ตอนที่ 3.
รัสเซียมาแล้ว!
นับตั้งแต่ปี 2013 IS ได้เข้าไปในซีเรียยึดครองพื้นตามแนวแม่น้ำยูเฟรติส
เชื่อมต่อแหล่งน้ำมันทั้งในอิรักและซีเรียเข้ามาไว้ด้วยกัน กลายเป็นแหล่งหาทุนอำพรางการสนับสนุนจากซาอุดิอาระเบียโดยขายน้ำมัน
ดิบผ่านตุรกี และใช้ตุรกีเป็นแหล่งส่งกำลังบำรุงแก่ ISIS..IS ยึดครองพื้นตามแนวแม่น้ำยูเฟรติสได้เกือบทั้งหมดเว้นแต่ที่Daerez-Zour แห่งเดียว
ซึ่งเป็นศูนย์คมนาคมสำคัญที่ฝ่ายรัฐบาลซีเรีย
แม้ถูกปิดล้อมก็ยังสามารถรักษาเอาไว้อย่างเหนียวแน่น เนื่องมาจากแท้จริงแล้วIS
มีกำลังไม่พอจึงใช้ยุทธวิธีสยดสยองสยบฝ่ายรัฐบาล
แต่ในทางกลับส่งผลให้ฝ่ายรัฐบาลปักใจสู้ตาย
ในเดือนเมษายน 2014 หลังจากที่ ISยึดโมซูลได้แล้ว ก็เริ่มปฏิบัติการได้รับชัยชนะอย่างรวดเร็วลงมาทางใต้ ในเดือนมิถุนายนปีเดียวกันกองทัพอิรักที่ได้รับการฝึกอย่างลวกๆโดยอเมริกาและได้รับการติดอาวุธขนาดเบาให้ จึงต้องแตกพ่ายอย่างง่ายดายจน ISILยึดได้พื้นที่ส่วนใหญ่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของอิรักรวมทั้ง เมืองฟัลลูจา(Fallujah) เพียง 69 กิโลเมตรจากแบกแดดอย่างไรก็ตาม แม้ISILมีกำลังไม่พอก็ยังขยายสงครามเข้าโจมตีพื้นที่ของชาวเคิร์ดทางตะวันออกของโมซูลที่อเมริกาสนับสนุนอยู่เนื่องจากชาวเคิร์ดนั้นเป็นชนชาติส่วนน้อย และมีประวัติศาสตร์ต่อต้านการปกครองของอิรักเสมอมา
อย่างไรก็ตามในปี2014นี้เอง มีข้อกล่าวหาจากสื่อตะวันตกว่ารัฐบาลใช้อาวุธเคมีโจมตีฝ่ายกบฏ จนทำให้ NATO และอเมริกาแสดงท่าทีว่าจะเข้าแทรกแซงและจะถล่มซีเรียด้วยจรวดร่อน กระทั่งรัสเซียต้องแสดงบทบาทไกล่เกลี่ยให้ซีเรียทำลายอาวุธเคมีที่มีอยู่ทั้งหมดในหารควบคุมของสหประชาชาติ เงื่อนไขการแทรกแซงจากประเทศตะวันตกจึงคลี่คลายลง แต่ในขณะนั้นสถานการณ์ทั่วไปของรัฐบาลซีเรียยังเลวร้ายลงตามลำดับ เศรษฐกิจพังทลาย กำลังทหารร่อยหรอ สภาพขวัญประชาชนเสื่อมทรามจนมีท่าว่าระบอบ อัสซาดคงล่มสลายลงในเวลาไม่นาน เรื่องนี้เป็นเหตุผลที่แท้จริงที่ทำให้อเมริกาเพลามือลงไม่เข้าแทรก แซงในซีเรียซึ่งไม่เกี่ยวอะไรกับอาวุธเคมีที่มีการยกขึ้นมาอ้างและการทำลายอาวุธดังกล่าวเลย
จนถึงเดือนกันยายน 2015 รัสเซียตัดสินใจอย่างฉับพลันส่งฝูงบินรบเข้าไปในซีเรียและทำการทิ้งระเบิดอย่างหนักตามจุดยุทธศาสตร์ต่างๆของฝ่ายกบฏและ ISIS ทำลายระบบบัญชาการการสื่อสารค่ายฝึก การส่งกำลังบำรุงและขวัญสู้รบของฝ่ายกบฏเกิดสับสนรวนเรไปหมด เปิดโอกาสให้รัฐบาลซีเรียจัดกำลังใหม่ปรับระบบบัญชาการ วางแผนการรบ เพิ่มเติมอาวุธปรับวิธีการฝึกและทหารมีขวัญสู้รบสูงขึ้นนอกจากนี้ยังมีกำลังอาสาสมัครจากอิหร่านเข้าเสริมจนสามารถโจมตีฝ่ายกบฏให้พ่ายไปได้ทีละส่วนในเวลารวดเร็วพลิกสถานการณ์กลายเป็นฝ่ายกระทำ แนวรบที่กระจัดกระจายเริ่มรวมตัวกันเป็นแนวใหญ่ที่มีความมั่นคงขึ้น
การส่งฝูงบินรบให้เข้าปฏิบัติการในซีเรียนี้อยู่เกินความคาดหมายของคนทั้งโลกในขณะที่รัสเซียแสดงการเคลื่อนไหวกำลังไปมาในย่านอาร์คติกแต่รัสเซียแหกวงล้อมของNATO จากยุโรปมาที่ซีเรียเป็นการสำแดงพลังทางทหารโดยไม่ทำให้ชาวยุโรปตกใจพลิกสถานะเป็นฝ่ายกระทำ ยิ่งไปกว่านั้น การเข้าไปในซีเรียของรัสเซียยังช่วยจีนโดยทำลายแผนการ 2 ขั้นแรกของPivot to Asia ของ Obama ลากให้อเมริกาต้องกลับเข้ามาสู่ตะวันออกกลาง และยังช่วยให้จีนมีความเป็นไปได้ในการขยายขอบเขตของแนวทาง One Belt One Road เข้าสู่ย่านตะวันออกกลางกระชับความสัมพันธ์กับอิหร่าน (และต่อมาเพิ่มเป็นตุรกี) จนจีนประกาศจะช่วยซีเรีย (และอิรัก) ในการฟื้นฟูประเทศหลังสงคราม
Saudi Arabia
เพื่อให้อเมริกาพ้นจากบทบาทหลักในตะวันออกกลาง สามารถรวมศูนย์ความพยายามลงมาที่ทะเลจีนใต้เพื่อปิดล้อมจีน
จึงปล่อยให้ซาอุดิอาระเบียและพันธมิตรปฏิบัติการตามใจชอบ
ในการปิดล้อมอิหร่านและสนับสนุนการโค่นล้มรัฐบาลอัสซาด แต่ซาอุดิอาระเบียแทนที่จะใช้เข็มมุ่งทางการเมืองของอเมริกากลับไปใช้การเผยแพร่อุดมการณ์ศาสนาลัทธิวาฮาบิด้วยการใช้สงครามจิฮาด
เป็นหลัก แทนที่จะให้การสนับสนุนฝ่ายต่อต้านรัฐบาลซีเรีย
นอกจากจะให้การสนับสนุนเฉพาะกลุ่มต่อต้านรัฐบาลที่เปลี่ยนเข้ามานับถือลัทธิวาหะบีแล้ว ซาอุดิอาระเบียก็ยังไปก่อตั้ง ISIS
(Islamic State In Syria) เข้ายึดพื้นที่ตามแนวแม่น้ำยูเฟรติส(the
Euphrates) ในซีเรีย แล้วยังขยายตัวเข้ามาในอิรัก ISIS จึงกลายเป็น ISIL (Islamic State of Iraq and the Levant) ซึ่งไม่ใช่เป้าหมายที่อเมริกาต้องการ
อเมริกาต้องการการรวมศูนย์ลงไปเฉพาะในซีเรียเท่านั้น เนื่องจากความสำเร็จจากยุทธวิธีสยดสยองISILสามารถยึดพื้นที่ทางเหนือของอิรักตามแนวแม่น้ำไทกริส(the Tigris) เอาไว้ทั้งหมดแล้วรุกคืบเข้าใกล้แบกแดด บังคับให้อเมริกาต้องแสดงบทบาทที่ตนไม่ต้องการหันไปต่อสู้กับ
ISILและเป็นผลให้อเมริกาไม่สามารถลดบทบาทตนเองในตะวัน ออกกลางอย่างที่ตั้งใจ
เยเมน
ในอีกด้านหนึ่ง Pivot to Asiaของอเมริกาได้รับผลกระทบหนักขึ้นไปอีกเมื่อซาอุดิอาระเบียส่งทหารเข้าแทรกแซงสงครามกลางเมืองในเยเมน
สนับสนุนฝ่ายรัฐบาลฮาดี (Abdrabbuh Mansur Hadi) ที่นิยมซาอุดิอาระเบียเมื่อวันที่ 26 มีนาคม 2015
โดยซาอุดิอาระเบียประเมินว่าจะได้รับชัยชนะในเวลาอันสั้นแล้วจะได้เปิดการรุกเข้าสู่อิรักในลำดับต่อไปภายใต้ธงกองกำลังร่วมอาหรับเก้าชาติ(The Coalition of Nine Arab States) แต่เหตุการณ์กลับตะละปัดกองทัพซาอุฯและพันธมิตรทำการเข่นฆ่าขาวเยเมนอย่างไม่เลือกหน้าก่ออาชญากรรมสงครามทิ้งระเบิดในพื้นที่อยู่อาศัยของพลเรือน แต่ในการรบกับเยเมนซึ่งได้แก่ ขบวนการเฮาซี (Houthi) และกองทัพเยเมนที่ให้การสนับอดีตประธานาธิบดีซาเลย์(Ali Abdullah Saleh) กองทัพซาอุฯและพันธมิตรที่ติดอาวุธทันสมัย
กลับพ่ายแพ้ครั้งแล้วครั้งเล่ากองทัพสูญเสียอย่างหนัก
ต้องติดหล่มอยู่ในเยเมนเคลื่อนกำลังไปอิรักไม่ได้ตามที่วางแผนเอาไว้จนทำให้ไม่อาจบรรลุการมีบทบาทนำในการปิดล้อมอิหร่านที่อิรักแทนอเมริกาได้
เยเมนและตะวันออกกลาง
ก่อนหน้าการแทรกแซงเยเมน ซาอุฯและพันธมิตร วางแผนที่จะทำการซ้อมร่วมครั้งใหญ่ใกล้ชายแดนอิรักหลังจากยุทธการในเยเมนสำเร็จลง และจะใช้การซ้อมรบเป็นบันไดกระโจนเข้าไปในภาคเหนือของอิรักด้วยข้ออ้างจะไปช่วยปราบ
IS ที่ตนเองเป็นผู้สร้างขึ้นมากับมือ
เพื่อขนาบซีเรียและอิหร่าน
ทั้งอิรักและเยเมนไม่ได้เป็นเป้าหมายของอเมริกาที่ตั้งใจจะให้ซาอุและพันธมิตรปฏิบัติการมาตั้งแต่แรกซาอุฯและพันธมิตรได้ทำความผิดพลาดครั้งสำคัญด้วยสร้างความยุ่งเหยิง สับสนอลหม่านไปหมด ตั้งแต่ เปลี่ยนแปลงเป้าหมาย จากเป้าหมายการเมือง โค่นล้มอัสซาด ไปเป็นการเผยแพร่อุดมการณ์ศาสนาลัทธิ วาฮาบิ, ขยายเขตสงครามออกจากซีเรีย ไปสู่อิรักและเยเมน,แทนที่จะรวมศูนย์ทรัพยากรไปสนับสนุนฝ่าย ต่อต้านอัสซาด กลับไปกระจายทรัพยากรสนับสนุน ISIL และฝ่ายนักรบจิฮาดกลุ่มต่าง ๆ มากมายหลายกลุ่ม ที่อยู่กันอย่างกระจัดกระจายและมีความต้องการแตกต่างกันความยุ่งเหยิงนี้จะก่อความเสียหายร้ายแรงเมื่อรัสเซียเข้าสู่ซีเรียและความโหดร้ายทารุณของ ISIS บังตับให้อเมริกาถูกผูกไว้ที่อิรัก ซึ่งอยู่นอกเหนือจากแผนที่มีมาแต่แรกว่าจะสามารถถอนตัวออก ไปทุ่มเทกับการปิดล้อมจีนในเอเซียอย่างเดียว
ในกรณีซีเรียที่ซาอุฯและพันธมิตรใช้แนวทางศาสนามาชี้นำสงครามก่อให้เกิดปัญหาสำคัญ กล่าวคือเนื่อง จากลักษณะเฉพาะของนักรบจิฮาดนิกายสุหนี่นั้น ไม่เชื่อในผู้นำทางศาสนาเพียงคนเดียว แต่ละกลุ่มจึงมีผู้นำทางจิตวิญญาณของตนเองซึ่งแตกต่างจากนิกายชีอะ ที่มีผู้นำศาสนาคนเดียว ดังนั้นเลยไม่สามารถสร้างเอกภาพทางความคิดได้ในหมู่นักรบจิฮาดสุหนี่ได้ ทำให้นักรบจิฮาดแยกออกเป็นกลุ่มเล็กกลุ่มน้อย แม้แต่ภายใน ISIL เองก็ตาม จึงรวมกันอย่างเป็นเอกภาพแท้จริงไม่ได้
ตุรกี
แม้ดูเหมือนว่าตุรกีจะมีบทบาทสำคัญในซีเรีย
แต่ฐานะของตุรกีกลับเป็นรองและถูกมองข้ามไปจากฝ่ายที่เกี่ยวข้องสถานการณ์ในซีเรีย เนื่องจากในตอนเริ่มตุรกี
ทำตัวเป็นแค่ตัวแทนของ NATO
อำนวยความสะดวกในการสนับสนุนฝ่ายกบฏในซีเรีย ในการตั้งค่ายผู้ลี้ภัยและค่ายฝึกให้กองกำลังติดอาวุธของฝ่ายกบฏซีเรีย เนื่องจากในอีกด้านหนึ่งตุรกีมีผลประโยชน์มากมายในซีเรีย
กล่าวง่าย ๆ ก็คือ ซีเรียเป็นตลาดสินค้าและแหล่งสนองน้ำมันดิบของตุรกี แต่เมื่อสถานการณ์ดูเหมือนว่าฝ่ายกบฏจะมีชัยและได้รับการเรียก
ร้อง
จาก NATO ตุรกีจึงเปลี่ยนท่าทีเช้าสนับสนุนการโค่นล้มรัฐบาลอัสซาดอย่างเปิดเผย อย่างไรก็ดี ...ก่อนการเคลื่อนไหวใด ๆของตุรกี มักใช้การต่อรองผลประโยชน์อย่างหนักต่อ NATOโดย เฉพาะอย่างยิ่งความต้องการของตุรกีที่จะเป็นส่วนหนึ่งของยุโรป เป็นเหตุให้ตะวันตกพยายามจะไม่ให้ตุรกีมีบทบาทเด่นขึ้นมาซึ่งจะทำให้ฐานะการต่อรองของตุรกีสูงขึ้น แม้ตุรกีจะอ้างถึงการต่อต้านรัฐบาลอัสซาดและ ISIS แต่ก็ไม่เคยปฏิบัติการทางทหารตรง ๆ กับทั้ง 2 ฝ่ายเลย กลับใช้เป็นข้ออ้างในการโจมตีชาวเคิร์ดในซีเรียแทน โดย Erdoğan ซึ่งเป็นนักชาตินิยมสุดโต่งเห็นว่าชาวเคิร์ดเป็นภัยคุกคามโดยตรงต่อความมั่นคงของตุรกี แต่ขบวนการของชาวเคิร์ดในซีเรียและอิรักนั้นมีอเมริกาเป็นผู้ให้การสนับสนุนโดยตรงในการต่อสู้กับ ISIS ชาวเคิร์ดจึงไม่ใช่เป้าหมายที่ อเมริกาและNATO ต้องการให้ตุรกีโจมตี
จาก NATO ตุรกีจึงเปลี่ยนท่าทีเช้าสนับสนุนการโค่นล้มรัฐบาลอัสซาดอย่างเปิดเผย อย่างไรก็ดี ...ก่อนการเคลื่อนไหวใด ๆของตุรกี มักใช้การต่อรองผลประโยชน์อย่างหนักต่อ NATOโดย เฉพาะอย่างยิ่งความต้องการของตุรกีที่จะเป็นส่วนหนึ่งของยุโรป เป็นเหตุให้ตะวันตกพยายามจะไม่ให้ตุรกีมีบทบาทเด่นขึ้นมาซึ่งจะทำให้ฐานะการต่อรองของตุรกีสูงขึ้น แม้ตุรกีจะอ้างถึงการต่อต้านรัฐบาลอัสซาดและ ISIS แต่ก็ไม่เคยปฏิบัติการทางทหารตรง ๆ กับทั้ง 2 ฝ่ายเลย กลับใช้เป็นข้ออ้างในการโจมตีชาวเคิร์ดในซีเรียแทน โดย Erdoğan ซึ่งเป็นนักชาตินิยมสุดโต่งเห็นว่าชาวเคิร์ดเป็นภัยคุกคามโดยตรงต่อความมั่นคงของตุรกี แต่ขบวนการของชาวเคิร์ดในซีเรียและอิรักนั้นมีอเมริกาเป็นผู้ให้การสนับสนุนโดยตรงในการต่อสู้กับ ISIS ชาวเคิร์ดจึงไม่ใช่เป้าหมายที่ อเมริกาและNATO ต้องการให้ตุรกีโจมตี
จนกระทั่งวันที่ 24 พฤศจิกายน 2015 เครื่องบิน F-16 ของตุรกียิงเครื่องบิน Su-24 ของรัสเซียตกในซีเรียใกล้พรมแดนตุรกี เป็นเหตุให้ความสัมพันธ์ระหว่างรัสเซียละตุรกต้องเสื่อมทรามลง รัสเซียห้ามสินค้าตุรกีเข้าประเทศและห้ามชาวรัสเซียไม่ให้มาท่องเที่ยวที่ตุรกี ยังไม่ทราบว่าใครเป็นผู้สั่งการให้เครื่องบิน F-16 ยิงเครื่องบินรัสเซีย แม้มีหลักฐานปรากฏชัดเจนทางการตุรกีก็ยังปฏิเสธไม่ยอมรับ และมีเหตุอันน่าเชื่อได้ว่า ประธานาธิบดี Erdoğan (อ่านออกเสียงว่า“เออร์โดกวัน”) อาจเป็นผู้สั่งการ เพราะก่อนหน้านี้รัสเซียได้ทำการทิ้งระเบิดทำลายการขนส่งน้ำมันดิบของ ISIS ที่เข้าไปขายให้กับธุรกิจน้ำมันตุรกีที่ลูกชายของ Erdoğan เป็นเจ้าของ
วันที่ 15 กรกฎาคม 2016 เกิดรัฐประหารขึ้นในตุรกี แต่ล้มเหลว Erdoğan กล่าวหาว่าอเมริกาเป็นผู้อยู่เบื้องหลัง ความสัมพันธ์ระหว่างตุรกีกับตะวันตกจึงเสื่อมทรามลงในทันที ซึ่งเป็นไปได้ที่รัสเซียเป็นผู้แจ้งเบาะแสแผนรัฐประหารให้ Erdoğan ทราบล่วงหน้า ทำให้ตุรกีสามารถฟื้นฟูความสัมพันธ์กับรัสเซียได้อย่างรวดเร็ว นอกจากนี้ ตุรกียังใช้ประเด็นการรัฐประหารนี้มาต่อรองกับอเมริกาในภายหลัง
ตุรกีแม้ว่าจะแสดงความตั้งใจที่จะเข้าเป็นสมาชิกของ EU แต่ความตั้งใจนี้ถูกลดความสำคัญลง นับตั้งแต่เห็นปัญหาเศรษฐกิจยุโรปที่สะท้อนออกมาในวิกฤติการเงินของกรีซ
ต่อมาก็ได้เห็นถึงความไม่จริงใจของยุโรปในการแก้ปัญหาผู้ลี้ภัยมุสลิม, Brexit,
รวมถึงความพยายามของเข้าแทรกแซงกิจการภายในตุรกีของตะวันตกในกรณีรัฐประหาร
ทำให้ตุรกีต้องหันกลับมาร่วมมือกับรัสเซียและจีน ตาม One Belt, One Road
Initiative ที่จะให้ตุรกีได้รับผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจอย่างมหาศาล มีความสำคัญขึ้นมาจากการเป็นประตูสู่ยุโรป
3. อินเดีย
การเสริมบทบาทของอินเดียในการเข้าควบคุมมหาสมุทรอินเดียทำการปิดล้อมจีนทางทะเลที่ต่อมาจากช่องแคบมะละกาเพื่อให้อินเดียสนับสนุนจุดยืนของอเมริกาที่อ้างเรื่องFreedom
of Navigation เป็นได้ทั้งความเพ้อฝันและการหลอกลวงของทั้งอเมริกาและอินเดีย อเมริกาประเมินขีดความสามารถทางทะเลของอินเดียสูงเกินไปหรืออาจเป็นไปได้ว่าอเมริกาหลอกอินเดียให้มาสนับสนุนจุดยืนของตนในประเด็นทะเลจีนใต้เป็นการชั่วคราวไม่ได้ต้องการให้อินเดียครองมหาสมุทรอินเดียจริง
ๆ
อินเดียนั้นโดยทั่วไปแล้วมีความรู้สึกต่อต้านจีนมาตั้งแต่ความพ่ายแพ้ในสงครามจีน-อินเดียเมื่อปี 1962 ต้องการที่จะกอบกู้เกียรติภูมิของตนกลับมามิได้ขาด มีความต้องการแรงกล้าที่จะแข่งขันกับจีน การสร้างกองทัพและการสะสมอาวุธทั้งหมดของอินเดียใช้ข้ออ้างว่าต่อต้านการก่อการร้ายที่มาจากปากีสถาน แต่แท้จริงแล้วก็มีเป้าหมายที่จะประลองกำลังกับจีนและเอาชนะจีนเพื่อกู้ศักดิ์ศรีของชาติให้กลับคืนมา ไม่ว่าจะเป็นที่บริเวณพื้นที่ชายแดนที่เป็นกรณีพิพาทกันหรือที่อื่น ๆ ซึ่งอเมริกาเข้าใจเรื่องนี้เป็นอย่างดีเนื่องจากเป็นผู้อยู่เบื้องหลังอินเดียในการก่อสงครามกับจีนเมื่อปี 1962
ชัดเจนว่าอินเดียมีศักยภาพที่จะเป็นประเทศผู้นำของโลก หากอินเดียกำหนดเป้าหมายในการแข่งขันที่เป็นจริง แทนที่อินเดียจะตั้งเป้าเอาชนะประเทศเจ้าอาณานิคมที่เคยยึดครองกดขี่และขูดรีดอินเดียอย่างทารุณ แล้วค่อยกำหนดเป้าหมายแข่งขันให้สูงขึ้นเป็นขั้น แต่ประเทศตะวันตกกลับบิดเบือนและชักนำให้อินเดียไปแข่งขันกับจีนที่ไม่เคยมีผลประโยชน์ใด ๆ ขัดแย้งกับอินเดียมาก่อน เว้นแต่กรณีสงครามปี 1962 ที่อินเดียเป็นฝ่ายเริ่มทำสงครามก่อน โดยการยุยงของอเมริกา เป็นที่น่าสังเกตว่าอินเดียยังดำเนินให้การสนับสนุนกลุ่มติดอาวุธหัวรุนแรงใน อัฟกานิสถาน ปากีสถาน รวมทั้งขบวนการโรฮิงญา(โรฮินจา)ในพม่า
ในมหาสมุทรอินเดีย อินเดียก็น่ารู้ถึงขีดความสามารถทางทะเลของตนและความไม่พร้อมที่จะครองเป็นเจ้าในมหาสมุทรอินเดียแต่เพื่อใช้โอกาสข้อเสนอของอเมริกานี้ไปต่อรองกับจีน
ปากีสถาน และพม่าแล้วยังใช้เป็นใบอนุญาตซื้ออาวุธจากประเทศตะวันตก ซึ่งในทางกลับกันก็จะให้ผลร้ายต่อกองทัพของอินเดียหากเกิดสงครามขนาดใหญ่ขึ้น
เนื่องจากกองทัพอินเดียมีระบบอาวุธมากมายของหลากหลายประเทศ
ซึ่งจะสร้างความสับสนและความยากลำบากอย่างยิ่งในการใช้อาวุธและจัดการส่งกำลังบำรุง และในข้อ เท็จจริงแล้ว
อินเดียย่อมตระหนักว่าการควบคุมมหาสมุทรอินเดียนั้นทำได้จากจุดเดียวก็คือช่องแคบมะละกาซึ่งอเมริกาจะไม่ยอมให้อินเดียเข้าควบคุมเป็นอันขาด
4. อัฟกานิสถาน
อเมริกาตรึงกำลังทหารไว้ในอัฟกานิสถานจำนวนมากโดยตั้งฐานทัพใหญ่ไว้ที่ Mazar-e
Sharif ใกล้ชาย แดนทาจิกกิสถานนั้นแสดงความตั้งใจที่แท้จริงของอเมริกาที่มุ่งจะรุกเข้าสู่เอเชียกลาง แต่กลับกลายเป็นเงื่อนไขให้ชาวอัฟกันต่อต้านยิ่งขึ้นและเข้าร่วมกับขบวนการตาลิบัน ต้องเข้าใจก่อนว่าขบวนการตาลิบันอัฟกานิสถานนั้นไม่ใช่ตาลิบันสายปากีสถาน ที่เคยเป็นรัฐบาลอัฟกานิสถานในระหว่างปี
1996-2001 มีความสัมพันธ์อันดีกับal-Qaeda และซาอุดิอาระเบีย ตาลิปบันอัฟกัน นี้แท้จริงเป็นองค์การแนวร่วมของขบวนการรักชาติอัฟกันหรือที่เรียกว่าThe
Afghan Emirates แต่ชื่อตาลิบันนี้เป็นชื่อที่สื่อตะวันตกยัดเยียดให้เพื่อบิดเบือนแนวร่วมรักชาติอัฟกันให้เป็นขบวนการก่อการร้าย
อัฟกันตาลิบัน
แนวร่วมรักชาติอัฟกานิสถานเป็นขบวนการรักชาติชาวอัฟกันที่มีขนาดใหญ่ที่สุดและมีอิทธิพลมากที่สุดในอัฟกานิสถานไม่ใช่แต่มีชาวPashtun
(ปาทาน) อย่างที่เข้าใจกันเท่านั้นแต่ยังมีชนเผ่าอื่นๆเช่นUzbekและHazaraเข้าร่วมด้วย พวกเขาปฏิเสธความร่วมมือกับขบวนการก่อการร้ายต่างชาติอย่าง
al-Qaeda และไม่ยอมรับการสนับสนุนจากซาอุและ UAE แนวร่วมรักชาติอัฟกันคัดค้านการยึดครองของต่างชาติซึ่งหมาย ถึงอเมริกา
ไม่ใช่ตาลิบันปากีสถานที่ยึดครองพื้นที่บางส่วนในภาคใต้ของอัฟกานิสถานอันมีความสัมพันธ์กับ
al-Qaeda ซาอุดิอาระเบียและ UAE ที่นิยมใช้ลัทธิก่อการร้ายลอบสังหารใช้ระเบิดฆ่าตัวตาย เป็น เครื่องมือของอเมริกาที่ใช้เป็นข้ออ้างในการยึดครองอัฟกานิสถาน แนวร่วมรักชาติอัฟกัน หรือ
ตาลิบันอัฟกันปัจจุบันควบคุมพื้นที่ในชนบทเกือบทั้งหมดของอัฟกานิสถานเว้นแต่พื้นที่ทางใต้แถบจังหวัด
กันดาฮาร์ (Kandahar)และ Helmand ใกล้พรมแดนปากีสถาน ซึ่งเป็นพื้นที่ของตาลิปันปากีสถานสาย al-Qaeda
ขบวนการตาลิบันปากีสถาน กลุ่มนี้โดยเนื้อแท้เป็นกองกำลังติดอาวุธของเจ้าที่ดินอัฟกันทางใต้ที่มีผลประ
โยชน์จากการปลูกฝิ่นและผลิตเฮโรอิน โดยพวกเจ้าที่ดินเหล่านี้จะบังคับให้ชาวนา(ลูกนา)ปลูกฝิ่นนอก
เหนือไปจากพืชยังชีพอื่น ๆ และต้องเสียค่าเช่าที่ดินเป็นฝิ่น ขณะเดียวกันก็เกณฑ์ชาวนาให้เป็นนักรบในกองกำลัง
ดังนั้นเพื่อสร้างความชอบธรรมแก่ขบวนการจึงชูศาสนามาบังหน้าและขอการสนับสนุนจากประเทศอาหรับ
สื่อตะวันตกมักจะเอาภาพของตาลิปันภาคเหนือกับภาคใต้นี้มาปนเปกันอย่างกรณีที่กาตาร์
ให้มีสำนักงานผู้แทนตาลิบันในประเทศ แท้จริงแล้วสำนักงานนี้เป็นสำนักงานตัวแทนของตาลิบันทางใต้อันเป็นส่วนน้อยที่ตนสนับสนุนเท่านั้น
ไม่ได้เป็นตัวแทนของขบวนการรักชาติอัฟกันแต่อย่างใดจึงไม่มีน้ำ
หนักในการเจรจาต่อรองใด ๆ กับรัฐบาลอัฟกานิสถาน
ขณะนี้ตาลิปันอัฟกันกำลังทำการรุกรบใหญ่ที่ Kunduz อันเป็นจุดยุทธศาสตร์ด้านหนึ่งเป็นประตูเข้าสู่ทาจิกิสถานอีกด้านหนึ่งเป็นเส้นทางลำเลียงหลักของฐานทัพอเมริกาที่Mazar-e Sharif และเป็นปากทางเข้าสู่อัฟกานิสถานตะวันออก ศึกที่ Kunduz นี้จะบีบให้รัฐบาลหุ่นอัฟกานิสถานที่อเมริกากำกับต้องยอมเจรจาอย่างเป็นทางการกับแนวร่วมรักชาติอัฟกันซึ่งตั้งเงื่อนไขเริ่มต้นที่ให้มีการถอนทหารต่างชาติออกไปจากอัฟกานิสถาน
ตั้งแต่ปี 2009 เป็นต้นมาอเมริกาและ NATO ประกาศอยู่เสมอว่าจะถอนทหารออกจากอัฟกานิสถานแต่ในความเป็นจริงอเมริกากลับเพิ่มจำนวนทหารขึ้นเรื่อยๆโดยไม่ใส่ใจที่จะสนับสนุนรัฐบาลที่ตนตั้งขึ้นในการพัฒนาประเทศในด้านอื่นๆ ปล่อยให้องค์การระหว่างประเทศเป็นผู้ให้ความช่วยเหลือ ตามตัวเลขในปี 2014 อเมริกามีทหารในอัฟกานิสถาน 35,000 คนและ NATO 15,000 คนแต่มีผู้ประมาณว่าในปี 2016 อเมริกามีทหารในอัฟกานิสถานราว 45,000 – 50,000 คนและทหารหุ่นอีกจำนวน 350,000 คนซึ่งมาก ที่สุดในย่านตะวันออกกลาง แสดงให้เห็นจุดประสงค์แท้จริงของอเมริกาที่จะปิดล้อมจีนและอิหร่านแต่การคงทหารจำนวนมากในที่ห่างไกลเช่นนี้ย่อมมีปัญหาในการส่งกำลังบำรุงอเมริกาจึงถูกลากให้เข้ามาติดพันอยู่ที่Kundusและจุดอื่นๆทั่วประเทศจะรุกต่อไปในเอเชียกลางตามแผนจึงเป็นไปได้ยาก นอกจากนี้ก็ยังไม่สามารถถอนกองเรือบรรทุกเครื่องบินออกไปจากทะเลอาหรับเพื่อไปเสริมกำลังในทะเลจีนใต้ได้
หากแนวร่วมรักชาติอัฟกานิสถานมีชัยชนะที่ Kunduz ฐานทัพใหญ่ของอเมริกาในภาคเหนือของอัฟกานิ –ถานจะถูกตัดขาดและตกอยู่ในวงล้อม
ก็จะส่งผลทางการเมืองที่กระทบยุทธศาสตร์ของอเมริกาในอัฟกา นิสถานและตะวันออกกลางรวมทั้งแผนการ
Pivot to Asia
5. พม่า
เมื่อประธานาธิบดี George Bush
เข้าดำรงตำแหน่งในปี 2001 เป็นระยะที่อเมริกามั่งคั่งและเข้มแข็งที่สุดตั้งแต่การหาเสียงเลือกตั้ง
Bushแสดงความปรารถนาแรงกล้าที่จะสำแดงลัทธิความเป็นเจ้า
ที่มีผู้สนับสนุนคนสำคัญ ได้แก่ Dick Cheney ซึ่งต่อมาได้เป็นรองประธานาธิบดี และ Donald Rumsfeld ต่อมาได้เป็น รัฐมนตรีกลาโหม เมื่อเกิด กรณีไห่หนาน (the
Hainan Island incident) เมื่อวันที่ 1 เมษายน 2001
ที่เครื่องบินลาดตระเวนของอเมริกาถูกบังคับให้ลงจอดที่เกาะไหหนาน(ไหหลำ) ประเทศจีน
ทำให้ประธานา ธิบดีบูช
เสียหน้าเป็นอย่างมากเริ่มยก China Containment Policy ขึ้นมาพิจารณา
เกิดการระบาดรวดเร็วของไวรัส SARS –( Severe Acute Respiratory Syndrome) ขึ้นในฮ่องกงและมณ ฑลกวางตุ้ง ระหว่าง พฤศจิกายน 2002 – กรกฎาคม 2003 ทำให้มีผู้ติดเชื้อเกือบหมื่นคน และมีผู้เสียชีวิตไปเกือบพันคน เมื่อ SARS เพลาลงไปแล้ว ในปีเดียวกัน (2003) ก็เกิดการระบาดใหม่ของโรคไข้หวัดนกสายพันธุ์ H5N1 เริ่มต้นที่ฮ่องกงและกวางตุ้ง ต่อมาระบาดลงสู่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และต่อไปยังประ เทศอื่น มีผู้ติดเชื้อหลายหมื่นคนและตายหลายร้อยคน จนกระทั่งเดือนพฤศจิกายน 2005 ประธานาธิบดีบูช ได้ขอสภาคอนเกรสให้ผ่านอนุมัติงบประมาณฉุกเฉินจำนวน 7.1 พันล้านเหรียญ เพื่อเตรียมการรับมือกับการระบาดของไข้หวัดนกในสหรัฐอเมริกา
ในจำนวนนี้ 1 พันล้านเหรียญ จัดไว้สำหรับการจัดซื้อยา Tamiflu ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ยาของบริษัท Gilead Sciences ที่ Donald Rumsfeld เคยเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่และประธานบริษัทก่อนที่จะมารับตำแหน่งรัฐมนตรีกลาโหม โรค SARS ได้หายไปจากโลกในเดือนกรกฎาคม 2003 และไข้หวัดนก H5N1หายไปจากโลกเมื่อสุดสุดสมัยของประธานาธิบดีBushในปี 2008 แม้ไม่มีการประกาศแต่จีนก็มั่นใจว่า SARS มีเป้าหมายที่เป็นการโจมตีจีนเพื่อตอบโต้ กรณีไห่หนาน ปี 2001 สำหรับไข้หวัดนก H5N1 ในระยะแรกก็เป็นการโจมตีจีน แต่ในภายหลังแพร่กระจายออกไปทั่วโลก เป้าหมายของแผนการจึงถูกดัดแปลงไปสนองผลประโยชน์ส่วนตัว ของ Rumsfeldดังนั้นทั้ง SARS และ H5N1จึงล้วนเป็นผลงานของห้องปฏิบัติการชีวภาพของ Rumsfeld ทั้งสิ้น
จะเอา พม่า หรือว่า อิรักดี?
ในปี 2002 มีการประเมินเป้าหมายทางทหาร
ของการสำแดงความเข้มแข็งทางทหารของอเมริกา ระหว่าง อิรักและพม่า
ซึ่งถูกอเมริกาปิดล้อมมาเป็นเวลานานจนอ่อนเปลี้ย
อิรักมีความสำคัญเป็นเป้าหมายเพื่อปิดล้อมอิหร่าน และ
พม่าเป็นเป้าหมายเพื่อปิดล้อมจีน ผลจากการพิจารณาจอร์จบูช เลือก อิรัก
เพราะเป็นเป้าหมายที่ง่ายกว่า ที่อิหร่านไม่สามารถจะยื่นมือเข้ามาแทรกแซงได้
และยังสนองความต้องการส่วนตัวที่ในสมัยบูช-ผู้พ่อ กองทัพอเมริกาไม่สามารถจะรุกต่อเข้าไปในอิรักได้ด้วยข้อจำกัดของมติสหประชาชาติ
ส่วนพม่า...การโจมตีพม่าอาจทำให้จีนเข้ามาแทรกแซงทำให้เกิดสงครามยาวนานและชัยชนะของสงคราม
ยังไม่มีหลักประกันได้
จากนั้นGeorge Bushจึงประกาศ Axis of Evils อันได้แก่ อิรัก อิหร่าน และเกาหลีเหนือ แล้วหาเหตุที่จะโจมตีอิรักด้วยกำลังทหาร โดยสร้างความชอบธรรมของการทางครามโดยสร้างสถานการณ์ 9-11 ขึ้นมา ตอนแรกโยนความผิดให้ขบวนการ al Qaeda ที่อยู่ในอัฟกานิสถานแล้วส่งทหารเข้ายึดครองอัฟกานิสถาน เพื่อขนาบอิหร่านมิให้เข้าขัดขวางในการโจมตีอิรักในเวลาต่อมา สร้างข้ออ้างเท็จกล่าวหาว่าอิรักครอบ ครองอาวุธอำนาจทำลายล้างร้ายแรง (WMD-Weapon of Mass Destruction) แล้วก็เปิดฉากโจมตีอิรัก
เมื่อเป็นเช่นนี้
นโยบายต่อพม่าของอเมริกาจึงเปลี่ยนไปเป็นใช้การแทรกซึมเข้าไปค่อย ๆ
เปลี่ยนทัศนคติและจุดยืนของผู้นำกองทัพพม่าแทน ในขณะที่ค่อย ๆ
ลดการสนับสนุนฝ่ายต่อต้านรัฐบาลพม่าลง
กลยุทธแบบนุ่มนวล
อเมริกาเริ่มเปลี่ยนท่าทีและนโยบายต่อพม่ามาตั้งแต่ปี 2003 จากการปิดล้อมมาสู่การเปิดประตูจากที่ใช้ประเทศไทยเป็นคีมบีบพม่ามาเป็นการใช้สิงคโปร์เป็นผู้ไขประตู โดยเริ่มเปิดทางให้นักธุรกิจพม่าทำธุร กรรมทางการเงินผ่านธนาคารในสิงคโปร์และค่อย
ๆ เชิญผู้นำทางทหารพม่ามารักษาพยาบาลในสิงคโปร์เพื่อมีโอกาสได้พบปะกับผู้แทนอเมริกา จนกระทั่งนายกรัฐมนตรีขิ่นญุ้นซึ่งมีท่าทีนิยมจีนถูกปลดและจับกุมในเดือนตุลาคม
2004 โดยอ้างว่าเขาพยายามที่จะเจรจากับ อองซานซูจี และแก้ไขรัฐธรรมนูญให้เอื้อต่อการเคลื่อนไหวทางการเมืองของพรรค
NLD ซึ่งแท้จริงแล้วขิ่นญุ้น ทำเรื่องนี้เองไม่ได้หากไม่ได้รับการเห็นชอบจาก SPDC (State Peace
and Development Council, 1988-2011) ซึ่งเป็นชื่อใหม่ของSLORC
ซึ่งเป็นองค์การปกครองสูงสุดของพม่าในเวลานั้น อย่างไรก็ตามฝ่ายทหารพม่าก็ค่อย ๆ
ผ่อนคลายความกดดันต่อพรรค NLD ลง
และเพิ่มการควบคุมเขตปกครองพิเศษของกำลังชนกลุ่มน้อยที่นิยมจีน และเริ่มกระบวนการปฏิรูปทางการเมือง ร่างรัฐธรรมนูญใหม่และประกาศใช้ในปี 2008
โดยจะจัดให้มีการเลือกตั้งทั่วไปในปี 2010 ซึ่งพรรครัฐบาลได้รับชัยชนะ
และมีการเลือกตั้งซ่อม 1 เมษายน 2012 พรรค NLD ได้ที่นั่ง 43
ในจำนวน 45 ที่นั่ง แต่ยังไม่สามารถเป็นเสียงข้างมากได้
กรณีโกก้าง 2009
เมื่อObamaได้เป็นประธานาธิบดีในปี 2009
เกิดกรณีโกก้างขึ้นในเดือนสิงหาคม 2009 เมื่อ ไป่ซั่วเชียน(Bai Suochian) รองประธานคณะบริหารของเขตปกครองพิเศษโกก้าง ทางตะวันออกเฉียงเหนือสุดของรัฐฉานติดพรมแดนจีนได้ก่อการยึดอำนาจการนำในMNDAA (Myanmar National Democratic
Alliance Army) โดยนำทหารพม่าเข้ายึดครองเขตปกครองพิเศษโกก้างซึ่งก่อตั้งขึ้นตามข้อตกลงหยุดยิงปี
1989 ที่ให้สิทธิ MNDAA ปกครองตนเองในโกก้าง
ซึ่งเป็นพื้นที่ของชาวจีนในพม่า ผลของกรณีโกก้างนี้ทำให้ชาวโกก้างหลายหมื่นคนหนีไปลี้ภัยในจีน
มาจนทุกวันนี้ ไป่ซั่วเชียน คนนี้เป็นผู้ที่ได้รับการสนับสนุนจากกลุ่มนักธุรกิจ Asia
World ซึ่งเป็นกลุ่มธุรกิจที่ใหญ่ที่สุดของพม่า นำโดยตระกูลโล
(โลซิงฮั่น) ซึ่งเป็นชาวจีนโกก้างเช่นกันที่มีความใกล้ชิดกับผู้นำกองทัพพม่า
และมีผลประโยชน์มหาศาลในสิงคโปร์
ชัยชนะของซูจี
อองซานซูจี ได้รับการปล่อยตัวในเดือนพฤศจิกายน
2011 ติดมามาด้วยการเยือนพม่าของ Hillary
Clinton รัฐมนตรีต่างประเทศอเมริกาในเดือนธันวาคม 2011 จากนั้นฝ่ายกองทัพพม่าจึงค่อย ๆ ลดข้อ จำกัดทางการเมืองที่มีต่อพรรค
NLD จนกระทั่งในการเลือกตั้งทั่วไปปี
2015 NLD ได้รับชัยชนะในการเลือกตั้ง เนื่องจากข้อห้ามในรัฐธรรมนูญพม่า อองซานซูจี
จึงไม่สามารถดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีและนายกรัฐมนตรีของพม่าได้ เธอจึงรับตำแหน่งรัฐมนตรีต่างประเทศและองคมนตรีแห่งรัฐ(State
Counsellor) ซึ่งมีอำนาจหน้าที่คล้ายนายกรัฐมนตรี แน่นอนว่า การคลี่คลายทางการเมืองในพม่าย่อมเป็นประโยชน์ต่อนโยบายปิดล้อมจีนของอเมริกา
ซึ่งจีนก็รู้ดี จึงค่อย ๆลดการลงทุนขนาดใหญ่ในพม่าลงมาตั้งแต่ปี 2011 นั่นคือหลังจากObamaประกาศนโยบาย
Pivot to Asia แม้แต่โครงการที่สร้างเสร็จและเปิดดำเนินการแล้วอย่างโครงการท่อส่งน้ำมันจากเมืองซิตส่วย
บนชายฝั่งอ่าวเบงกอลไปยังมณฑลยูนนานของจีนก็ยังหยุดดำเนินการ
ส่วนโครงการท่อส่งก๊าซที่เปิดดำเนินการแล้วก็ยังดำเนินการต่อไปในระดับที่ต่ำที่สุด
สำหรับโครงการอื่น ๆ เช่นโครงการสร้างเขื่อนสาละ วินและโครงการสร้างท่าเรือน้ำลึกนั้นจีนก็หยุดดำเนินการ
จนอองซานซูจีต้องไปเจรจาให้จีนมาช่วยดำเนิน การต่อไป
โกก้างตีโต้ 2015
ในช่วงเวลานับตั้งแต่ต้นปี 2011
เป็นต้นมากองทัพพม่าได้เพิ่มปฏิบัติการเข้าโจมตีพื้นที่ของกองกำลังชนชาติส่วนน้อยต่าง
ๆ ที่มีพื้นที่อยู่ติดพรมแดนจีนโดยเฉพาะ KIA และ SSA-เหนือ
นอกจากนี้ยังแสดงท่าทีข่มขู่ NDAA-เมืองลา อยู่เป็นระยะ ๆ
จนกระทั่งในเดือนกุมภาพันธ์ 2015 MNDAA-โกก้างจึงเปิดการรุกใหญ่ขึ้นในโกก้าง
แต่ไม่ประสบความสำเร็จเนื่องจากพม่าใช้ทหารถึง
3 กองพลและเครื่องบินปืนใหญ่จำนวนมากเข้าต้านยันในพื้นที่แคบ ๆ ของโกก้าง
จนเป็นไปได้ว่าการสู้รบขยายตัวออกไปทั่วรัฐฉานตะวัน ออก โดยมี UWSA-ว้า และ NDAA-เมืองลา เข้าร่วม นอกจากนี้ยังจะดึงจีนให้เข้ามาเผชิญหน้ากับพม่าโดยตรง ซึ่งในเวลานั้นฝ่ายต่าง ๆล้วนแต่ยังไม่มีความพร้อมทางการเมืองและการทหาร
การเผชิญหน้าทางการทหารกับพม่านั้น แม้จีนจะมีความเหนือกว่าแต่จะเป็นผลเสียทางการเมืองต่อจีนมากกว่า
เพราะโกก้างมีพื้นที่เล็กเกินไปที่จะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองในพม่าได้
ดังนั้น MNDAA-โกก้าง
จึงจำต้องประกาศยุติการรบแต่ฝ่ายเดียวในเดือนพฤษภาคมปีเดียวกัน เป็นที่สังเกตว่ากองทัพพม่าก็ไม่ได้ขยายผลการรบของตนออกไป
ซึ่งอาจเนื่องมาจากในเวลานั้นพม่าก็อาจเกรงว่าจะทำให้การรบมันขยายตัวไปในระดับที่ตนเองก็ยังไม่พร้อมที่จะรับมือได้และอาจจะดึงจีนให้เข้ามาแทรกแซง สถานการณ์ในโกก้างจึงได้ยุติลง
พื้นที่หลักของ MNDAA-โกก้าง UWSA-ว้า และ NDAA-เมืองลา ตามข้อตกลงหยุดยิงปี 1989
สามเหลี่ยมสาละวินตะวันออก
หรือรัฐฉานตะวันออก
ความสำเร็จของยุทธวิธีนุ่มนวล
อเมริกาเริ่มใช้ยุทธวิธีนุ่มนวล
–ใช้เงินแทนกระสุนค่อย ๆแทรกซึมและให้สินบนผู้นำทหารพม่ามาตั้งแต่ปี 2003 และค่อย ๆ แสดงผลตั้งแต่ปี 2009 จนสามารถทำให้เกิด Regime
Change ได้ในปี 2015 อองซานซูจี
เข้ากุมอำนาจแทนกองทัพทำให้ฐานะของจีนในพม่าตกอยู่เป็นฝ่ายถูกกระทำต้องล่าถอย
ในขณะที่ยุทธวิธีเหยี่ยว ในยุโรปและตะวันออกกลางล้มเหลวผลักดันให้รัสเซียกับจีนสามารถรวมตัวกันได้
และทำให้รัสเซียกลับเป็นฝ่ายกระทำในตะวันออกกลาง
เป็นผลให้อเมริกาต้องกลับมาทบทวนใหม่
จนเกิดการยกเลิกการปิดล้อมทางเศรษฐกิจต่อคิวบา และอิหร่าน ซึ่งสะท้อนให้เห็นผลกระทบจากความสำเร็จของแนวทางนุ่มนวลในพม่า
ซึ่งก็ย่อมคาดหมายได้ว่า
รัฐบาลอเมริกาภายหลังจากObamaก็จะดำเนินยุทธวิธี นุ่มนวลนี้เป็นหลัก
และเป้าหมายต่อไปก็คือ รัสเซีย และประเทศอื่น ๆ ที่อเมริกาจะเข้าครอบงำ
ในต้นเดือนตุลาคม 2016 อเมริกาประกาศยกเลิกบัญชีดำผู้นำกองทัพพม่าและผู้นำชนกลุ่มน้อยต่าง ๆ ที่เคยขึ้นบัญชีไว้ ซึ่งหมายความว่าบุคคลเหล่านี้สามารถที่จะมีบัญชีธนาคารและทำธุรกรรมในต่างประเทศได้อย่างเสรี ย่อมแสดงให้เห็นชัดเจนว่าอเมริกาตั้งใจจะใช้แนวทางเช่นนี้ไปจัดการแยกสลายอิทธิพลของกองทัพพม่าและกองกำลังของชนกลุ่มน้อยต่าง ๆ ที่นิยมจีน แล้วหันมารับใช้นโยบายการปิดล้อมและบ่อนทำลายจีนในลำดับต่อไป
อเมริกามีวิธีการที่จะให้สินบนบุคคลเป้าหมายโดยไม่ต้องจ่ายเงินโดยตรงจากกระเป๋าของตนเองที่ได้ผลมาแล้วในสมัยสงครามเวียดนาม โดยให้คนพวกนี้หารายได้เองจากการโกงรัฐบาลของตนเองหรือให้หารายได้เอง(ค้าของผิดกฎหมาย รวมทั้งยาเสพติด) โดยมีอเมริกาเป็นผู้ให้การคุ้มครองอยู่เบื้องหลัง ผลนี้เห็นได้ชัดเจนในโกก้าง ภายหลังจากที่กองทัพพม่าเข้ายึดครองแล้วในปี 2009 มีการปลูกฝิ่นเพิ่มขึ้นหลายเท่าตัวหลังจากที่เคยได้ถูกทำให้ยุติลงไปแล้วก่อนเดือนสิงหาคม 2009 ยาเสพติด โดยเฉพาะเฮโรอินเริ่มแพร่เข้าไปในพม่าส่วนใน และจีน รวมไปถึง เฮโรอินที่เพิ่มปริมาณมากขึ้นในประเทศไทย ที่เคยเป็นประตูเฮโรอินของโลก หากอเมริกาสามารถแยกสลายหรือเปลี่ยนกองกำลังชนกลุ่มน้อยที่นิยมจีนให้กลับ มานิยมตะวันตกได้ จีนก็จะประสบปัญหายาเสพติดจากพม่าในระดับที่ไม่เคยประสบมาก่อนอย่างแน่นอน
จุดประสงค์พื้นฐานของอเมริกาในการเข้าครอบงำพม่าก็คือ การปิดล้อมจีนจากทางใต้และขัดขวางไม่ให้จีนมีเสรีภาพในการเข้าสู่มหาสมุทรอินเดียผ่านพม่า แต่เมื่อจีนประกาศ One Belt, One Road แล้ว ปรากฏว่าพม่า ไม่ได้อยู่บนเส้นทางสายไหมเลย ไม่ว่าจะเป็นทางบก หรือทางทะเล ดังนั้นแม้อเมริกาจะได้พม่าเข้าไปอยู่ในเขตอิทธิพลของตนแล้วก็ยังไม่อาจบรรลุจุดประสงค์พื้นฐานของตนได้แม้แต่น้อย อเมริกาจึงต้องปรับเป้าหมายของตนใหม่ ให้พม่าเป็นหนามที่ทิ่มตำและบ่อนทำลายจีนในทางยุทธวิธี นั่นคือการเร่งทำลายพื้นที่กันชนตามชายแดนพม่า-จีน เพื่อใช้เป็นฐานในการก่อกวนบ่อนทำลายจีน
ดังนั้นในเดือนตุลาคม 2016 อเมริกาจึงประกาศยกเลิกบัญชีดำฯ ในขณะเดียวกันก็ให้กองทัพพม่าเพิ่มแรงกดดันไปที่ KIA-คะฉิ่นทางเหนือ และUWSA-ว้า ทางใต้ โดยเฉพาะพื้นที่ UWSA ที่อยู่ติดชายแดนไทย ที่มีกำลังอ่อนแอกว่าว้าทางเหนือ อยู่โดดเดี่ยวห่างไกลจากฐานที่มั่นหลักมาก และ กองกำลัง SSA-ฉานใต้ที่นิยมตะวันตกก็อาจเปลี่ยนจุดยืนมาอยู่ทางพม่า เพิ่มวงบีบ UWSA-ใต้ มากขึ้น ซึ่งเท่ากับว่าว้าใต้ถูกล้อมเอาไว้โดยสิ้นเชิง และขึ้นกับว่ากองทัพพม่าจะตัดสินใจเข้าโจมตีเมื่อใด ซึ่งอาจเป็นในช่วงต้นเดือนพฤศจิกายนนี้ ในขณะที่ทั่วโลกกำลงให้ความสนใจกับการเลือกตั้งอเมริกาเพื่อตัดโอกาสที่ UWSA จะเปิดการรุกใหญ่เข้ายึดรัฐฉานตะวันออกทั้งหมด
ปัญหาจึงอยู่ที่ว่า แม้พม่าไม่ได้เป็นจุดยุทธศาสตร์ของจีนตามเข็มมุ่ง One Belt, One Road จีนจะยอมให้ตนอยู่ในฐานะเป็นฝ่ายถูกกระทำในพม่าต่อไปหรือไม่? ถ้าไม่ รัฐฉานตะวันออกก็อาจจะกลายเป็นประเทศที่เกิดใหม่ขึ้นมาบนโลก และกลายเป็นฉนวนแม่โขง-สาละวิน(Mekong-Salween Corridor) เชื่อมต่อกับอาเซียนกับจีนในอนาคต โดยไม่จำเป็นต้องผ่านทะเลและพม่า
สำหรับอเมริกานั้น เมื่อพบว่าความสำเร็จพม่าไม่สามารถทำให้บรรลุยุทธสาสตร์หลักในการปิดล้อมจีนได้แล้ว รัฐบาลใหม่ของอเมริกาก็อาจจะลดความสำคัญกับนโยบายพม่าลงไป เหมือนกับเคยทำที่ปากีสถานหลังเข้ายึดครองอัฟกานิสถานได้แล้ว ทิ้งให้พม่าเป็นแค่เสี้ยนหนามที่ทิ่มแทงรบกวนจีนเท่านั้น
พม่าไม่ใช่จุดยุทธศาสตร์หลักของจีนอีกต่อไป
แต่จะเป็นหนามที่ทิ่มตำจีนในระยะยาว อย่างไรก็ดีมีข่าวว่าเมื่อปลายเดือนพฤศจิกายน
2016 ได้มีการเจรจากันระหว่างจีนกับพม่าที่เนปิดอว์
แต่ไม่มีรายละเอียดของการเจรจาปรากฏออกมา
วันที่ 10 ธันวาคม 2016 เฟสบุค果敢资讯网(กั่วกางจือซุ้นหวาง –
โกก้างเน็ตเวิร์ค) โพสตภาพ ขิ่นญุ้น โดยไม่มีคำอธิบาย
แต่ภาพนี้ก็สื่อความหมายเป็นนัยสำคัญ
นายพลขิ่นญุ้น
อดีตนายกรัฐมนตรีพม่าผู้ให้การสนับสนุนการปรองดองกับกองกำลังติดอาวุธชนชาติต่าง ๆ
ด้วยการยอมให้ก่อตั้งเขตปกครองตนเอง
ขอกล่าวถึงสิงคโปร์สักเล็กน้อยในฐานะที่มีบทบาทเอื้ออำนวยความสะดวกในการซื้อตัวผู้นำกองทัพพม่าให้มารับใช้นโยบายปิดล้อมจีนในพม่าของอเมริกา
และแสดงจุดยืนเข้าข้างอเมริกาในปัญหาข้อพิพาททะเลจีนใต้
ไม่เพียงเท่านั้นจีนยังพบว่าสิงคโปร์ยังมีบทบาทในการอำนวยความสะดวกให้เจ้าหน้าที่ระดับ
สูงของจีนในมณฑลกวางตุ้ง แอบย้ายครอบครัวมาอาศัยอยู่ในสิงคโปร์ ในขณะที่เจ้าตัวยังทำงานอยู่ในประเทศจีน การค้นพบนี้ทำให้สีจิ้งผิงประกาศการรณรงค์ปราบปรามคอร์รัปชั่นภายในพรรคคอมมิวนิสต์จีน
ในต้นปี 2013 เป็นผลทันทีทำให้เหน้าที่ระดับสูงของพรรคและรัฐบาลในมณฑลกวางตุ้ง
800 กว่าคนถูกจับกุมกำเนินคดี และในเวลาไล่เลี่ยกันจีนก็ประกาศเข็มมุ่ง One
Belt, One Road ที่จะเป็นการตอบแทนสิงคโปร์ได้อย่างสาสมในตอนท้าย
6. ฟิลิปปินส์
ภายใต้ Pivot to Asia อเมริกาได้ใช้ให้ฟิลิปปินส์เป็นหัวหอกสร้างความขัดแย้งและความตึงเครียดกับจีนในปัญหาข้อพิพาทในทะเลจีนใต้
ทำให้อเมริกาใช้เป็นข้ออ้างในการแสดงอำนาจทางทะเลกดดันจีน ด้วยประเด็นFreedom
of Navigation สร้างความชอบธรรมในการสำแดงกำลังทางทหารในทะเลจีนใต้
เพื่อรบกวนเส้นทางขนส่งทางทะเลของจีน และสร้างแนวปิดล้อมจีนในแปซิฟิกตะวันตกขึ้น
นอกจากนี้ยังใช้ประเด็นนี้เรียกร้องให้พันธมิตรแสดงจุดยืนมาสนับสนุนตน
ทำการท้าทายจีนโดยส่งเรือรบและเครื่องบินรบเข้าไปในพื้นที่จีนอ้างอธิปไตย
เพื่อล่อให้จีนตอบโต้ทางทหารซึ่งอเมริกาจะใช้โอกาสนี้ก่อสงครามทำลาย กำลังทางเรือของจีนลงเสียและบังคับให้จีนยอมรับเงื่อนไขของอเมริกา
จีนตีล่อ ลั่นฆ้อง
ในขณะเดียวกันจีนก็ประโคมข่าวแสดงความชอบธรรมของจีนเหนือพื้นที่พิพาทในทะเลจีนใต้ ก่อตั้งเขตปกครองซานซา มณฑลไห่หนาน (海南省三沙市) ขึ้นในปี2012ครอบคลุมพื้นที่หมู่เกาะปะการังและหินโสโครกในทะเลจีนใต้ที่จีนอ้างสิทธิ์ เร่งปฏิบัติการสร้างเกาะเทียม
สนามบินและสถานีตรวจการณ์ตลอด จนส่งเรือรบและเครื่องบินไปลาดตระเวนในพื้นที่ดังกล่าว
เร่งขยายกองเรือ และซ้อมรบทางทะเล จนดูประหนึ่งว่า
จีนพร้อมที่จะใช้กำลังในการปกป้องอธิปไตยของตน ปฏิเสธคำวินิจฉัยของคณะอนุญาโตตุ ตุลาการระหว่างประเทศในการตีความ
ความหมายคำว่า “เกาะ” ใหม่ให้เป็นไปตามคำร้องของฟิลิปปินส์
อเมริกาก็แสดงท่าว่าเร่งระดมกองเรือรบให้เข้ามาในพื้นที่ทะเลจีนใต้
โดยมีความเชื่อมั่นว่าตนมีกำลังทางเรือที่เหนือกว่าจีน และจะสามารถเอาชนะจีนได้อย่างรวดเร็ว
แล้วส่งเรือรบเข้าไปในพื้นที่พิพาทโดยอ้าง Freedom of Navigation ที่เรือรบอเมริกาจะสามารถไปอวดธงที่ไหนก็ได้ในโลก
เพื่อยั่วยุจีน แม้จีนจะแสดงท่าทีเคลื่อนไหวทางทหารนอกพื้นที่พิพาท
แต่ก็ทำได้แต่ประท้วง ซึ่งยิ่งทำให้อเมริกาได้ใจและยั่วยุจีนอีกหลายครั้ง
พื้นที่ทะเลจีนใต้ที่จีนอ้างอธิปไตยแม้มีพื้นที่กว้างขวางแต่เต็มไปด้วยแก่งหินโสโครก ยากต่อการเดินเรือ ดังนั้นเส้นทางเดินเรือทั้งหมดจึงเลือกไปใช้การเดินเรือเลียบฝั่งเวียดนามแทน การเอากองเรือรบเข้าไปในพื้นที่นั้นก็เหมือนเดินเข้าไปในเขาวงกต ไม่สะดวกในการแปรขบวนได้อย่างอิสระเสรี นอกจากนี้ก็ยังตกเป็นเป้าซุ่มโจมตีจากเรือดำน้ำได้ง่าย Freedom of Navigation จึงถูกจำกัดลงไปเป็นอย่างมากซึ่งอเมริกาก็รู้เรื่องนี้เป็นอย่างดี จึงได้แต่นำเรือรบไปเคลื่อนไหวในพื้นที่ขอบนอกแทน
อเมริกาได้ใช้อิทธิพลชักจูงให้ฟิลิปปินส์ ยกเลิกข้อตกลงกับจีนในการแก้ปัญหากรณีพิพาทในทะเลจีนใต้ด้วยการเจรจาทวิภาคีที่ทำไว้เมื่อปี 2012 อย่างทันทีทันใด ฟิลิปปินส์แสดงท่าทีแข็งกร้าวในดรณีพิพาท จนทำให้จีนยกเลิกความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจกับฟิลิปปินส์ และจัดตั้งเขตปกครองขึ้นในทะเลจีนใต้ (ซานซา เร่งการสร้างเกาะเทียมและสนามบินขึ้นในพื้นที่พิพาท และแสดงท่าทีว่าจะตอบโต้การละเมิดเขตอธิปไตยของจีนในทะเลจีนใต้
No comments:
Post a Comment