ตอนสุดท้าย
9. ปิดท้าย
Pivot to Asia เป็นแผนการที่เรียกสวยหรูว่า
Rebalancing Policy for the New World Orderหรือนโยบายที่จะจัดความสัมพันธ์เพื่อระเบียบโลกใหม่
(ของอเมริกา โดยอเมริกา และเพื่ออเมริกา) ที่มีเนื้อแท้เป็น
แผนการปิดล้อมและควบคุมจีนของอเมริกา นั่นเอง ในที่นี้หมายถึง
การย้ายจุดหนักจากแนวทางการทูตมาสู่แนวทางการทหาร, ในทางพื้นที่ หมายถึง
ย้ายจากจุดอิทธิพลที่อเมริกามีอยู่เดิมในยุโรปและตะวันออกกลาง
มาสู่เอเชียในพื้นที่เล็ก ๆ ที่เรียกว่าทะเลจีนใต้และช่องแคบมะละกา, ในทางเวลา
หมายถึง จาก อย่างค่อยเป็นค่อยไป มาสู่ อย่างรวดเร็วฉับพลัน ครั้งเดียว
โดยสรุปPivot to Asia มีความหมายว่า อเมริกาจะมุ่งตัดสินปัญหาความขัดแย้งทั้งหลายทั้งปวงกับจีน ด้วยการทำสงครามทางทะเลที่มีชอบเขตจำกัด (ไม่ขยายไปสู่สงครามนิวเคลียร์) ด้วยการเข้าควบคุมปิดช่องแคบมะละกา และล่อกองทัพเรือจีนที่อเมริกาเชื่อว่ามีความอ่อนด้อยกว่าอเมริกาทั้งในเชิงปริมาณและคุณภาพ ให้ออกมาปกป้องอธิปไตยเหนือหมู่เกาะปะการังและหินโสโครกในทะเลจีนใต้ เพื่อที่อเมริกาจะได้ทำลายเสียในครั้งเดียวด้วยกำลังทางเรือที่อเมริกาวางกำลังซุ่มอยู่ในแปซิฟิกตะวันออก ซึ่งจะมีผลบังคับให้จีนต้องยอมเจรจาภายใต้เงื่อนไขที่อเมริกาเป็นผู้กำหนด เหมือนกับที่ญี่ปุ่นกระทำกับจีนในสนธิสัญญาชิโมโนเซกิ ปี 1895
เพื่อที่จะให้แผนการนี้เกิดขึ้นเป็นจริงอเมริกาโดยกระทรวงกลาโหมจึงต้องเคลื่อนย้ายกำลังทั้งปวงมารวมศูนย์ไว้ในบริเวณมหาสมุทรแปซิฟิก ในขณะที่มอบหมายกระทรวงการต่างประเทศให้การสนับสนุนส่งเสริมบทบาทของ NATO ในยุโรปควบคุมรัสเซีย และซาอุดิอาระเบียรวมทั้งกลุ่มพันธมิตรอาหรับ เข้ามีบทบาทในตะวันออกกลางควบคุมอิหร่าน อย่างไรก็ดีอเมริกาโดยกระทรวงกลาโหมก็ได้วางกำลังจำนวนมากไว้ในอัฟกานิสถานตอนเหนือ และให้ NATO วางกำลังทหารไว้ในอัฟกานิสถานตอนใต้ เป็นลิ่มชี้ไปทางเอเชียกลาง
บทบาทของ Obama ในอินเดียและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นเพียงการแสดงสร้างภาพทางการเมืองที่ทำให้อเมริกาเป็นเหมือนผู้นำฝ่ายประชาธิปไตยที่ปรารถนาสันติภาพเท่านั้น เพื่อคานบทบาทของจีนในภูมิภาคนี้ โดยให้ความหวังลม ๆ แล้ง ๆ แก่อินเดีย และไม่ได้ให้การสนับสนุนทางวัตถุที่เป็นกอบเป็นกำใด ๆ แก่ประเทศอาเซียนอย่างจริงจัง จนกระทั่งObama ได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพคู่กับอองซานซูจี
แม้กระทั่งการสนับสนุนให้ฟิลิปปินส์
ทำการต่อต้านจีน นำเรื่องกรณีพิพาทดินแดนในทะเลจีนใต้กับจีน ยื่นต่อ
คณะอนุยาโตตุลาการระหว่างประเทศ
เพื่อสร้างความชอบธรรมให้แก่การแทรกแซงของอเมริกาเมื่อถึงเวลา
โดยที่อเมริกาไม่ได้ตอบแทนฟิลิปปินส์เท่าที่ควรนอกจากความช่วยเหลือทางทหารในรูปของการฝึกและเรือรบเก่าไม่กี่ลำ
เนื่องจากอเมริกาไม่ได้ตั้งใจที่จะให้ฟิลิปปินส์หรือประเทศใด ๆ
มีส่วนโดยตรงในแผนการทำลายกองทัพเรือจีน
และแล้วการถอนความสนใจหลักออกจากยุโรปและตะวันออกกลาง ส่งผลให้รัสเซียต้องไปร่วมมือกับจีน ซึ่งถือว่า ทำให้ ความพยายามแยกรัสเซียออกจากจีนที่อเมริกาทำมาครึ่งศตวรรษ ต้องล้มครึนลงในชั่วพริบตา การเข้าส่งออกประชาธิปไตยของ NATO ฝ่ายตุรกีเข้าไปในซีเรียก่อให้เกิดสงครามกลางเมืองซีเรีย และการขยายอิทธิพลของซาอุดิอาระเบียเข้าไปสู่อิรักและซีเรียไปคานอิทธิพลอิหร่านกลายเป็นการส่งออลัทธิวาหะบี และลัทธิก่อการร้าย กลายเป็นขบวนการ ISIS คุกคามอิทธิพลของอเมริกาในอิรักเสียเองทำให้อเมริกาถอนตัวออกจากตะวันออกกลางไม่ได้ ยิ่งไปกว่านั้นซาอุดิอาระเบียยังเปิดศึก 2 ด้าน ก่อสงครามโจมตีเยเมนโดยพลการ การสร้างสงครามกลางเมืองในซีเรีย โดย NATO และซาอุดิอาระเบียนี่เองทำให้ อัสซาด ๆม่มีทางเลือกต้องขอให้รัสเซียเข้ามาช่วยรัสเซียจึงมีทางออกแหกวงล้อมNATO ในยุโรปเปิดการรุกที่ช่องว่างปลายปีกทั้ง 2 ข้างของอเมริกาที่ซีเรีย (ปลายปีกด้านหนึ่งของอเมริกาคือ NATO ในซีเรีย และปลายปีกอีกด้านหนึ่งของอเมริกา คือ ซาอุดิอาระเบีย ที่ปลายปีกทั้ง 2 ข้างใกล้บรรจบกันพอดีที่ซีเรีย ในขณะที่ตัวตรงกลางและหัวของอเมริกาอยู่ที่ ทะเลจีนใต้) อเมริกาจึงทำอะไรไม่ได้เพียงเท่านี้Pivot to Asia ก็ล้มลงโดยพื้นฐานแล้ว
ในขณะเดียวกันจีนก็เปิดเข็มมุ่งOne Belt, One Road ล่ออเมริกาให้เคลื่อนกำลังเกือบทังหมดไปรวมศูนย์ไว้ที่ทะเลจีนใต้โดยหวังที่จะทำลายทัพเรือจีนและปิดช่องแคบมะละกาในการรบณจุดเดียวและครั้งเดียวเหมือนกับคราวที่ญี่ปุ่นทำลายกองทัพเรือจีนในทะเลเหลืองในการรบที่ปากแม่น้ำยาลูในทะเลเหลืองเมื่อวัน 17 กันยายน 1894ส่งผลให้จีนพ่ายแพ้ญี่ปุ่นในสงครามจีน-ญี่ปุ่นครั้งที่ 1 (สิงหาคม 1894 – เมษายน 1895) บังคับให้จีนต้องลงนามในสนธิสัญญาชิโมโนเซกิเมื่อวันที่ 17 เมษายน 1895 สูญเสียเกาหลีและไต้หวันพร้อมกับต้องจ่ายค่าปรับสงครามเป็นจำนวนมหาศาลให้ญี่ปุ่นPivot to Asia ในปี 2013 ของอเมริกาก็มีเป้าหมายคล้ายคลึงกัน
เมื่อเริ่มต้นPivot to Asia อเมริกาก็ได้ผลักให้รัสเซียไปร่วมมือกับจนในขณะที่Obama ป้วนเปี้ยนอยูในเอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้Kerry กำลังหัวปั่นวิ่งวุ่นอยู่ในยุโรปและตะวันออกกลางและCarter กำลังจดจ่ออยู่ที่ทะเลจีนใต้One Road ของจีนก็บรรลุข้อตกลงทางการค้าพลังงานและการพัฒนาระบบสาธารณูประโภคการขนส่งและการทหารกับรัสเซียอิหร่านและประเทศเอเชียกลางและจีนก็ได้ระดมทรัพยากรทั้งหมด ไปรวมศูนย์และกระจายอยู่ในเอเชียกลาง อย่างเงียบ ๆ
จนกระทั่งมีข่าวว่า
“จีนได้เริ่มเดินรถไฟขนส่งสินค้าขบวนแรกไปยังกรุงลอนดอนสหราชอาณาจักรแล้วเมื่อวันที่
1 มกราคม 2017”ข่าวนี้หมายความว่าอย่างไร... หมายความว่า
เข็มมุ่ง One Road ของจีนได้บรรลุเป้าหมายโดยพื้นฐานแล้ว
ทำให้การขนส่งสินค้าบนเส้นทางสายไหมใหม่เป็นไปได้และเกิดขึ้นเป็นจริงเรียบร้อยแล้ว
จีนบรรลุหลักประกันการเคลื่อนที่ทางบกในยูเรเชีย
ก่อนหน้านี้ ก็มีข่าวสำคัญ คือ
ก่อนหน้านี้ ก็มีข่าวสำคัญ คือ
วันที่ 15 สิงหาคม 2016
จีนส่งดาวเทียมสื่อสารระบบควันตัม(Quantum
Experiments at Space Scale – QUESS) ขึ้นสู่วงโคจร
เทคโนโลยีการสื่อสารระบบควันตัมนี้
จะทำให้ไม่มีใครสามารถดักการฟังและถอดรหัสการสื่อสารของจีนได้
วันที่ 16 ตุลาคม 2016 จีนส่งมนุษย์อวกาศ 2 นายไปปฏิบัติงานในในสถานีอวกาศ
Tiangong-2 และมนุษย์อวกาศทั้ง 2
นายสามารถกลับลงมาสู่โลกอย่างปลอดภัย เมื่อวันที่ 18พฤศจิกายน 2016
หลังจากอยู่ในอวกาศเป็นเวลา 32 วัน ในระหว่างนั้นมีการถ่ายทอดสดสภาพของมนุษย์อวกาศ
เป็นระยะ แต่ไม่มีเสียง และมีข่าวว่า NASA ไม่สามารถตรวจจับการสื่อสารใด
ๆ จากสถานีอวกาศ Tiangong-2 ได้เลยนอกจากสัญญาณที่จีนต้องการจะให้จับได้
ในวันที่ 16 ธันวาคม 2016
มีข่าวว่าเรือจีนจับยานโดรนใต้น้ำของอเมริกาได้ในทะเลจีนใต้
โครงการโดรนใต้น้ำของอเมริกานี้
เป็นโครงการลับสุดยอดที่อเมริกาใช้เงินนับหมื่นล้านดอลลาร์ในการพัฒนา
เป็นเทคโนโลยีขั้นสูงสุดของกองทัพเรืออเมริกา มีคำถามว่า
จีนใช้เทคนิคอะไรที่จะสามารถจับโดรนใต้นำของอเมริกาได้
ทั้ง 3 ข่าวเป็นเพียงตัวอย่าง
ที่บอกใบ้ให้อเมริการู้ถึง สมรรถภาพทา
งการทหารของจีน
ซึ่งอเมริกาจะต้องชั่งใจให้ดีก่อนตัดสินใจก่อสงครามกับจีน ...
จบบริบูรณ์
บันทึกท้ายเล่ม
ฐานะการเป็นฝ่ายกระทำและฝ่ายถูกกระทำ
นี่เป็นหัวข้อยุทธศาสตร์ที่สำคัญที่สุด ที่มีผลต่อการปฏิวัติ
รวมไปถึงการแก้ปัญหาประจำวันในชีวิตส่วนตัวของปัจเจกบุคคล
ไปถึงระดับยุทธวิธี ทั้งในทางการเมืองและการทหาร ในทางประวัติศาสตร์
พลังการผลิตของมนุษย์ที่ก้าวหน้ามาจนทุกวันนี้ ก็เกิดจากความต้องการที่มนุษย์จะเป็นฝ่ายกระทำต่อธรรมชาติ
ในขณะที่ต้องทนเป็นฝ่ายถูกการกระทำจากธรรมชาติตลอดมา
เป็นธรรมดาของกฎความขัดแย้ง ที่มี ๒
ด้านที่ตรงกันข้ามกันดำเนินความสัมพันธ์กันทั้งที่เป็นแบบปฏิพัทธ์ (เกื้อกูลกัน)
หรือแบบปฏิปักษ์ (ต่อสู้กัน) ณ ขณะหนึ่ง ๆ ด้านหนึ่งจะดำรงเป็นด้านหลักและอีกด้านหนึ่งเป็นด้านรองเสมอ
ด้านหลักจะเป็นผู้กำหนดความเป็นไปของด้านรอง ภาวะนี้เรียกว่า “ฝ่ายกระทำ”
ส่วนด้านรองที่ถูกกำหนดโดยด้านหลักเรียกว่า “ฝ่ายถูกกระทำ”(โปรดอ่าน “ว่าด้วยความขัดแย้ง”
ในสรรนิพนธ์เหมาเจอตุง เล็มที่ ๑ ตอนปลาย)
ฝ่ายกระทำมีเสรีภาพสามารถกำหนดให้ฝ่ายถูกกระทำเคลื่อนไหวไปตามความต้องการของตนได้
เช่นเราต้อนควายไปเลี้ยงในทุ่งหญ้า เราเป็นฝ่ายกระทำ และควายเป็นผู้ถูกกระทำ
แต่เมื่อควายเตลิดหนีไปทุ่งอื่นเราต้องตามไปต้อนควายกลับมา ในเวลาเช่นนี้
ควายเป็นผู้กระทำ บังคับให้เราต้องไล่ติดตามควายไป ตอนนี้ เราเป็นผู้ถูกกระทำ
อย่างไรก็ตามในสภาพทั่วไป
เราก็ยังเป็นฝ่ายกระทำอยู่แต่สูญเสียความเป็นฝ่ายกระทำไปชั่วคราวเท่านั้น
ปัจจัยของความเป็นฝ่ายกระทำก็คือ เสรีภาพที่จะกระทำหรือไม่กระทำการใด ๆ
ในความสัมพันธ์กับฝ่ายตรงกันข้าม นั่นคือ เสรีภาพในการเคลื่อนไหวตามอำเภอใจของเราและในขณะเดียวกันก็มีอิทธิพลอำนาจกำหนดให้ฝ่ายตรงกันข้ามเคลื่อนไหวไปตามที่เราต้องการ
เส้นแบ่งระหว่างความเป็น “ฝ่ายกระทำ” กับ “ฝ่ายถูกกระทำ” นั้นบางมาก
ด้านที่ฝ่ายกระทำ อาจเปลี่ยนไปเป็นฝ่ายถูกกระทำ ได้ในชั่วพริบตา หากค้านนั้นสูญเสียความสามารถในการยึดกุมเงื่อนไขปัจจัยในการเป็นฝ่ายกระทำของตนไปแม้เพียงชั่วพริบตา
ในขณะเดียวกันในด้านที่เป็นฝ่ายถูกกระทำ
ก็สามารถช่วงชิงเงื่อนไขปัจจัยในการเป็นฝ่ายกระทำมาได้ในชั่วพริบตานั้นมาเป็นของตนได้ก็จะกลายเป็นฝ่ายกระทำไปในทันที
ภาวะเช่นนี้เรียกว่า “จุดพลิกผัน”
“จุดพลิกผัน” นี้ไม่ได้เกิดขึ้นมาลอย ๆ
แต่เป็นจุดที่ฝ่ายถูกกระทำใช้ความพยายามไปช่วงชิง
เงื่อนไขปัจจัยในการเป็นฝ่ายกระทำมาได้
การเป็นฝ่ายกระทำ มีได้ทั้งในทางการเมืองและการทหาร
โดยทางประวัติศาสตร์และยุทธศาสตร์แล้วฝ่ายปฏิวัติเป็นฝ่ายประทำ และฝ่ายปฏิกิริยาเป็นฝ่ายถูกกระทำ
แต่ในระยะผ่านทางประวัติศาสตร์นี้
ฝ่ายปฏิวัติและฝ่ายปฏิกิริยาผลัดเปลี่ยนกันเป็นฝ่ายกระทำกันไปมา
โดยเฉพาะในตอนเริ่มแรกของการปฏิวัติ
ชนชั้นปกครองปฏิกิริยาได้กระทำการกดขี่ต่อประชาชนผู้ถูกปกครอง
ฝ่ายปฏิกิริยาเป็นฝ่ายกระทำ จนทำให้เกิดการต่อต้านการกดขี่ของผู้ปกครองโดยประชาชน
ตอนนี้ฝ่ายประชาชนกลับเป็นฝ่ายกระทำ
จากนั้นฝ่ายผู้ปกครองก็ปราบปรามการต่อต้านของประชาชน
ผู้ปกครองเป็นฝ่ายกระทำ ..... จนกระทั่งถึงเกิดสงครามปฏิวัติของประชาชน
ฝ่ายปฏิวัติจึงเป็นฝ่ายกระทำ จนการปฏิวัติได้รับชัยชนะ ผู้ปกครองถูกกระทำจนต้องถูกโค่นล้มออกไป
นี่เป็นท่วงทำนองประวัติศาสตร์ ตลอดระยะประวัติศาสตร์
ประชาชนผู้ถูกกดขี่จะตอบโต้และพลิกสถานการณ์เป็นฝ่ายกระทำในที่สุดเสมอ
เมือในทางประวัติศาสตร์ และทางยุทธศาสตร์ ฝ่ายปฏิวัติเป็นฝ่ายผู้กระทำ
ปัญหาแท้จริงกลับมาเป็นในทางยุทธวิธี
ที่มักก่อความเสียหายที่ไม่จำเป็นต่อฝ่ายปฏิวัติ
เนื่องจากไม่สามารถยึดกุมยุทธศาสตร์การเป็นฝ่ายกระทำไปใช้ได้
ซึ่งอาจเนื่องมาจากไม่มีวิธีคิด ไม่มีความสันทัดจัดเจน หรือไม่มีอะไรเลย
แม้มีดุลกำลังเหนือกว่า เป็นฝ่ายกระทำตั้งแต่เริ่มต้น ในตอนท้ายก็มักตกอยู่ในสภาพฝ่ายถูกกระทำเสมอ
อเมริกาเป็นตัวอย่างของการไม่มีวิธีคิด ไม่ว่าในเวียดนาม อัฟกานิสถาน
และอิรัก เริ่มเป็นฝ่ายกระทำ รุกเข้าไปยึดได้แล้ว
แต่แล้วในที่สุดก็ตั้งรับรอแต่การโจมตีของข้าศึก ตกเป็นฝ่ายถูกกระทำ
ข้าศึกมีเสรีภาพในการเคลื่อนไหว และเลือกรบกับฝ่ายอเมริกาในเวลาและสถานที่ที่ตนเองได้เปรียบที่สุด
และไม่ยอมทำตามที่อเมริกาต้องการ ไม่ยอมรบในสนามรบที่อเมริกากำหนด
ที่จะทำให้ตนสูญเสียฐานะการเป็นฝ่ายกระทำไป
โดยพื้นฐานแล้ว การเป็นฝ่ายกระทำ สัมพันธ์กับ การเคลื่อนที่
เมื่อหยุดการเคลื่อนที่ โอกาสที่จะเป็นฝ่ายกระทำ ก็น้อยลง
เว้นแต่ฝ่ายเราจะมีดุลกำลังเหนือกว่าศัตรู และตั้งใจที่จะล่อศัตรูให้เข้ามาโจมตี
ในพื้นที่ตั้งรับที่เราได้ตระเตรียมไว้แล้ว ตัวอย่างก็คือ การยุทธ์ที่เคอร์สค(Battle of Kursk) ในสงครามโลกครั้งที่
๒ ในรัสเซีย เมื่อเดือนกรกฎาคม ๑๙๔๓ ที่รัสเซียล่อให้เยอรมันเข้าโจมตีแนวตั้งรับที่เตรียมเอาไว้อย่างดี
เมื่อเยอรมันอ่อนกำลงลงแล้ว จึงใช้กำลังตีโอบปีกทั้ง ๒ ข้างของเยอรมัน
บังคับให้เยอรมันต้องถอยไป ๆ ไกลถึง เบลโลรัสเซียใกล้ชายแดนโปแลนด์ อันเป็นจุดที่
เยอรมัน เริ่มต้นรุกรานรัสเซียในปี ๑๙๔๑ การพ่ายแพ้ที่เคอร์สค ทำให้เยอรมันหมดกำลังจนไม่สามารถทำการรุกโต้ได้อีกในแนวรบตะวันออก
หมดสภาพและความสามารถการเป็นฝ่ายกระทำลงโดยสิ้นเชิง และพ่ายแพ้สงครามในที่สุด
แต่โดยทั่วไป การเป็นฝ่ายกระทำ สัมพันธ์กับ การเคลื่อนที่
การหยุดนิ่งอยู่กับที่ ยอมกลายเป็นเป้าให้ถูกกระทำได้ง่าย หมดความสามารถที่จะเป็นฝ่ายกระทำ จักรพรรดินิยม
และพวกปฏิกิริยามีพลังอำนาจสามารถเป็นฝ่ายกระทำในความขัดแย้งใด ๆ อย่างเช่นอเมริกา
ไม่มีวิธีคิดอย่างนี้ ไม่เข้าใจยุทธศาสตร์การเป็นฝ่ายกระทำ ทุก ๆ
สงครามที่อเมริกาเข้าไปยุ่งเกี่ยว ก็เริ่มต้นจากการเป็นฝ่ายกระทำ แล้วในที่สุดก็จบลงด้วยกลายเป็นฝ่ายถูกกระทำ
เห็นได้ว่าอมริกาเป็นฝ่ายกระทำในขณะทำการรุก เมื่อการรบยุติลง
อเมริกาก็หยุดเคลื่อนที่ แล้วยึดพื้นที่ตั้งรับ ในทางทหารก็ถือว่าเป็นปรกติ
แต่ตามทรรศนะวิทยาศาสตร์ เห็นว่าการเมืองกับการทหารเป็นเรื่องเดียวกัน
เป็นกระบวนการเชื่อมต่อกัน เมื่อยุติการรบลง ก็ต้องเริ่มงานการเมือง
อเมริกามีทรรศนะด้านเดียวไม่ทำการรุกต่อทางการเมือง
เพื่อรักษาการเป็นฝ่ายกระทำของตนเอาไว้
การรุกทางการเมืองนี้เราหมายความว่า “การสร้างมิตร”
แต่อเมริกากลับทำในทางตรงกันข้ามคือ “สร้างศัตรู” ปฏิบัติการปราบปรามพลเมืองในพื้นที่ยึดครองอย่างโหดร้าย.
การกระทำของอเมริกากลับเลวร้ายยิ่งกว่าผู้ปกครองเดิมเสียอีก
จักรพรรดินิยมและพวกปฏิกิริยามองเห็นว่าประชาชนเป็นศัตรูไปหมด
และพบว่าตัวเองถูกศัตรูล้อมเอาไว้ทุกด้าน จึงกลายเป็นฝ่ายถูกกระทำไปโดยปริยาย
สิ่งนี้เกิดขึ้นใน เกาหลี เวียดนาม อัฟกานิสถาน และอิรัก
ที่ในที่สุดจักรพรรดินิยมต้องพ่ายแพ้ในทุกสงคราม
นี่คือตัวอย่างหนึ่งของการไม่มีวิธีคิดที่ถูกต้อง ไม่เข้าใจเรื่อง การเป็น
“ฝ่ายกระทำ” และการเป็น “ฝ่ายถูกกระทำ” ที่สัมพันธ์กับ “การเคลื่อนที่” และ “การหยุดอยู่กับที่”
รวมทั้งความเชื่อมต่อกันของ การทหารและการเมือง
อ่านเพิ่มเติมในข้อ (๗๘) - (๙๐),ความเป็นฝ่ายกระทำ ความพลิกแพลง
และความมีแผนการ,“ว่าด้วยสงครามยืดเยื้อ”, สรรนิพนธ์เหมาเจ๋อตุง เล่ม ๒ ตอนต้น.
ซึ่งนำมาบรรจุไว้เป็น ภาคผนวก ต่อท้ายหมายเหตุท้ายบท หน้า 57
[2] ความสามารถใน“การระดมเคลื่อนที่รวมศูนย์และกระจาย”ทรัพยากรได้อย่างรวดเร็วเป็นเป็นความสามารถเฉพาะและพิเศษของจีน
ที่พัฒนามาตั้งแต่สงครามปฏิวัติจีน (ปี 1927-1949)
ที่เหมาเจ๋อตุงได้ให้ความสำคัญเป็นยุทธวิธีในการรบสงครามเคลื่อนที่
หลักการทางยุทธวิธีนี้ ได้พัฒนาไปเป็นยุทธศาสตร์ด้านต่าง ๆ ของจีนในปัจจุบัน
ที่ส่งผลให้จีนก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานเส้นทางคมนาคมอย่างขนานใหญ่ต่าง ๆ
ทั่วประเทศอย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นที่ไหนมาก่อนในโลก เพื่อเอื้ออำนวยให้
ความสามารถใน “การเคลื่อนที่-รวมศูนย์-กระจาย” มีประสิทธิภาพสูงสุด
[3]“ความไม่เชื่อมต่อกันของการเมืองกับการทหาร” เหมาเจ๋อตุงกล่าวถึงความสัมพันธ์ระหว่างการเมืองกับการทหาร
ไว้ในหัวข้อ สงครามกับการเมืองในนิพนธ์เหมาเจ๋อตุง “ว่าด้วยสงครามยืดเยื้อ”
(พฤษภาคม ๑๙๓๘), สรรนิพนธ์เหมาเจ๋อตุง เล่ม ๒ ตอนต้น:
สงครามกับการเมือง
(๖๓) “สงครามคือการต่อเนื่องของการเมือง”เมื่อกล่าวในแง่นี้แล้วสงครามก็คือการเมืองและตัวสงครามเองก็คือการปฏิบัติการที่มีลักษณะการเมือง.ตั้งแต่โบราณกาลเป็นต้นมา
ไม่มีสงครามใด
ๆเลยที่ไม่มีลักษณะการเมืองติดอยู่.สงครามต่อต้านญี่ปุ่นเป็นสงครามปฏิวัติของทั้งประชาชาติชัยชนะของสงครามนี้มิอาจแยกออกจากจุดมุ่งหมายทางการเมืองของสงคราม—ขับไล่จักรพรรดินิยมญี่ปุ่นออกไปและสถาปนาประเทศจีนใหม่ที่มีอิสรภาพและความเสมอภาคมิอาจแยกออกจากเข็มมุ่งทั่วไปที่ให้ยืนหยัดในสงครามต่อต้านและยืนหยัดในแนวร่วม
มิอาจแยกออกจากการระดมประชาชนทั่วประเทศ,มิอาจแยกออกจากหลักการการเมืองต่าง
ๆอาทิการให้นายทหารกับพลทหารเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันการให้กองทัพกับประชาชนเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันและการทำให้กองทหารข้าศึกแตกสลายมิอาจแยกออกจากการปฏิบัติตามแนวนโยบายแนวร่วมเป็นอย่างดีมิอาจแยกออกจากการระดมทางวัฒนธรรม,มิอาจแยกออกจากความพยายามในการช่วงชิงการช่วยเหลือของพลังทางสากลและของประชาชนในประเทศคู่อริ.
พูดสั้น ๆ
ก็คือสงครามนั้นจะแยกออกจากการเมืองไม่ได้แม้สักขณะเดียว.ในหมู่ทหารต่อต้านญี่ปุ่นถ้ามีความโน้มเอียงที่ดูเบาการเมืองโดยถือว่าสงครามเป็นสิ่งโดดเดี่ยวจนกลายเป็นพวกสัมบูรณ์นิยมในสงครามแล้ว
ก็เป็นการผิด ควรที่จะแก้เสีย.
(๖๔) แต่ว่า
สงครามก็มีลักษณะพิเศษของมันเองเมื่อกล่าวในแง่นี้แล้ว
สงครามก็มิใช่ว่าจะเท่ากับการเมืองทั่ว ๆ ไป.“สงครามคือการต่อเนื่องของการเมืองด้วยวิธีการพิเศษ”.เมื่อการเมืองคลี่คลายถึงขั้นที่แน่นอนขั้นหนึ่งไม่สามารถจะรุดหน้าต่อไปเช่นเดิมได้อีกแล้ว
ก็ระเบิดเป็นสงครามขึ้นเพื่อขจัดอุปสรรคบนเส้นทางการเมืองให้หมดไป.
เป็นต้นว่าฐานะกึ่งเอกราชของประเทศจีนเป็นอุปสรรคในการคลี่คลายทางการเมืองของจักรพรรดินิยมญี่ปุ่น
ญี่ปุ่นต้องการจะขจัดอุปสรรคนี้ออกไปฉะนั้นจึงได้ก่อสงครามรุกรานขึ้น.
ส่วนประเทศจีนการกดขี่ของจักรพรรดินิยมเป็นอุปสรรคของการปฏิวัติประชาธิปไตยชนชั้นนายทุนของจีนมานานแล้ว,ฉะนั้นจึงได้มีสงครามปลดแอกเกิดขึ้นหลายต่อหลายครั้งด้วยความพยายามที่จะขจัดอุปสรรคนี้ไปเสีย.
ขณะนี้ญี่ปุ่นใช้สงครามมากดขี่หมายจะมาตัดเส้นทางที่แล่นไปสู่การปฏิวัติของจีนให้ขาดสะบั้นลงโดยสิ้นเชิงเราจึงจำต้องเข้าทำสงครามต่อต้านญี่ปุ่นตัดสินใจแน่วแน่ที่จะขจัดอุปสรรคนี้ไปเสียให้พ้น.
เมื่ออุปสรรคถูกขจัดไปจุดมุ่งหมายทางการเมืองบรรลุผลแล้ว,สงครามก็ยุติ.ถ้าอุปสรรคยังขจัดไม่หมดสิ้นสงครามก็ยังจะต้องดำเนินต่อไปเพื่อบรรลุผลให้ตลอด.
เป็นต้นว่าถ้าภาระหน้าที่ในการต่อต้านญี่ปุ่นยังมิได้ปฏิบัติให้ลุล่วงไปแล้วมีผู้คิดจะหาทางประนีประนอม
ก็ย่อมจะสำเร็จไปไม่ได้เป็นแน่; เพราะถึงแม้ว่าจะได้ประนีประนอมกันด้วยเหตุบางประการ,แต่สงครามก็ยังจะต้องเกิดขึ้น
ประชาชนอันไพศาลจะไม่ยอมเป็นแน่จะต้องทำสงครามต่อไปเพื่อให้จุดมุ่งหมายทางการเมืองของสงครามบรรลุผลโดยตลอด.
ดังนั้นจึงกล่าวได้ว่า,การเมืองคือสงครามที่ไม่หลั่งเลือดและสงครามคือการเมืองที่หลั่งเลือด.
(๖๕) เนื่องจากลักษณะพิเศษของสงคราม
จึงต้องมีการจัดตั้งพิเศษชุดหนึ่งวิธีการพิเศษชุดหนึ่งและกระบวนการพิเศษชนิดหนึ่งสำหรับสงคราม.การจัดตั้งนี้ก็คือกองทัพและสิ่งทั้งปวงที่ติดพ่วงมากับกองทัพ.วิธีการนี้ก็คือยุทธศาสตร์และยุทธวิธีที่ชี้นำสงคราม.กระบวนการนี้ก็คือรูปการการเคลื่อนไหวทางสังคมชนิดพิเศษชนิดหนึ่งซึ่งกองทัพที่เป็นคู่อริต่างเข้าตีหรือตั้งรับซึ่งกันและกันโดยนำเอายุทธศาสตร์และยุทธวิธีที่เป็นผลดีแก่ตนและไม่เป็นผลดีแก่ข้าศึกมาใช้.
ดังนั้นความจัดเจนจากสงครามจึงเป็นความจัดเจนพิเศษ.บรรดาผู้ที่เข้าร่วมในสงครามจะต้องสลัดความเคยชินตามปรกติเสียและให้ชินกับสงคราม
จึงจะสามารถช่วงชิงชัยชนะจากสงครามได้.
[4]“สงเสียงบูรพาฝ่าตีประจิม” เหมาเจ๋อตงกล่าวว่า “ความต้องการประการสุดท้ายในการถอยนั้นก็คือ
ก่อให้เกิดและค้นพบข้อผิด พลาดของข้าศึก. ต้องรู้ไว้ว่า
ผู้บังคับบัญชาของกองทัพข้าศึกที่ปรีชาสามารถคนใดก็ตาม จะไม่เกิดความผิดพลาดขึ้นบ้างในระยะเวลายาวนานพอดูนั้น
ย่อมเป็นไปไม่ได้ ด้วยเหตุนี้
ความเป็นไปได้ที่เราจะฉวยเอาช่องโหว่ของข้าศึก
มาใช้ให้เป็นประโยชน์จึงมีอยู่เสมอ.
ข้าศึกทำผิดพลาดได้ เช่นเดียวกับที่บางครั้งเราเองก็ผิด พลาดไป
และบางครั้งก็เปิดช่องโหว่ให้ข้าศึกฉวยเอาไปใช้เป็นประโยชน์ ฉะนั้น. ยิ่งกว่านี้
เรายังสามารถทำให้กองทัพข้าศึกเกิดความผิดพลาดขึ้นด้วยน้ำมือของเราเองได้ด้วย เช่น ประเภทที่ ซุนจื่อ เรียกว่า “แสดงร่องรอย”
(แสดงร่องรอยทางตะวันออก, แต่เข้าตีทางตะวันตก คือสิ่งที่เรียกว่า
ทำทีจะบุกทางตะวันออก, แต่แล้วเข้าตีทางตะวันตก).”
ดูนิพนธ์เหมาเจ๋อตุง, ปัญหายุทธศาสตร์ในสงครามปฏิวัติของจีน (ธันวาคม
๑๙๓๖), บทที่ ๕การรับทางยุทธศาสตร์, ตอนที่ ๓ การถอยทางยุทธศาสตร์
[5]. The Lebanon War 2006 (12 กรกฎาคม –14 สิงหาคม 2006) อิสราเอลโจมตีเลบานอนโดยมีเป้าหมายที่จะยึดครองภาคใต้ของประเทศเลบานอน
และทำลายขบวนการเฮสบอลลาห์(Hezbollah)
ที่อิหร่านให้การสนับสนุน อย่างไรก็ตาม
อิสราเอลเป็นฝ่ายพ่ายแพ้อย่างหมดรูป เสียรถถังไป 79 คัน
แต่อิสราเอลถูกช่วยเอาไว้โดยมติสภาความมั่นคงองค์การสหประชาชาติที่ 1701 (UNSCR
1701) ให้ทั้ง 2 ฝ่ายยุติสงคราม
นับแต่นั้นมากองทัพอิสราเอลจึงไม่อยู่ในสภาพเหมือนเดิมต่อไป
[6]..การเดินทัพทางไกล (红军长征) เป็นการเดินทัพของกองทัพแดง (กองทัพแดงกรรมกรชาวนา ด้านที่ ๑ หรือ
กองทัพแดงส่วนกลาง (红一方面军)) และศูนย์กลางพรรคคอมมิวนิสต์จีนจากฐานที่มั่นโซเวียตเจียงซี ในวันที่ ๑๖
ตุลาคม ๑๙๓๔ ไปถึง เยนอานในภาคเหนือของส่านซี เมื่อวันที่ ๑๙-๒๒ ตุลาคม ๑๙๓๕
การเดินทัพทางไกล
เป็นการถอยทางยุทธศาสตร์ ของศูนย์กลางพรรคคอมมิวนิสต์จีนและกองทัพแดง
ที่มีความหมายยิ่งใหญ่ทางประวัติศาสตร์ จากฐานที่มั่นโซเวียตเจียงซี ลงไปกวางสี เลี้ยวเข้า กุ้ยโจว แล้ววกเข้า
ยูนนาน ผ่านเสฉวน ข้ามภูเขาหิมะลงไปซีคัง (ทิเบต) ข้ามทุ่งมรณะ จนบรรลุถึง
ภาคเหนือส่านซี รวมระยะทางกว่า ๑๒,๐๐๐ กิโลเมตร กินเวลา ตั้งแต่ เดือนตุลาคม ๑๙๓๔
ถึง ตุลาคม ๑๘๓๕ เริ่มจากกำลังพล ๘ หมื่นคนเมื่ออกจากเจียงซี เมื่อไปถึงภาคเหนือส่านซี เหลือกำลังเพียง ๘
พันคนเศษ อย่างไรก็ตาม การเดินทัพทางไกล ครั้งนี้ก็ได้บรรลุเป้าหมายทางยุทธศาสตร์
“รุกขึ้นเหนือ ทำสงครามต่อต้านญี่ปุ่น”
การเดินทัพทางไกลนั้น มีจุดเริ่มต้นจากการถอยอย่างทุลักทุเลออกจากฐานที่มั่นโซเวียตเจียงซี
จากการล้อมปราบครั้งที่ ๕ ของก๊กมิ่นตั๋ง
ซึ่งศูนย์กลางพรรคคอมมิวนิสต์จีนอยู่ภายใต้การนำของกลุ่มฉวยโอกาสเอียงซ้าย “๒๘
บอลเชวิค” ที่มี ป๋อกู่ และหลี่เต๋อ
(อ๊อตโต บรัน:ผู้แทนของคอมมินเทอร์น) เป็นแกนนำ ใช้แนวทางการทหารผิดพลาด ที่ทำให้กองทัพแดงที่
๑ ต้องพ่ายแพ้ยับเยินและต้องถอยร่นออกจากฐานที่มั่นโซเวียตเจียงซี
จากที่มีกำลังกว่า ๓ แสนกว่าคน ก่อนการล้อมปราบครั้งที่ ๕ ของก๊กมิ่นตั๋ง
เหลือกำลัง ๘ หมื่นเมื่อเริ่มการถอยจากเจียงซี
เมื่อถอยทัพมาถึงเมืองจุนยี่ มณฑลกุ้ยโจว เหลือกำลังแค่ ๓ หมื่นคน ทำให้ศูนย์กลางพรรคคอมมิวนิสต์ต้องจัดให้มีการประชุมรอบขยายวงขึ้น เรียกว่า
“การประชุมจุนยี่”
ซึ่งถือว่าเป็นจุดพลิกผันครั้งสำคัญที่สุดครั้งหนึ่งของพรรคคอมมิวนิสต์จีนและการปฏิวัติจีน
ที่เหมาเจ๋อตง ได้รับเลือกกลับเข้าเข้ามาดำรงตำแหน่งเป็นเลขาธิการคณะกรรมการกลางฯ
และคณะกรรมการปฏิวัติและการทหารของพรรค
และที่ประชุมได้มีมติรับรองยุทธศาสตร์ของเหมาเจ๋อตง ให้เคลื่อนทัพขึ้นสู่ภาคเหนือ
เพื่อดำเนินสงครามต่อต้านญี่ปุ่น
No comments:
Post a Comment