่น ๆ อย่างใกล้ชิดต่อเนื่องมาเป็นเวลายาวนาน
ทีแรกก็คิดว่าจะเขียนเพียง 2-3 หน้า ก็พอแล้ว แต่ปรากฏว่า เรื่อง Pivot to Asia มีเนื้อหากว้างขวางกว่าที่คิดเอาไว้มากและก็มีความน่าสนใจมาก โดยไม่อาจจะสรุปได้ด้วยความรู้ความเข้าใจของผู้เขียนในเวลานั้นทันที บางเรื่องก็เป็นความรู้ใหม่ที่ไม่เคยรู้มาก่อน จึงจำต้องค้นคว้า และเขียนต้นฉบับใหม่หลายต่อหลายครั้ง เพื่อให้อ่านง่ายไม่เป็นวิชาการเกินไป และที่สำคัญต้องไม่มีลักษณะเอียงซ้ายมากเกินไป ประกอบกับระยะเวลาที่เขียนกำลังเป็นช่วงการเลือกตั้งประธานาธิบดีอเมริกา
ขณะที่สถานการณ์ในตะวันออกกลางก็กำลังเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว เกิดปรากฏการณ์ใหม่ ๆ ขึ้นทุกวัน กระนั้น บทความ Pivot to Asia vs One Belt, One Road นี้ก็ยังไม่สามารถครอบคลุมเนื้อหาทั้งหมดได้ นอกจากเฉพาะหัวข้อที่สำคัญเท่านั้น เนื่องจากไม่ต้องการให้บทความนี้มีลักษณะวิชาการซึ่งจะทำให้บทความมีความยาวมากและไม่น่าอ่าน จึงได้ลดเชิงอรรถลง เหลือเฉพาะที่จำเป็นโดยเฉพาะที่เกี่ยวกับความคิดเหมาเจ๋อตงซึ่งจีนยังใช้อยู่เป็นทฤษฎีชี้นำยุทธศาสตร์และยุทธวิธีทางการเมืองและการทหารในปัจจุบัน กระนั้นผู้เขียนก็พยายามลดขนาดลงให้สั้นมากที่สุด เพื่อความเข้าในมากยิ่งขึ้นผู้ที่สนใจควรหาอ่าน สรรนิพนธ์เหมาเจ๋อตุงเพิ่มเติม โดยเฉพาะ ในนิพนธ์ 3 บทนี้ ได้แก่
ปัญหายุทธศาสตร์ในสงครามปฏิวัติของจีน
(ธันวาคม ๑๙๓๖)
ปัญหายุทธศาสตร์ในสงครามจรยุทธ์ต่อต้านญี่ปุ่น
(พฤษภาคม ๑๙๓๘)
ว่าด้วยสงครามยืดเยื้อ(พฤษภาคม ๑๙๓๘)
**เนื้อหาของบทความเป็นการประเมินทางอัตวิสัยของผู้เขียน
ไม่ใช่ความเห็นทางการของจีนหรือสหรัฐอเมริกา ผู้อ่านโปรดใช้วิจารณญาณ
ภูรินทร์ เทพเทพินทร์
10 มกราคม 2017
Pivot to Asia vs One
Belt, One Road
แผนการปิดล้อมจีนของอเมริกา
1.Pivot
to Asia แผนการ“คืนสู่เอเชีย”
นโยบาย“คืนสู่เอเชีย” ของObamaที่ประกาศในปี 2013 แท้จริงแล้วก็คือการปิดล้อมจีนที่มีอเมริกาเป็นผู้ออกหน้าอย่างเปิกเผย
ภายใต้กรอบโยบายในการปิดล้อมและควบคุมจีน (China Containment) ที่อเมริกาใช้มาตั้งแต่ยุคสงครามเย็น แล้วเริ่มกลับนำมาใช้ใหม่ในยุคของประธานาธิบดี
George Bush (2001-2008)
เป้าหมายที่แท้จริงของ Pivot
to Asia ก็คือการปิดล้อมทางทะเลต่อจีนโดยอเมริกาที่ทะเลจีนใต้ทะเลชวาและช่องแคบมะละกาทั้งทางการเมืองเศรษฐกิจและการทหาร
ว่าตามเหตุผลและสามัญสำนึกแล้วการคืนสู่เอเชียที่ควรจะเป็นก็คือการเข้ามามีอิทธิพลเพิ่มต่อประเทศกลุ่มอาเซียนที่สำคัญคือฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย เวียดนาม และพม่าซึ่งมีพรมแดนติดอยู่กับทางใต้ของจีนโดยให้ประเทศเหล่านี้สกัดการขยายอิทธิพลทางเศรษฐกิจการเมืองและการทหารของจีนโดยตรงโดยมีไทยมาเลเซียและสิงคโปร์เป็นผู้อำนวยความสะดวกอยู่เบื้องหลังแต่ในความเป็นจริง แผนการนี้กลับไปมุ่งเน้นให้ความสำคัญเฉพาะทางด้านการทหารที่มีอเมริกาดำเนินบทบาทอยู่เพียงผู้เดียว ซึ่งจะกล่าวต่อไป
ในอีกด้านหนึ่ง Pivot to Asia เป็นนโยบายที่ต่อเนื่องมากจาก Regime Change ของ Obama ในสมัยประธานาธิบดี ครั้งที่ 1 ระหว่างปี 2009-2012 ซึ่งเป็น แนวคิดของ Obama โดยมี Hillary Clinton เป็นผู้นำปฏิบัติการเปิดช่องทางให้ อองซาน ซูจี ขึ้นสู่อำนาจในพม่า; พัฒนาขยายผล ปรากฏการณ์ Arab Spring ในตะวันออกกลาง ปรากฏการณ์นี้เกิดขึ้นเหนือความคาดหมายของอเมริกา แต่ถูก Clinton นำ มาขยายจนมีการโค่นล้มและสังหารกัดดาฟีในลิเบีย และสงครามกลางเมืองขึ้นในซีเรีย ซึ่งทั้ง 3 กรณีเป็นเพียงความสำเร็จที่แท้จริงของ แผนการ Regime Change ของ Obama ซึ่งฝ่าย Hillary Clinton แทบไม่ให้บทบาทและความสำคัญแก่ฝ่ายทหารเลยผลของ Regime Change ได้ทำลายความมั่นคงทั่วทวีปอัฟริกา และตะวันออกกลาง เกิดขบวนการก่อการร้ายมุสลิมระบาดไปทั่วภูมิภาค
ส่วน Pivot to Asia เป็นการออกแบบและควบคุมปฏิบัติการโดย นาย Ashton Carter และฝ่ายเหยี่ยวในกระทรวงกลาโหมอเมริกา มีเป้าหมายที่จะปิดล้อมจีน โดยทำลายกองทัพเรือจีนในทะเลจีนใต้และควบคุมช่องแคบมะละกา เพียงจุดเดียว และการรบครั้งเดียว เพื่อบังคับให้จีนต้องยอมจำนนต่ออเมริกาPivot to Asia จึงเป็นแผนการที่มีลักษณะการทหารล้วน ๆ โดยไม่มีการใส่ใจในการปฏิบัติการทางการ เมืองและการทูตโดยในยุโรปอเมริกาได้มอบหมายภาระให้กับ NATO, ในตะวันออกกลาง อเมริกาได้มอบหมายภาระไว้กับ ซาอุดิอาระเบีย กระทรวงการต่างประเทศมีหน้าที่เฉพาะการดูแลสถานการณ์และปฏิบัติการของฝ่ายกบฏในซีเรียเท่านั้น
ส่วนในพื้นที่ช่องแคบมะละกา Ashton Carter ก็ให้ความสำคัญกับการดำเนินการทางการเมืองกับประเทศกลุ่มอาเซียนน้อยมาก แม้กระทั่งกับฟิลิปปินส์และอินโดนีเซียซึ่งเป็นพันธมิตรใกล้ชิดที่สุดและอยู่แนวหน้าสุดที่ปะทะกับจีนในทะเลจีนใต้ แสดงให้เห็นวิธีคิดแบบด้านเดียวของอเมริกา และแสดงให้เห็นความขัดแย้งกันของฝ่ายปฏิบัติการ 2 กลุ่มในคณะบริหารของObama ที่ไม่ลงรอยกันอย่างชัดเจน
จึงพอเห็นได้ว่าในการปฏิบัติการของลัทธิครองความเป็นเจ้าของอเมริกา
กระทรวงการต่างประเทศและซีไอเอ เน้นปฏิบัติที่มีลักษณะการทำสงครามตัวแทน (Proxy
War) ในโปรแกรม Regime Changeในขณะที่กระทรวงกลาโหมเน้นปฏิบัติที่มีลักษณะการทำสงครามโดยตรง
(Open War) โปรแกรม Pivot
to Asia ซึ่งสงครามทั้ง 2
แบบมีความแตกต่างกันทั้งในด้านวิธีคิดและวิธีการ
2 . หลักการและเหตุผลของ Pivot to Asia
การปิดล้อมจีนโดยประเทศจักรวรรดินิยมตะวันตก
ไม่ใช่เป็นสิ่งที่เพิ่งเกิดขึ้น แต่มีพัฒนาการยาวนานมาตั้งแต่ศตวรรษที่ 19
เนื่องจากขนาดของประเทศจีนมีความใหญ่โตเกินกว่าที่ประเทศใด ๆ จะสามารถยึดครองได้
ในขณะเดียวกันก็มีมหาอำนาจตะวันตกหลายประเทศเข้ามาแย่งชิงผลประโยชน์ในประเทศจีน การปิดล้อมจึงเป็นวิธีเดียวที่ได้ผลคุ้มค่าที่สุดในการบีบบังคับให้จีนจำต้องยินยอมตามความเรียก
ร้องต้องการของประเทศตะวันตกเหล่านั้น (ยกเว้นญี่ปุ่นมีความตั้งใจที่จะยึดครองจีนมาตั้งแต่สมัยสง
ครามโลกครั้งที่ 1) ประกอบกับที่จีนยุคใหม่ (ปลายศตวรรษที่ 19 จนถึงปัจจุบัน)
ต้องพึ่งพาการติดต่อขนส่งค้าขายทางทะเลอยู่มาก แต่จีนมีความอ่อนด้อยทางทะเลไม่มีความสามารถที่จะต่อกรกับกำลังทางเรือของตะวันตกได้เลย
“การคืนสู่เอเชีย”
ของอเมริกาก็เป็นเพียงพัฒนาการของยุทธศาสตร์การปิดล้อมจีนของตะวันตกเท่านั้นเองที่มีอเมริกาเป็นตัวตั้งตัวตีเพียงเจ้าเดียว
นับตั้งแต่เกิดวิกฤติซับไพรมในปี 2008 เป็นต้นมาทำให้อเมริกาประจักษ์ว่าฐานะทางเศรษฐกิจที่แท้จริงของตนนั้นตกต่ำลงเป็นอย่างมากในขณะที่เศรษฐกิจจีนกำลังเติบโตอย่างไม่หยุดยั้งจนกลายมาเป็นอัน ดับสองของโลกและกำลังไล่กวดอเมริกามาอย่างกระชั้นชิดอเมริกาจึงน่าจะประเมินว่า
1. อเมริกาจนลง: แม้ว่าตนจะอยู่ในสภาพตกต่ำลงกว่าที่เคยเป็นก่อนวิกฤติ 2008 ซึ่งทำให้อเมริกาไม่อยู่ในฐานะผู้อุปถัมภ์อย่างทั่วด้านได้เหมือนเมื่อก่อนนี้ แต่อเมริกาก็ยังอยู่ในฐานะนำและสามารถเป็นฝ่ายกำหนดสถาบัน กฎเกณฑ์ และทิศทางเศรษฐกิจของโลกมีเงินดอลลาร์ที่ตนพิมพ์ออกมาได้ตามใจชอบเป็นสกุลเงินมาตรฐานเดียวบนโลกและเป็นผู้กำหนดตลาดน้ำมันของโลก นอกจากนี้พันธมิตรของตนในยุโรปอันได้แก่สหภาพยุโรปและประเทศในเครือNATO รวมทั้งตุรกีและประเทศตะวันออกกลางอันได้แก่ซาอุดิอาระเบียยูเออีและอิสราเอล ก็มีความเข้มแข็งทั้งในทางเศรษฐกิจและการทหารที่จะสามารถเป็นตัวแทนในการปิดล้อมรัสเซียและอิหร่านได้โดยตรง
2. จีนเป็นศัตรูหมายเลขหนึ่งของอเมริกา ที่อเมริกาจะต้องตัดไฟเสียแต่ต้นลม บั่นทอนปิดกั้นและทำลายลงให้จงได้จนหมดความสามารถที่จะแข่งอิทธิพลกับอเมริกา แม้ว่าในปัจจุบันจีนจะไม่แสดงเจตนาที่จะเป็นปฏิปักษ์และการคุกคามใดๆต่ออเมริกาอย่างชัดเจนก็ตาม แต่จะคุกคามท้าทายต่อความเป็นจ้าวและระบอบโลกขั้วเดียวของอเมริกาอย่างแน่นอนในอนาคตอันใกล้
3. ช่องแคบมะละกา: อเมริกาให้ความสนใจต่อตะวันออกกลางมาเป็นเวลายาวนานมากกว่า 20 ปีและห่างเหินจากเอเชียโดยเฉพาะย่านแปซิฟิกตะวันตกที่ทำให้จีนสามารถใช้เส้นทางขนส่งทางทะเลลำ เลียงทรัพยากรต่างๆโดยเฉพาะอย่างยิ่งน้ำมันมาสนองการพัฒนาทางเศรษฐกิจของตน ดังนั้นเส้นทางขนส่งทางทะเลในมหาสมุทรอินเดียช่องแคบมะละกาและชายฝั่งเวียดนามจึงเป็นเส้นเลือดของและเป็นจุดอ่อนที่สุดของจีน จีนจึงพยายามสร้างความมั่นคงของตนโดยการทุ่มเททางเศรษฐกิจและวัฒนธรรมอย่างเต็มที่ต่อกลุ่มประเทศอาเซียนและเข้าควบคุมหมู่เกาะและแก่งหินในทะเลจีนใต้เพื่อสร้างหลักประ กันต่อความปลอดภัยในเส้นทางขนส่งทางทะเลของตน ซึ่งจีนใช่ในขนส่งนำเข้าและส่งออกสินค้าต่าง ๆ ถึง 65% ของการค้าทั้งหมดของจีน เป็นไปได้ที่อเมริกาจะมีส่วนเกี่ยวข้องกับโจรสลัดโซมาเลียเพื่อเฝ้าดูผลกระทบต่างๆต่อจีนเนื่องจากเรือสินค้าส่วนใหญ่ที่ใช้เส้นทางผ่านมหาสมุทรอินเดียนั้นบรรทุกสินค้าจีนไปยังยุโรปหรือบรรทุกน้ำมันและวัตถุดิบต่างๆไปยังจีน
เส้นทางเดินเรือในย่านมหาสมุทรอินเดียตะวันออกและแปซิฟิกตะวันตก
4. ด้านการทหารจีนด้อยกว่าอเมริกา:
แม้จีนจะมีความก้าวหน้าไปมากทางการทหารแต่อาวุธยุท โธปกรณ์และเทคโนโลยีทางทหารและโดยเฉพาะกำลังทางอากาศของจีนรวมไปถึงรัสเซียนั้นยังอ่อนด้อยกว่าของอเมริกามากโดยเฉพาะเทคโนโลยี
Stealth กำลังทางเรือของจีนนั้นอ่อนด้อยที่สุดและของรัส
เซียในทะเลตะวันออกก็มีไม่มากพอ แม้ว่าในเวลาเกือบ
20 ปีที่ผ่านมา อเมริกาเกือบไม่ได้พัฒนาไปมากนักก็ตาม เนื่องจากอเมริกาหันไปมุ่งเน้นแต่การพัฒนานวัตกรรมการเงินที่ให้ผลตอบแทนต่อความมั่งคั่งได้มากกว่าและเร็วกว่าการพัฒนาทางเทคโนโลยีภาคการผลิตแท้จริง จนกระทั่งนำไปสู่วิกฤติซับไพรมในปี 2008 หากรัสเซียถูกปิดล้อมทางเศรษฐกิจและเส้นทางขนส่งทางทะเลของจีนมีอุปสรรค
ความสามารถทางการเมืองและการทหารของจีนและรัสเซียก็จะถูกจำกัดลงแม้ว่าหากถูกยั่วยุหรือถูกกด ดันก็จะไม่สามารถตอบโต้ทางทหารใดๆต่ออเมริกาได้ และถ้าหากมีการตอบโต้ขึ้นจริงกำลังทางทหารของจีนโดยเฉพาะกำลังทางเรือก็จะถูกอเมริกาทำลายลงได้โดยง่าย ซึ่งทำลายเกียรติภูมิอิทธิพลทางเศรษฐกิจและการเมืองในโลกของจีนลงได้ในทันที ประเทศจีนก็จะถูกปิดล้อมโดยสิ้นเชิงและจำต้องเดินตามที่อเมริกาเป็นผู้กำหนด นอกจากนี้อเมริกายังเชื่อว่า จีนมีขีดความสามารถในการพัฒนาเทคโนโลยีทางทหารต่ำ เนื่องจากอเมริกาได้ใช้มาตรการกีดกันการขายเทคโนโลยีและอาวุธแก่จีน จึงต้องอาศัยแต่การแอบลักขโมยและลอกเลียนแบบอาวุธต่าง ๆ จากประเทศตะวันตกเท่านั้น
5. เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ยังอยู่ในมืออเมริกา: อเมริกายังมีอิทธิพลทางทหารอยู่โดยเฉพาะในฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย และไทย กองทัพของประเทศเหล่านี้ถูกควบคุมโดยอเมริกาผ่านหลักนิยมทางการทหาร วิธีคิดทางยุทธศาสตร์ การจัดกำลังพล ระบบการศึกษาและการฝึกของกองทัพ ระบบอาวุธยุทธวิธีการรบการส่งกำลังบำรุง ระบบการสื่อสารและสนธิสัญญาและข้อตกลงทางการทหารรวมไปถึงซอฟแวร์การบริหารกำลังพล คลังแสง การคลัง งบประมาณและการสื่อสารแม้แต่แผนยุทธการใดๆก็ต้องแจ้งให้กับกระทรวงกลาโหมอเมริกาในทำนองเดียวกับเดียวกับเกาหลีใต้ญี่ปุ่นและไต้หวัน
6. จีนปกปิดความอ่อนแอของตนเอง: อเมริกาเห็นว่าการดำเนินนโยบายต่างประเทศของจีนบนหลัก การปัญจศีล – 1) เคารพอธิปไตยและบูรณภาพเหนือดินแดนของกันและกัน 2) ไม่รุกรานกัน 3) ไม่แทรกแซงกิจการภายในซึ่งกันและกัน 4) มีความเท่าเทียมกันและร่วมมือกันบนสิทธิประโยชน์ร่วมกัน 5) การอยู่ร่วมกันอย่างสันติ, และการใช้กลยุทธ์อิทธิพลอ่อนนุ่ม(Soft Power Engagement) เป็นการอำพรางความอ่อนแอทางทหารของจีน และทำให้จีนใช้เป็นข้ออ้างหลีกเลี่ยงไม่ปะทะทางทหารกับประ เทศใด ๆ
3. จังหวะก้าวของ Pivot
to Asia
จาการประเมินทำนองนี้ทำให้อเมริกาในยุคที่ประธานาธิบดี
Obama ได้รับเลือกตั้งเป็นสมัยที่ 2 ในปี 2013 ตัดสินใจนโยบาย “กลับสู่เอเชีย”
อย่างเต็มตัวโดย
1. ให้NATOรับผิดชอบและมีบทบาทนำด้วยตนเองในปฏิบัติการทางการเมืองเศรษฐกิจและการทหารในการโดดเดี่ยว ปิดล้อม ทำให้ยากจน และทำลายความเป็นเอกภาพของชาติต่อประเทศรัสเซียตามกรอบนโยบาย Russia Containment ในย่านแอตแลนติกเหนือ ทะเลเมดิเตอเรเนียน ทะเลดำและยุโรป ตะวัน ออก ปฏิบัติการregime change โดยสนับสนุนฝ่ายขวาจัดในยูเครนทำรัฐประหาร
2. ให้ซาอุดิอาระเบียรวมทั้งยูเออี และกาตาร์ (กาตาร์เป็นผู้แสดงบทบาทนำโดยเปิดเผย) รับผิดชอบและมีบทบาทนำในทางการเมืองเศรษฐกิจและการทหารที่กระทำต่ออิหร่านและเข้าไปสนับสนุนชาวมุสลิมนิกายสุหนี่ในอิรักเพื่อบั่นทอนอิทธิพลของชาวชีอะห์ที่อิหร่านให้การสนับสนุน ขณะเดียวกันก็ให้ตุรกีโดย NATO เคลื่อนไหวร่วมกับอิสราเอลอย่างลับ ๆ ต่อต้านซีเรียและอิหร่าน
3. เพื่อลดภาระทางทหารของอเมริกาในมหาสมุทรอินเดียและเอเชียใต้อเมริกาอาศัยความทะเยอทะยานและความคับข้องใจของอินเดียที่ต้องการแข่งขันกับจีน โดยอเมริกาแสดงการสนับสนุนให้อินเดียแสดงบทบาทครองความเป็นจ้าวในมหาสมุทรอินเดียและสนับสนุนให้อินเดียก่อความตึงเครียดตามชายแดนจีน-อินเดีย และอินเดียก็ตกลงตามเงื่อนไขที่จะให้การสนับสนุนจุดยืนของอเมริกาในนโยบาย Pivot to Asia ที่เพิ่มอำนาจต่อรองให้กับอินเดียในการเจรจาใดๆกับประเทศที่มีผลประโยชน์ทางผ่านมหาสมุทรอินเดียโดยเฉพาะกับจีนและปากีสถานที่อเมริกาทอดทิ้งไปหลังจากยึดครองอัฟกานิสถานได้สำเร็จ
4. อเมริกายังตรึงกำลังทหารเอาไว้ที่อัฟกานิสถาน (US 35,000; NATO 15,000) ในระยะก่อนหน้านี้เพื่อควบคุมอิหร่านและเอเชียกลางโดยตั้งฐานทัพไว้ 9 แห่งตั้งฐานทัพที่ใหญ่ที่สุดไว้ที่ Mazar-e Sharif ใกล้พรมแดนอัฟกานิสถาน อิหร่าน –เติร์กมันนิสถาน -อุซเบกิสถาน–ทาจิกิสถานเผื่อมีสถานการณ์ที่เปลี่ยน แปลงไปในอิหร่านและเอเชียกลางซึ่งจะใช่กำลังทหารส่วนนี้เข้าแทรกแซงเมื่อเป็นไปได้แต่ในระยะPivot to Asia กำลังนี้จะรบกวนทางสายไหมของจีนโดยตรงจนไม่สามารถเชื่อมต่อกับอิหร่านทางบกได้สะดวก นอกจากนี้อเมริกายังต้องขัดขวางไม่ให้รัฐบาลอัฟกันทำข้อตกลงสันติภาพกับขบวนกันการชาตินิยมอัฟกันหรือที่ตะวันตกเรียกว่า อัฟกันตาลิบัน ที่มีความสัมพันธ์อันดีกับจีน อเมริกาเรียกขบวนการนี้ให้สับสนว่าเป็นพวกตาลิปัน(Taliban) ซึ่งอเมริกาเป็นผู้สร้างขึ้นมา ใช้เป็นข้ออ้างปะกอบในการยึดครองอัฟกานิสถาน และทำให้นานาชาติถือว่าเป็นขบวนการก่อการร้าย
5. เคลื่อนไหวร่วมกับสิงคโปร์ซื้อตัวผู้นำทหารพม่าเปิดทางให้ อองซาน ซูจี ขึ้นมามีบทบาทนำทางการเมืองในพม่าและต่อต้านอิทธิพลจีนในพม่าในขณะเดียวกันให้กองทัพพม่ากดดันและสลายกองกำลังของชนกลุ่มน้อยตามชายแดนที่ติดกับจีน ให้สิงคโปร์เข้าซื้อและควบคุมการท่าเรือของพม่าและตลอดชายฝั่งมหาสมุทรอินเดียเกือบทั้งหมดตัดโอกาสของจีนที่จะเข้าถึงมหาสมุทรอินเดียผ่านพม่าหรือประเทศอื่นๆในย่านมหาสมุทรอินเดียได้โดยเสรี
6. ให้ฟิลิปปินส์ยกเลิกการเจรจาทวิภาคีในปัญหาข้อพิพาททะเลจีนใต้กับจีนและสร้างความตึงเครียดให้เกิดขึ้นในทะเลจีนใต้ ในขณะเดียวกันก็ส่งคนแทรกซึมเข้าไปในเวียดนามภาคใต้ก่อกระแสต่อต้านจีนเรียกร้องดินแดนในทะเลจีนใต้และก่อกวนการเจรจาทวิภาคีในการใช้ประโยชน์ร่วมกันระหว่างจีนและเวียด นาม ในพื้นที่พิพาทในทะเลจีนใต้ให้ฟิลิปปินส์ส่งเรื่องกรณีพิพาทกับจีนให้คณะอนุญาโตตุลาการระหว่างประเทศพิจารณา อเมริกาให้การช่วยเหลือทางทหารต่อฟิลิปปินส์และให้อินโดนีเซียขยายขอบเขตการลาดตระเวนทางเรือเข้าไปในทะเลจีนใต้ในขณะเดียวกันอเมริกาใช้ข้ออ้างในเรื่องเสรีภาพในการเดินเรือ (Freedom of Navigation ) ส่งเรือรบเข้ามาในทะเลจีนใต้และยั่วยุจีนให้ส่งกองทัพเรือเข้าปกป้องเขตอธิปไตยของตนเผชิญหน้ากับอเมริกา นอกจากนี้บังใช้เป็นข้ออ้างในการชุมนุมกำลังทางเรือของพันธ มิตรอเมริกาในมหาสมุทรแปซิฟิกเพื่อทำลายกองทัพเรือจีนในทันทีที่มีโอกาส
7. เปิดทางให้รัฐบาลฝ่ายขวาของญี่ปุ่นแก้ไขรัฐธรรมนูญในส่วนที่เกี่ยวกับกองทัพและการใช้กำลังทหารนอกประเทศเพื่อให้ญี่ปุ่นมีฐานะและกำลังพอมาเสริมกำลังของอเมริกาในแปซิฟิกตะวันตก
8. เพิ่มปฏิบัติการทางทหารและการซ้อมรบร่วมกับกองทัพเกาหลีใต้เพื่อยั่วยุเกาหลีเหนือให้สร้างประเด็นที่จะทำให้อเมริกาและบริวารมีความชอบธรรมที่จะกระชับการปิดล้อมจีนและรัสเซียในแปซิฟิกตะวันตก
9. ในทางเศรษฐกิจเพื่อต้านการนำเสนอ AIIB (Asian Infrastructure Investment Bank) ของจีนอเมริกาได้ปรับโครงการTPP (Trans Pacific Partnership) โดยผ่อนคลายเงื่อนไขการเข้าร่วมลงและชักชวนให้อินเดียเข้าร่วมโดยไม่เชิญจีน
10. นอกจากนี้ ก่อน Pivot to Asia อเมริกาได้พยายามดำเนินการทางการทูตต่างๆเพื่อกระชับวงล้อมต่อจีนรวมทั้งมีส่วนในการอยู่เบื้องหลังการประท้วงของนปช.(เพื่อศึกษารูปแบบของการใช้มวลชนเป็นเครื่อง มือ Regime Change) และต่อมากับ กปปส. (เพื่อหารูปแบบใหม่ของการใช้มวลชนติดอาวุธไปโค่นรัฐบาล) และการรัฐประหารในไทยเช่นเดียวกับที่อยู่เบื้องหลังการประท้วงรัฐบาล Muslim Brotherhoodที่มีหลักคิดทางศาสนาไม่ลงรอยกับลัทธิวาฮาบิของซาอุดิอาระเบียและประเทศกลุ่มอ่าวเปอร์เซีย ติดตามมาด้วยการรัฐประหารในอียิปต์รวมทั้งการก่อหวอดประท้วงจีนในฮ่องกงที่ถอดแบบมาจากการประท้วงรัฐบาลเพื่อไทยของกปปส.ในประเทศไทย แต่ปฏิบัติการนั้นทำไม่สำเร็จเนื่องจากไม่สามารถติดอาวุธมวลชนได้และการโค่นพรรคก๊กมิ่นตั๋งในการเลือกตั้งประธานาธิบดีไต้หวัน รูปแบบของการประท้วงของกปปส. นี้ได้ถูกนำไปใช้ได้เป็นผลสำเร็จที่ลิเบียและยูเครนในปี 2014 และกลายเป็นรูปแบบหลักของปฏิบัติการRegime Change ของอเมริกาในประเทศต่างๆไป
จบตอนที่ 1
No comments:
Post a Comment