ตอนที่
4.
อเมริการู้ตัว
เป็นไปได้ว่า อเมริกาน่าจะรู้ตัวว่า
ถูกจีนล่อหลอกให้เข้ามาติดกับอยู่ในทะเลจีนใต้
ในขณะที่จีนเคลื่อนไหวอย่างหนักอยู่ในเอเชียกลางและอัฟริกา
และผลจากการกระทำเกินความจำเป็นต่อรัสเซียของยุโรป
บังคับให้รัสเซียต้องไปร่วมมือกับจีนใกล้ชิดยิ่งขึ้น ในขณะที่ซาอุดิอาระเบียและพันธมิตรประเทศในย่านอ่าว
กลับไปสนับสนุนการเผยแพร่ลัทธิวาฮาบิ
เป็นเป้าหมายหลักในการต่อต้านอิหร่านและรีเรีย โดยการสร้าง ISIL ขึ้นมา มากกว่าการรวมศูนย์การสนับสนุนเป้าหมายทางการเมืองอย่าง FSA
(Free Syria Army) นอก จากนี้ยังขยายเขตสงครามไปสู่เขตที่ยังไม่ใช่เป้าหมายหลักของอเมริกา
นั่นคือ อิรัก และ เยเมน จนเกิดกลุ่มต่อต้านรัฐบาลซีเรียมากมายสับสนไปหมด เกิดความขัดแย้งระหว่างเป้าหมายทางการเมืองที่จะโค่นล้มอัสซาดกับอุดมการณ์ทางศาสนาลัทธิวาฮาบิ
ทรัพยากรทั้งหลายจึงถูกกระจายเป็นเบี้ยหัวแตกไปหมด
ผลจากการปฏิบัติการตามลำพังของ NATO และ ซาอุดิอาระเบีย
ทำให้อเมริกาไม่อาจละความสนใจไปจากภาคพื้นยุโรปและตะวันออกกลางไปได้
เพื่อไปรวมศูนย์กำลังที่ทะเลจีนใต้ ในขณะเดียวกันสถาน
การณ์ในแปซิฟิกตะวันตกรวมทั้งทะเลจีนใต้ก็เรียกร้องให้อเมริกาต้องลงมือผูกมัดตัวเข้าไปพัวพันอย่างใกล้ชิด อเมริกาจึงถูกตรึงทั้งแขนขาเอาไว้ทั้งสี่ด้าน
ทำอะไรไม่ได้ ดังนั้นเพื่อแก้ไขสถานการณ์ไม่ให้อเมริกาถูกแยกร่าง
จะต้องตัดเชือกมัดด้านหนึ่งออกไปก่อน เพื่อให้อเมริกาสามารถกลับไปสู่สถานะเดิมก่อน
Pivot to Asia เชือกที่ต้องตัดเส้นแรกก็คือ
ทะเลจีนใต้ นั่นคือ ตัดฟิลิปปินส์ออกไปก่อน จากนั้นก็ต้องตัดเกาหลี
เอาความสามารถทั้งหมดกลับไปทางตะวันตก ไปจัดการ NATO และ
ซาอุดิอาระเบีย ให้เข้ารูปเข้ารอยอีกครั้ง
สิ่งที่ปรากฏก็คือ ในเดือนตุลาคม Duterteไปเยือนจีน ความสัมพันธ์ทางการทหารที่อเมริกาจะต้องให้การช่วยเหลือแก่ฟิลิปปินส์จำนวนมหาศาลก็จะได้ยุติลง และหลังจาหนี้ไม่กี่วัน ประธานาธิบดีปักกึนเฮ ของเกาหลีใต้ ผู้ที่คะยั้นคะยอให้อเมริกาไปตั้งระบบ THAAD ในเกาหลีใต้ ก็เจอวิกฤติทางการเมืองครั้งรุนแรงที่สุดในชีวิตการเมือง จนอาจต้องถูกบังคับให้ลงจากตำแหน่งก่อนเวลา แผนติดตั้ง THAAD ที่จะทำให้อเมริกาต้องเผชิญหน้าโดยตรงกับจีนและรัสเซีย ก็อาจจะได้ยุติลง หรือเลื่อนกำหนดออกไป
7. ญี่ปุ่น
Pivot to Asia แม้จะมีจุดหนักอยู่ที่การปิดล้อมจีนที่ช่องแคบมะละกาและทะเลจีนใต้
อย่างไรก็ตามทางแปซิฟิกตะวันออกก็มีความสำคัญที่นอกจากจะปิดล้อมจนแล้วยังปิดล้อมรัสเซียทางมหาสมุทรแปซิฟิกด้วยแต่อเมริกาไม่มีกำลังพอที่จะทำการนี้ในวงกว้างเป็นเวลายาวนาน
จำต้องดึงเอาญี่ปุ่นออกมาช่วยแบ่งเบาภาระในแปซิฟิกตะวันออกโดยให้ญี่ปุ่นเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายเอง
แต่ในความเป็นจริงมันกลับไม่ได้ง่ายอย่างที่อเมริกาคิดเอาไว้เมื่อเริ่มแผน Pivot
to Asiaและต้องใช้เวลายาวนาน เนื่องจากจะต้องแก้ไขรัฐธรรมนูญญี่ปุ่นก่อน
และการสร้างกองทัพญี่ปุ่นขึ้นมาใหม่ยังต้องใช้เวลาอีกหลายสิบปี
อเมริกานั้นไม่กลัวญี่ปุ่นจะเป็นภัยต่อตนในภายหลัง
เนื่องจากอเมริกาควบคุมช่องแคบมะละกาซึ่งเป็นเส้นเลือดน้ำมันของญี่ปุ่น
เช่นเดียวกับของจีน เอาไว้
นอกจากนี้ก็ยังมีสนธิสัญญาอีกหลายฉบับที่ผูกญี่ปุ่นไว้กับอเมริกา
ญี่ปุ่นถูกอเมริกายึดครองมาตั้งแต่สิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 จำต้องยอมทนอยู่ในอาณัติของอเมริกาทุกอย่าง ยอมให้อเมริกาตั้งฐานทัพ ทหารอเมริกันมีสิทธิสภาพนอกอาณาจักร ทำผิดไม่ต้องขึ้นศาลญี่ปุ่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อญี่ปุ่นกำลังรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจในขั้นสุดขีดจนมีท่าว่าจะล้ำหน้าอเมริกา อเมริกาก็บังคับให้ญี่ปุ่นลอยค่าเงินเยน โดยลงนามในข้อตกลง Plaza Accord เมื่อวันที่12 กันยายน1985 ที่บังคับให้ฝรั่งเศส เยอรมนี ญี่ปุ่น และอังกฤษยอมรับว่า เงินดอลลาร์อเมริกันมีมูลค่าสูงเกินความเป็นจริง ซึ่งผลทำให้เงินฟรังค์ มาร์ก เยนและปอนด์ มีค่าสูงขึ้นเมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์ (ค่าเงินเยนในปี 1985 เท่ากับ ¥239 ต่อ US$1 มาเป็นประมาณ¥100+ ต่อ US$1 ในปี 2016, ในเดือนเมษายน 1995 ค่าเงินเยนแข็งที่สุดที่ ¥80 ต่อ US$1) จนเป็นเหตุให้สินค้าญี่ปุ่นขายไม่ออก เศรษฐกิจชะงักการขยายตัวอย่างยาวนาน หนี้ภาครัฐสูงขึ้นอย่างไม่เคยมีมาก่อน เป็นข้อจำกัดร้ายแรงต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจของญี่ปุ่น เศรษฐกิจญี่ปุ่นถูกแช่แข็งอยู่กับที่ไม่สามารถเติบโตแซงหน้าอเมริกาไปได้
โดยไม่ต้องตั้งคำถามต่อชาวญี่ปุ่นถึงความรู้สึกของพวกเขาที่มีต่อสหรัฐอเมริกา ก็ต้องรู้ได้ว่าชาวญี่ปุ่นทั้งมวลต้องการที่จะปลดแอกจากผู้ยึดครองทุกลมหายใจ ในอีกด้านหนึ่ง เกิดความคาดหมายว่า...ถ้าญี่ปุ่นเป็นอิสระแล้วเข้าไปร่วมแกนกับจีน-รัสเซีย-ญี่ปุ่นจะมีสภาพเป็นเช่นใด จะเห็นได้ชัดว่า ญี่ปุ่นก็จะหลุดพ้นจากการพึ่งพาเส้นทางขนส่งทางเรือที่ต้องผ่านช่องแคบมะละกา และญี่ปุ่นก็จะเข้าถึง ตลาด แหล่งพลังงานและทรัพยากรในยูเรเซีย แน่นอนว่าการคาดหมายเช่นนี้ ก่อนปี 2012 ย่อมเป็นความเพ้อฝันล้วน ๆ เนื่องจากรัสเซียยังไม่แสดงท่าทีที่จะร่วมมือกับจีน เปิดพื้นที่เอเชียกลางและรัสเซียตะวันออกและอเมริกาก็ไม่มีเหตุผลอะไรที่จะถอนการยึดครองของตนออกจากญี่ปุ่น
Pivot to Asia บังคับให้รัสเซียต้องร่วมกับจีนต้านการปิดล้อมของอเมริกา ทำให้จีนพ้นจากการที่ต้องใช้เส้นทางขนส่งทางทะเลและทำให้รัสเซียมีหลังพิงทางเศรษฐกิจ ในขณะเดียวกันก็เป็นการชี้ให้ญี่ปุ่นเห็นช่องทางใหม่ของตนทางตะวันตก เงื่อนปมจึงอยู่ที่จะทำให้ญี่ปุ่นปลดแอกจากอเมริกาได้อย่างไร
ก็ Pivot to Asia ของObamaอีกเช่นกันที่ทำให้ญี่ปุ่นมีโอกาสปลดแอกตนเองจากอเมริกา เพราะเมื่ออเมริกาตั้งใจที่จะวางวงล้อมจีนในทะเลจีนใต้
อเมริกาก็พบว่าตนเองไม่สามารถจะรวมศูนย์ทางทหารเข้ามาในพื้นที่ได้ในระยะเวลาที่ต้องการ
ญี่ปุ่นที่น่าจะสามารถสนับสนุนอเมริกาได้ก็ไม่มีกำลังทหารเนื่องจากถูกจำกัดไว้ด้วยรัฐธรรมนูญที่ตนวางไว้เอง
จึงจำเป็นที่จะต้องให้ญี่ปุ่นแก้รัฐธรรมนูญที่เปิดทางให้ญี่ปุ่นสร้างกองทัพและใช้กำลังทหารได้นอกประเทศ
อย่างไรก็ตามแผนการนี้ของอเมริกาจะไม่ส่งผลให้ญี่ปุ่นทำได้ตามที่ตนต้องการภายในปี 2016 แต่จะทำให้ญี่ปุ่นทำได้ในอนาคต นอกจากนี้อเมริกายังต้องผ่อนปรนการควบคุมญี่ปุ่นในทางเศรษฐกิจ ทำให้แผนการปฏิรูปทางเศรษฐกิจของญี่ปุ่นมีความเป็นไปได้ ค่าเงินเยนของญี่ปุ่นจึงค่อยอ่อนตัวลงตามลำดับ อเมริกายังให้ญี่ปุ่นเข้าร่วมแผนเศรษฐกิจ TPP (Trans-Pacific Partnership) ที่ปัจจุบันมีสมาชิกแค่ 3 ประเทศคือ อเมริกา ออสเตรเลีย และญี่ปุ่น ที่อเมริกาสร้างขึ้นไว้เพื่อปิดล้อมจีน และใช้หลอกล่อให้ประเทศอย่าง เวียดนาม มาเลเซีย อินโดนิเซีย และฟิลิปปินส์สมัครเข้าเป็นสมาชิกที่จะได้รับสิทธิพิเศษในการเข้าถึงตลาดอเมริกา
อย่างไรก็ตามแผนการนี้ของอเมริกาจะไม่ส่งผลให้ญี่ปุ่นทำได้ตามที่ตนต้องการภายในปี 2016 แต่จะทำให้ญี่ปุ่นทำได้ในอนาคต นอกจากนี้อเมริกายังต้องผ่อนปรนการควบคุมญี่ปุ่นในทางเศรษฐกิจ ทำให้แผนการปฏิรูปทางเศรษฐกิจของญี่ปุ่นมีความเป็นไปได้ ค่าเงินเยนของญี่ปุ่นจึงค่อยอ่อนตัวลงตามลำดับ อเมริกายังให้ญี่ปุ่นเข้าร่วมแผนเศรษฐกิจ TPP (Trans-Pacific Partnership) ที่ปัจจุบันมีสมาชิกแค่ 3 ประเทศคือ อเมริกา ออสเตรเลีย และญี่ปุ่น ที่อเมริกาสร้างขึ้นไว้เพื่อปิดล้อมจีน และใช้หลอกล่อให้ประเทศอย่าง เวียดนาม มาเลเซีย อินโดนิเซีย และฟิลิปปินส์สมัครเข้าเป็นสมาชิกที่จะได้รับสิทธิพิเศษในการเข้าถึงตลาดอเมริกา
เป็นที่สังเกตว่า หลังปี 2014 จีนแสดงท่าทีแข็งกร้าวต่อประเด็นเกาะเซนคะคุ (หมู่เกาะเตียวหยวี) มีการเคลื่อนไหวของเรือรบและเครื่องบินรอบ ๆ เกาะดังกล่าว ซึ่งไม่เคยปรากฏมาก่อนรวมทั้งมีการประโคมข่าวต่อต้านญี่ปุ่นภายในประเทศ รัสเซียส่งทหารเข้าประจำในหมู่เกาะคูริว(Kuril – หมู่เกาะนี้แต่เดิมเป็นของรัสเซีย แต่ญี่ปุ่นยึดไปหลังสงครามรัสเซียญี่ปุ่น ปี 1905 แล้วรัสเซียยึดกลับคืนมาหลังสงครามโลกครั้งที่ 2) อีกทั้งเกาหลีเหนือก็เริ่มทดลองยิงจรวดนำวิธีไปตกในทะเลญี่ปุ่นและรื้อฟื้นการทดลองระเบิดนิวเคลียร์ที่ยุติไปนานแล้วขึ้นมาใหม่โดยที่ญี่ปุ่นไม่สามารถที่จะตอบโต้อย่างไรได้ เหตุการณ์เหล่านี้เกิดขึ้นก่อนที่รัฐบาลญี่ปุ่นจะใช้เป็นเหตุผลในการแก้ไขรัฐธรรมนูญ เมื่อญี่ปุ่นสามารถสร้างกองทัพได้แล้วก็จะสามรถแบ่งเบาภาระทางความมั่นคงของอเมริกาในแปซิฟิกตะวันตก ในทางกลับกันก็คือ เมื่ออเมริกาวางใจญี่ปุ่นแล้ว อเมริกาก็หมดความจำเป็นที่จะคงฐานทัพไว้ในญี่ปุ่นต่อไปนั่นเอง
ด้วยเหตุผลของทฤษฎีโลกหลายขั้ว ทั้งจีนและรัสเซีย จึงยอมรับการดำรงอยู่ของมหาอำนาจและกลุ่มประเทศต่าง ๆ ในโลก เพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างสันติและร่วมกันพัฒนาโลกให้ดีขึ้น ทั้งสองประทศนี้ย่อมเล็งเห็นศักยภาพและความเป็นไปได้ที่จะดึงญี่ปุ่นเข้ามารวมแกน แต่ว่าความเป็นไปได้ของญี่ปุ่นนั้นคือ ต้องเป็นประเทศที่มีอธิปไตยสมบูรณ์ มีกองทัพ และพ้นจากอาณัติของอเมริกา เงื่อนไขอันดับแรกก็คือ มีกองทัพซึ่งญี่ปุ่นก็รู้ดีว่าตนไม่อาจทนอยู่ภายใต้อาณัติของอเมริกาไปได้อีกแล้ว ซึ่งเรื่องนี้ใคร ๆ ก็สามารถมองเห็นได้ ทังสามประเทศก็อาจมีการดจรจากันอย่างไม่เปิดเผยมาก่อนหน้านี้แล้ว คงจะเห็นในทำนองเดียวกัน จีนและรัสเซียจึงแสดงท่าทีเคลื่อนไหวทางการทหารขนาดใหญ่ไปมาในแปซิฟิกตะวันตก จนแม้แต่อเมริกาก็ไม่สามารถรับมือได้ มิเช่นนั้นแล้วอเมริกาก็คงต้องสำแดงแสนยานุภาพของตนออกมาอย่างที่มักกระทำในที่อื่น ๆ แต่ในกรณีนี้อเมริกากลับนิ่งเฉยละแสดงท่าทีเปิดทางให้ญี่ปุ่นสร้างกองทัพขึ้นมาและคาดหวังว่าญี่ปุ่นจะสามารถปิดช่องว่างของตนได้ในแปซิฟิกตะวันตกและเป็นม้าใช้เข้าแทนที่อเมริกาต่อไปโดยให้ญี่ปุ่นเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายเอง
Pivot to Asia แต่เริ่มแรกไม่ได้มีแผนการเฉพาะสำหรับญี่ปุ่น เนื่องจากประเมินความสามารถทางทะเลของจีนต่ำเกินไปและไม่คาดว่ารัสเซียจะแสดงบทบาทในแปซิฟิกตะวันตกที่จะคุกคามต่อญี่ปุ่น และเมื่อปรับแผนให้ญี่ปุ่นสร้างกองทัพแล้ว ก็ปรากฏว่าญี่ปุ่นจะยังไม่สามารถมีบทบาททางทหารได้ในแปซิฟิกวันตก จะต้องใช้เวลาอีกยาวนานและทรัพยากรอีกมหาศาลกว่าญี่ปุ่นจะสามารถสร้างกองทัพใหม่ของตนขึ้นมา ในระยะสั้นนี้ได้นอกจากการแสดงท่าทีที่จะสนับสนุนทางการทหารในปริมาณจำกัดแก่ฟิลิปปินส์เท่านั้น
นอกจากนี้ญี่ปุ่นยังเริ่มเสริมความสัมพันธ์กับอินเดีย หลังจากละเลยมาเป็นเวลานาน
เนื่องจากอินเดียมักมีความคาดหวังและความเรียกร้องต้องความช่วยเหลือจากญี่ปุ่นเกินกว่าที่ญี่ปุ่นจะสามารถให้ได้
ล่าสุดมีความพยายามที่จะตกลงกันในกิจกรรมพลังงานนิวเคลียร์และรถไฟฟ้าความเร็วสูง แต่อินเดียก็มีปัญหาไม่อยู่ในสนธิสัญญาควบคุมอาวุธนิวเคลียร์ และไม่มีทุนมากพอที่จะลงทุนในโครงการรถไฟฟ้าความเร็วสูงที่อินเดียเรียกร้องโดยไม่ต้องผ่านการประมูลแข่งขันกับจีน ความพยายามสร้างเสริมความสัมพันธ์ระหว่างญี่ปุ่นกับอินเดียยังจะยืดเยื้อยาวนานออกไปอีกนาน ญี่ปุ่นไม่มีความจำเป็นอะไรในการที่ร่วมมือกับอเมริกาในการขยายบทบาทของตน ใน Pivot to Asia ของอเมริกา ไปจนถึงมหาสมุทรอินเดีย ในขณะที่อินเดียใช้การให้ท้ายจากอเมริกาแสวงหาผลประโยชน์ทุกเม็ดจากโครงการนี้ แต่แท้จริงแล้ว ความจำเป็นเฉพาะหน้าของญี่ปุ่นคือการซื้อเวลาประกันความมั่นคงของเส้นทางขนส่งน้ำมันในมหาสมุทรอินเดียในระหว่างที่ญี่ปุ่นจะปลดแอกตนเองจากอเมริกา ละมีช่องทางพลังงานใหม่จากรัสเซีย
ล่าสุดมีความพยายามที่จะตกลงกันในกิจกรรมพลังงานนิวเคลียร์และรถไฟฟ้าความเร็วสูง แต่อินเดียก็มีปัญหาไม่อยู่ในสนธิสัญญาควบคุมอาวุธนิวเคลียร์ และไม่มีทุนมากพอที่จะลงทุนในโครงการรถไฟฟ้าความเร็วสูงที่อินเดียเรียกร้องโดยไม่ต้องผ่านการประมูลแข่งขันกับจีน ความพยายามสร้างเสริมความสัมพันธ์ระหว่างญี่ปุ่นกับอินเดียยังจะยืดเยื้อยาวนานออกไปอีกนาน ญี่ปุ่นไม่มีความจำเป็นอะไรในการที่ร่วมมือกับอเมริกาในการขยายบทบาทของตน ใน Pivot to Asia ของอเมริกา ไปจนถึงมหาสมุทรอินเดีย ในขณะที่อินเดียใช้การให้ท้ายจากอเมริกาแสวงหาผลประโยชน์ทุกเม็ดจากโครงการนี้ แต่แท้จริงแล้ว ความจำเป็นเฉพาะหน้าของญี่ปุ่นคือการซื้อเวลาประกันความมั่นคงของเส้นทางขนส่งน้ำมันในมหาสมุทรอินเดียในระหว่างที่ญี่ปุ่นจะปลดแอกตนเองจากอเมริกา ละมีช่องทางพลังงานใหม่จากรัสเซีย
8. เกาหลี
เช่นเดียวกับญี่ปุ่น เกาหลีใต้ก็ตกอยู่ในการยึดครองของอเมริกากลาย ๆ
อยู่แล้ว ในระยะเริ่มต้น Pivot to Asia ในต้นปี 2013
อเมริกายังต้องการ status quo ในคาบสมุทรเกาหลี
ในขณะที่ตนกำลังรวมศูนย์ Pivot to Asia ลงไปที่ทะเลจีนใต้และประเทศอาเซี่ยนที่จะสามารถจับจีนให้อยู่หมัดในเวลาอันสั้นเพื่อให้สถาน
การณ์ในแปซิฟิกตะวันตกไม่เลวร้ายลงกว่าที่ญี่ปุ่นมีความขัดแย้งกับจีนรุนแรงมากขึ้น
อเมริกาจึงน่าจะเป็นผู้ปล่อยให้ ปักกึนเฮ เดินทางไปเยือนปักกิ่งก่อน
แล้วค่อยมาวอชิงตันในภายหลัง
ซึ่งผิดไปจากธรรมเนียมปรกติที่ประธานาธิบดีเกาหลีใต้จะต้องเปิดการไปเยือนต่างประเทศด้วยการไปวอชิงตัน
เหนือกับใต้มีผู้นำใหม่ทั้งคู่
คิม จอง อุน
ขึ้นเป็นเป็นผู้นำเกาหลีเหนือในเดือนธันวาคม 2012 พร้อม ๆ กับที่ ปักกึนเฮ เข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดีเกาหลีใต้
ในต้นปี 2013 สถานการณ์ในคาบสมุทรเกาหลีดูผ่อนคลายลง ทั้งเกาหลีเหนือและใต้เริ่มกลับมาเจรจากัน
มีการรื้อฟื้นการกลับสู่เย้าที่ญาติมิตรของประชาชนทั้งสองฝ่ายมาเยี่ยมเยือนกัน
และเปิดให้นิคมอุตสาหกรรมเคซอง(Kaesong Industrial Complex) ดำเนินงานต่อไปได้เป็นปรกติ
นิคมอุตสาหกรรมเคซอง
ลูกโป่งสันติภาพแตก
แต่แล้วในเดือนกุมภาพันธ์ 2013 ในขณะที่ Pivot to Asia ของอเมริกากำลังดำเนินการในช่วงต้น สถาน การณ์ในคาบสมุทรเกาหลีเริ่มเสื่อมทรามร้ายลง
เกาหลีเหนือเคลื่อนไหวรุนแรงเพื่อตอบโต้การซ้อมรบของอเมริกาและเกาหลีใต้ ความขัดแย้งทวีความรุนแรงมากขึ้นเรื่อย
ๆ เกาหลีเหนือทดลองยิงจรวดนำวิธีขนาดต่าง ๆ ที่ส่วนใหญ่มุ่งไปตกในทะเลญี่ปุ่น โดยเกาหลีเหนือแสดงเหตุผลว่าเพื่อกดดันให้อเมริกามาเจรจาสันติภาพยุติสงครามที่มีต่อกันที่ดำเนินมาตั้งแต่ปี1950
ปฏิบัติการที่ร้ายแรงที่สุดแรงที่สุดของเกาหลีเหนือ
คือการทดลองระเบิดนิวเคลียร์ครั้งที่ 4 ในวันที่ 6 มกราคม 2016
มติ S/RES/2276
การกระทำของเกาหลีเหนือได้รับการประท้วงประณามจากทั่วโลก และสภาความมั่นคง สหประชาชาติ ในวันที่ 24 มีนาคม 2016
ได้มีมติที่ 2276 กำหนดให้ขยายการแซงชั่นเกาหลีเหนือที่สมาชิกองค์การสหประ ชาชาติทุกประเทศต้องปฏิบัติตามซึ่งผูกมัดจีนที่เคยปกป้องเกาหลีเหนือมาโดยตลอดให้ต้องยอมตาม
อย่างไรก็ตาม เป็นที่น่าสังเกตว่า การเคลื่อนไหวทุกครั้งที่เป็นมาในอดีตของเกาหลีเหนือนั้น
ไม่ว่าจะเป็นในทางการเมืองและการทหาร
ล้วนแล้วแต่ได้มีการประเมินถึงผลได้ผลเสียทางยุทธศาสตร์ล่วงหน้ามา แล้วเป็นอย่างดี
และในที่สุดเกาหลีก็จะบรรลุความต้องการของตนทุกครั้ง แต่ยังไม่แน่ชัดว่า
ปฏิบัติการของเกาหลีเหนือนับตั้งแต่ปี 2013 เกาหลีเหนือมุ่งหวังอะไร
ที่น่าจะเกี่ยวกับ Pivot to Asia ของอเมริกา
จีนทิ้งเกาหลีเหนือ?
แต่ในอีกด้านหนึ่ง นับตั้งแต่ปี 2013 ความสัมพันธ์ระหว่างเกาหลีใต้กับจีน
กลับดีขึ้นตามลำดับ ปักกึนเฮไปเยือนจีน พาเกาหลีใต้เข้าร่วม AIIB (Asian
Infrastructure Investment Bank) ที่จีนเป็นผู้นำ เข้าร่วมพิธีสวนสนามในวันแห่งชัยชนะที่จีนเป็นผู้จัดในปี
2015 สำหรับจีน เพื่อเป็นการตอบสนองท่าทีที่ดีของเกาหลีใต้ ในปี 2014
ประธานาธิบดีสีจิ้งผิง ไปเยือนโซล ก่อนที่จะไปเปียงยางสถานการณ์ในสิ้นปี
2015 ดูเหมือนว่าความสัมพันธ์เกาหลีใต้กับจีนจีนแน่นแฟ้นอย่างไม่เคยมีมาก่อน จนมีเสียงวิพากษ์วิจารณ์ว่า จีนน่าจะทอดทิ้งเกาหลีเหนือไปแล้วและไปใกล้ชิดกับเกาหลีใต้แทน
ซึ่งเป็นไปอย่างที่ Pivot to Asia ต้อง การ
ให้แนวแปซิฟิกตะวันตกตอนบนสงบลงชั่วคราว
เกาหลีเหนือ
การกระทำของเกาหลีเหนือทุกอย่าง ไม่ว่าจะเป็นการซ้อมรบ
การทดลองขีปนาวุธ และระเบิดนิวเคลียร์ ฯลฯ
ล้วนมีเป้าหมายสูงสุดอยู่ที่จะให้อเมริกายอมมาเจรจาสันติภาพยุติสงครามที่มีต่อกันมาตั้งแต่ปี
1950
ความสงบของคาบสมุทรเกาหลีปัจจุบันเป็นเพียงสถานการณ์สงบที่อยู่ภายใต้สัญญาสงบศึกชั่วคราวที่ลงนามกันระหว่างอเมริกากับเกาหลีเหนือในปี
1953 ดังนั้นเกาหลีใต้จึงไม่ได้อยู่ในสายตาทางยุทธศาสตร์ของเกาหลีเหนือแต่อย่างใด
มีการเจรจาเกิดขึ้นหลายครั้งที่อเมริกาพยายามจะบ่ายเบี่ยงเอาประเทศอื่นเข้ามาร่วม และเมื่อการเจรจาใกล้จะบรรลุความสำเร็จอเมริกาก็เป็นผู้ก่อเหตุล้มกระดานการเจรจาทุกครั้งไปเหตุผลที่แท้จริงขอวอเมริกาก็คือใช้กรณีเกาหลีเหนือเป็นข้ออ้างในการดำรงกำลังทหารไว้ในเกาหลีใต้เพื่อปิดล้อมจีนและรัสเซียนั่นเอง
อเมริกาทราบดีว่าจีนจะไม่ยอมให้อเมริกาโจมตีเกาหลีเหนือเป็นอันขาด และก็ทราบดีอีกว่ากองกำลังของตนและกองทัพหุ่นเกาหลีใต้ไม่อาจต้านทานการแทรกแซงที่จะมีขึ้นจากจีนได้ หากอเมริกาโจมตีเกาหลีเหนือเหมือนอย่างที่เคยทำมาในปี 1950 และในประเทศอื่น ๆ ทั่วโลก อย่างไรก็ตามอเมริกาไม่ยอมรับว่าตนพ่ายแพ้ในสงครามเกาหลี (1950-1953) จึงไม่ยอมเจรจาสันติภาพสงบศึกกับเกาหลีเหนือ และใช้เกาหลีเป็นข้ออ้างในการเคลื่อนไหวทางการเมืองและการทหารเพื่อปิดล้อมจีนและรัสเซียในยุคสงครามเย็น โดยใช้เกาหลีใต้เป็นแนวหน้าการปะทะและญี่ปุ่นเป็นแนวหลัง
เนื่องจากเกาหลีเหนือรู้ดีว่า การยอมจำนนทำตามข้อเรียกร้องของอเมริกา ย่อมทำให้ตนตกอยู่ในฐานะฝ่ายถูกกระทำทางยุทธศาสตร์ ในที่สุดแล้วก็ไม่อาจรอดพ้นจากการถูกทำลายล้างลงอย่างที่เกิดขึ้นอย่างอิรักและลิเบีย อย่างไรก็ตามเกาหลีเหนือเป็นประเทศเล็กการที่จะไปเผชิญหน้าโดยตรงกับอเมริกาอย่างเดียวย่อมไม่อาจช่วยให้ตนรักษาฐานะการเป็นฝ่ายกระทำและได้รับชัยชนะโดยเร็วได้ จึงต้องดำเนินสงครามยืดเยื้อ เคลื่อนที่ และสร้างสถานการณ์ที่ทำให้อเมริกาตกอยู่ในฐานะฝ่ายถูกกระทำตลอดเวลา ในขณะที่อเมริกาซึ่งเป็นประเทศใหญ่ที่นิยมใช้ลัทธิป้อมค่ายมาปิดล้อมเกาหลีเหนือเท่านั้น เนื่องจากถูกจำกัดโดยความกังวลที่จีนจะเข้ามาแทรกแซงช่วยเกาหลีเหนือ เมื่อเป็นเช่นนี้ เกาหลีเหนือจึงมักกระทำสิ่งต่าง ๆ นอกเหนือความคาดหมาย และกลายเป็นฝ่ายกำหนดในเวทีการเจรจาต่าง ๆ ทำการต่อสู้ยืดเยื้อกับอเมริกา
ในอีกด้านหนึ่ง การเคลื่อนไหวทุกครั้งของเกาหลีเหนือมักเกิดขึ้นในขณะที่อเมริกากำลังปฏิบัติการบาง อย่างในวิกฤติการณ์ณที่ใดที่หนึ่งในเสมอ ทั้งนี้เพื่อที่จะดึงความสนใจของอเมริกาให้เบนออกจากปฏิบัติการณ์นั้น ๆ เกาหลีเหนือมีการเคลื่อนไหวมากขึ้นและบ่อยครั้งยิ่งขึ้นนับตั้งแต่ ปี 2013 เป็นต้นมา ซึ่งเป็นจังหวะที่อเมริกาเริ่มปฏิบัติการ Pivot to Asia ซึ่งจะวางให้ย่านแปซิฟิกตะวันตกตอนบน อยู่อย่างสงบเสงี่ยมที่สุดไม่ก่อความตึงเครียดที่ไม่จำเป็นกับจีนและรัสเซีย ซึ่งจะทำให้อเมริกาจำต้องกระจายกำลังไปคุ้มครองญี่ปุ่นและเกาหลีใต้ เกาหลีเหนือย่อมเล็งเห็นความต้องการของอเมริกา จึงออกปฏิบัติการขีดขวางแผนการของอเมริกา
THAAD
โดยไม่มีใครคาด หลังจากที่เกาหลีเหนือทดลองระเบิดนิวเคลียร์ครั้งที่
4 เมื่อวันที่ 6 มกราคม 2016 ประธานาธิบดีปักกึนเฮ
ประกาศติดตั้งระบบ THAAD - (Terminal High
Altitude Area Defense/ระบบป้องกันขีปนาวุธในบรรยากาศระดับสูงตั้งแต่ระยะเริ่มต้น)
ของอเมริกาในเกาหลีใต้ เมื่อติดตั้งระบบป้องกันนี้ในเกาหลีใต้จะทำให้เรดาร์อเมริกาสามารถตรวจลึกเข้าไปถึงประเทศจีนด้านในและรัสเซียด้านตะวันออกได้ อย่างไรก็ตาม THAAD เป็นระบบตรวจจับและต่อต้านอาวุธปล่อยนำวิถีในบรรยากาศระดับสูง
แต่ไม่สามารถตรวจจับและต่อต้านขีปนาวุธพิสัยกลางและขนาดเล็กที่มีระดับการเดินทางในบรรยากาศชั้นต่ำได้
จึงไม่มีประโยชน์ในการป้องกันเกาหลีใต้ หากเกาหลีเหนือจะใช้ขีปนาวุธพิสัยกลางและเล็กเข้าโจมตี
จึงเห็นชัดว่า THAAD เป็นประโยชน์ต่ออเมริกา
ไม่สามารถป้องกันเกาหลีใต้ แต่กลับเป็นเป็นภัยคุกคามจีนและรัสเซียโดยตรง
การตัดสินใจนี้ของปักกึนเฮทำลายความสัมพันธ์ที่กำลังดีวันดีคืนกับจีนจนหมดสิ้นในคราวเดียว ต่อมามีกระแสข่าวอ้างจากคนสนิทของปักกึนเฮว่า ประธานาธิบดีได้พยายามติดต่อกับสีจิ้งผิงแล้ว แต่ติดต่อไม่ได้ ซึ่งข่าวนี้ไม่มีการยืนยันจึงเป็นข่าวปลอม เนื่องจากเป็นไปไม่ได้ ที่ประธานาธิบดีเกาหลีใต้จะติดต่อสายด่วนกับประธานาธิบดีจีนไม่ได้ ดังนั้นจึงทำให้เห็นว่า การตัดสินใจติดตั้ง THAAD ในเกาหลีใต้ เป็นการตัดสินใจอย่างปัจจุบันทันด่วนของปักกึนเฮเองโดยไม่ได้มีการปรึกษาหารือกับฝ่ายที่เกี่ยวข้องต่าง ๆ โดย เฉพาะฝ่ายต่างประเทศ นอกจากฝ่ายกลาโหมที่ถูกอเมริกาควบคุมเอาไว้เต็มที่
เกาหลีใต้ไม่ได้อยู่ในแผน Pivot to Asia ของObama มาแต่แรกเนื่องจากเกาหลีใต้เป็นด่านหน้าของอเมริกาอยู่แล้วในการปิดล้อมจีนละรัสเซีย และจำเป็นที่จะต้องรักษา status quo เอาไว้ก่อน เพื่ออเมริกาจะได้รวมศูนย์กำลังทั้งการเมืองและการทหารลงไปที่ทะเลจีนใต้ ยึดช่องแคบมะละกาเอาไว้ให้มั่นคง ก่อนที่จะดำเนินการบีบคั้นจีนในอันดับต่อไป อย่างไรก็ตามในปลายปี 2015 สถานการณ์ในยุโรปและตะวันออกไม่เป็นไปตามที่ Pivot to Asia ต้องการ และ One Belt, One Road ของจีนสำแดงให้อเมริการู้ตัวว่าตนทำผิดพลาดถลำลึกลงไปในกับดักของจีน จนจำต้อง รีบถอนตัวโดยเร็วให้กลับไปสู้สถานะของอเมริกาก่อนปี 2013 ซึ่งฝ่ายที่จะผิดหวังมากที่สุดในรัฐบาลObama ก็คือ Ashton Carter รัฐมนตรีกลา โหมที่ได้ทุ่มเทและแสดงบทบาทอย่างมากในการปิดล้อมจีนรวมทั้งได้แสดงท่าทีท้าทายจีนอย่างเปิดเผย
ความไม่เชื่อมต่อกันของการเมืองกับการทหารของอเมริกา
ปัญหาเรื้อรังในการดำเนินนโยบายของอเมริกาคือการไม่สอดคล้องต้องกันของการปฏิบัติการทางการ
เมืองกับการทหาร หรือที่เรียกว่า ความไม่เชื่อมต่อกันของการเมืองกับการทหาร[3]ในทางทฤษฎี
การทหารต้องเป็นเครื่องมือและขึ้นต่อความจำเป็นทางการเมืองของรัฐใด ๆ แต่ในทางปฏิบัติสำหรับอเมริกาการ
เมืองกับการทหารเป็นขบวนการที่แยกส่วนจากกัน และในอีกด้านหนึ่ง การเมือง (การต่างประเทศ)
ก็มักกลับไปขึ้นต่อความต้องการทางการทหาร ที่นำอเมริกาเข้าสู่สงครามที่ไม่จำเป็นหลายครั้งหลายครา
อย่างสงครามเกาหลี (1950-1953) สงครามเวียดนาม (1955-1975) และสงครามอิรัก
(2003-2011) เป็นต้น ซึ่งสงครามเหล่านี้ไม่ได้ทำให้อเมริกาบรรลุผลดีทางการเมืองใด
ๆ ต่ออเมริกาเลย
ภายหลังจากสงครามอิรัก เมริกาก็พยายามหลีกเลี่ยงเอาตนเองเข้าไปเกี่ยวข้องกับสงครามใด ๆ โดยตรงอีก Obama ถึงกับประกาศจะลดกำลังทหารในอัฟกานิสถานและอิรักลง อย่างไรก็ตามObamaก็ไม่ประสบความสำเร็จที่จะสามารถทำตามคำพูดได้ นับตั้งแต่แต่งตั้งนาย Ashton Carter ผู้ที่นิยมลัทธิ “การทหารนำการเมือง” อย่างแรงกล้าขึ้นเป็นรัฐมนตรีกลาโหมในปี 2013 ที่จะมีบทบาทนำในแผนการ Pivot to Asia ในขณะที่กระทรวงต่างประเทศต้องวุ่นวายติดพันอยู่กับสถานการณ์ในยุโรปและตะวันออกกลางจนกระทั่งเกิด ISIS ขยายตัวอย่างรวดเร็วในอิรักที่ทำให้กระทรวงกลาโหมจำต้องส่งทหารกลับเข้าไปในอิรักอีกครั้งหนึ่งอย่างไม่เต็มใจและอย่างฉุกละหุกไร้แผนการ เนื่องจากทำให้แผนการเสริมกำลังทหารในอัฟกานิส สถานและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (ฟิลิปปินส์)ต้องล่าช้าออกไป
อย่างไรก็ดี ในปลายปี 2015 ภายหลังจากที่ อนุญาโตตุลการสากลมีคำวินิจฉัยเป็นตามคำร้องของฟิลิป ปินส์ แต่ไม่ได้รับการสนับสนุนจากประชาคมโลก โดยเฉพาะจากประเทศพันธมิตรของอเมริกา นอกจากแค่มีความคิดเห็นสนับสนุนประเด็น Freedom of Navigation ของอเมริกาเท่านั้น จากนั้นเป็นต้นมา การเคลื่อนไหวของอเมริกาในย่านทะเลจีนใต้ก็ลดระดับลงอย่างรวดเร็ว มีแต่ Ashton Carter เท่านั้นที่ออกมาแสดงท่าทีท้าทายจีนอยู่ผู้เดียว ในขณะที่กองเรือรบ 2 กองในแปซิฟิกตะวันตกถูกถอนออกไปโดยไม่มีคำอธิบาย จึงเป็นไปได้ว่าอเมริกาเริ่มรู้ตัวว่า กำลังถลำลึกเข้ามาในกับดักทางการเมืองของจีนในทะเลจีนใต้ เมื่อจีนใช้ One Belt, One Road ออกมาแก้ลำตอบโต้ซึ่งจะทำให้อเมริกาต้องผูกพันและถูกผูกมัดทางการเมืองและการทหารกับประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่ประเทศเหล่านี้ไม่มีทางจะยินยอมทำอะไรตามความต้องการของอเมริกาโดยไม่มีข้อแลกเปลี่ยนราคาแพง (อย่างเช่น ข้อตกลงการค้าเสรี TPP), ความผิดพลาดของ NATO ในยุโรป และซาอุดิอาระเบียในตะวันออกกลาง และแรงกดดันของการเลือกตั้งประธานาธิบดีอเมริกาในปลายปี 2016 ฯลฯ ทำให้อเมริกาไม่มีทางเลือกนอกจากต้องถอนตัวออกจาก Pivot to Asia โดยเร็วที่สุด ในปลายปี 2015 และต้นปี 2016 นั้น
จุดจบของปักกึนเฮ
นับตั้งแต่ปักกึนเฮขึ้นเป็นประธานาธิบดีเกาหลีใต้
ในปี 2013 นอกจากการท้าทายของเกาหลีเหนือเป็นระยะ ๆ แล้ว
ความสัมพันธ์ระหว่างเกาหลีใต้กับจีนและรัสเซียกลับมาสภาพดีวันดีคืน
ซึ่งเป็นตามแผนการ Pivot to Asia ที่กำหนดไว้ในตอนแรกเพื่อล่อให้จีนตายใจทางด้านแปซิฟิกตะวันตก
อย่างไรก็ตามภาย หลังจากที่เกาหลีเหนือทดลองระเบิดนิวเคลียร์ครั้งที่
4 เมื่อวันที่ 6 มกราคม 2016 ปักกึนเฮ
ก็ตอบโต้ทันควันโดยประกาศที่จะให้อเมริกาติดตั้ง ระบบป้องกันTHAAD(Terminal High Altitude Area Defense /ระบบป้องกันขีปนาวุธในบรรยากาศระดับสูงตั้งแต่ระยะเริ่มต้น)
ในเกาหลีใต้ ซึ่งเป็นการกระทบต่อความ สัมพันธ์ที่กำลังดีวันดีคืนระหว่างเกาหลีใต้กับจีน
ในทันทีราวกับว่าเกาหลีใต้เอามีดมาจ่อคอหอยของจีนอย่างฉับพลันจนจีนไม่ทันตั้งตัว
เรื่อง THAAD นี้ไม่ได้เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นมาใหม่ แต่เกาหลีใต้และอเมริกาได้มีข้อตกลงกันมานานแล้ว เพียงแต่เกาหลีใต้ได้บ่ายเบี่ยงไม่ยอมตัดสินใจให้อเมริกาติดตั้งระบบดังกล่าวมาโดยตลอด เพื่อหลีกเลี่ยงที่จะไม่ทำให้ตนต้องเผชิญหน้ากับจีนอย่างเปิดเผย และยังจะมีผลกระทบต่อความคิดเห็นชองประชาชนในประเทศ ที่เห็นว่า THAAD ไม่มีประโยชน์อะไรต่อความมั่นคงของเกาหลีใต้ ยิ่งไปกว่านั้น ประชากรเกาหลีใต้มากกว่า 2 ใน 3 มีรากเง้าครอบครัวมากจากเกาหลีเหนือ เนื่องจากบรรพบุรุษของพวกเขาถูกอเมริกาบังคับกวาดต้อนเข้ามาอยู่ในเกาหลีใต้ในระหว่างสงครามเกาหลีค่านิยมความผูกพันทางครอบครัวของชาวเกาหลี ทำให้พวกเขาไม่เชื่อว่าเกาหลีเหนือจะมีเจตนาที่จะคุกคามเกาหลีใต้ นอกจากต้องการบีบบังคับให้อเมริกามาเจรจาสันติภาพยุติสงครามนอกจากนี้ที่ผ่านมาอเมริกาก็ไม่ได้แสดงท่าทีคะยั้นคะยอหรือบีบบัง คับเกาหลีใต้ยินยอมให้ตนติดตั้ง THAAD ตามข้อตกลง เนื่องจากอาจตระหนักภายหลังว่า จะทำให้สมดุลทางความมั่นคง (สมดุลกำลัง) ในภูมิภาคเปลี่ยนแปลงไปจนจีนและรัสเซียอาจหาวิธีการอื่นที่ร้ายแรงกว่ามาตอบโต้
การตัดสินใจของปักกึนเฮในครั้งนี้จึงเป็นการตัดสินใจที่ไม่ปรกติ ในขณะที่มีการสร้างกระแสมาจากอเมริกาก่อนหน้านี้เพื่อเบี่ยงเบนข้อเรียกร้องของเกาหลีเหนือและโยนความรับผิดชอบในฐานะคู่สงครามกับเกาหลีเหนือไปให้จีนว่า “จีนจะต้องเข้ามากำราบเกาหลีเหนือ” พร้อมกับใช้มติสภาความมั่นคงสหประชาชาติในการแซงชั่นเกาหลีเหนือมาบีบบังคับจีน
เป็นที่น่าสงสัยว่าการที่ ปักกึนเฮ ตัดสินใจอย่างเร่งด่วนโดยไม่ปรึกษาหารือกับจีน ซึ่งจะเป็นผู้ได้รับผลกระ ทบโดยตรงจาก THAAD ซึ่งจะมีผลร้ายต่อความสัมพันธ์เกาหลีใต้กับจีน น่าที่จะให้หลักประกันความปลอดภัยต่อเกาหลีใต้และผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจได้ดีกว่า ระบบ THAAD อันจะเป็นประโยชน์เฉพาะทางการทหารแก่อเมริกา ทั้ง ๆ ที่ในทางความเป็นจริงระบบ THAAD มีหัวใจอยู่ที่ระบบเรดาร์กำลังสูงมากที่สามารถตรวจจับขีปนาวุธในระดับสูงตั้งแต่ระยะเริ่มต้น ซึ่งทั้งจีนและรัสเซียก็มีขีดความสามารถที่จะทำการต่อต้านและก่อกวน (jamming) อย่างง่ายดาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในระยะใกล้ และการ jamming นี้ก็จะก่อผลกระทบต่อระบบเรดาร์อื่นทั้งหมดในเกาหลีใต้ได้ ดังนั้นอเมริกาจึงไม่เร่งรัดติดตั้ง THAAD ในเกาหลีใต้ภายหลังจากที่ลงนามในสัญญาต่อกัน
เมื่อObamaตัดสินใจยุติแผนการ Pivot to Asia ที่ Ashton Carter เป็นผู้ร่างและกำกับแผนการอย่างเงียบ ๆ ในปลายปี 2015 นั้นย่อมสร้างความผิดหวังเป็นการส่วนตัวแก่ Ashton Carter เป็นอย่างมาก และหาโอ กาสที่จะแก้เผ็ด Obama ในขณะเดียวกันที่เขาก็จะสามารถบรรลุความต้องการส่วนตัวที่จะดำเนินการปิดล้อมจีนต่อไปให้ถึงที่สุด เมื่อ เกาหลีเหนือ ทดลองระเบิดนิวเคลียร์ในวันที่ 6 มกราคม 2016 Carter จึงใช้อิทธิพลของตนในกระทรวงกลาโหมไปผลักดัน กระทรวงกลาโหมเกาหลีใต้บีบบังคับให้ ปักกึนเฮ ประกาศรื้อฟื้นการติดตั้ง THAAD ในเกาหลีใต้โดยอ้างว่าเพื่อเป็นการตอบโต้การทดลองนิวเคลียร์ของเกาหลีเหนือ
กรณี THAAD ในเกาหลีใต้
ไม่เพียงแต่ทำลายความสัมพันธ์ระหว่างเกาหลีใต้กับจีนลงในพริบตา และทำ ลายผลประโยชน์ทางเดินเรือของเกาหลีที่จะได้ใช้เส้นทาง
NEP ผ่านน่านน้ำอาร์คติกของรัสเซียแต่ยังได้ทำลายแผนการของอเมริกาที่จะผลักจีนให้เข้ามารับหน้าเกาหลีเหนือแทนอเมริกา
ยิ่งกว่านั้นยังทำให้จีนและอเมริกาต้องเผชิญหน้ากันโดยตรงในคาบสมุทรเกาหลีและแปซิฟิกตะวันตก
ในขณะที่อเมริกายังไม่มีความพร้อมสะท้อนให้เห็นความขัดแย้งกันอย่างรุนแรงระหว่างฝ่ายการเมืองที่นำโดยObamaกับฝ่ายทหารที่นำโดย Ashton Carter ในช่วงเวลาที่ใกล้การเลือกตั้งในปลายปี
2016 ซึ่งทำให้Obamaไม่สาสามารถจัดการใด ๆ ได้กับการออกนอกลู่นอกทางของ
Ashton Carter
Obama จึงไม่มีทางเลือกมากนักในความพยายามที่จะหลีกเลี่ยงการเผชิญหน้าโดยตรงกับจีน ในขณะที่ต้องพยายามแก้ปัญหาในยุโรปและตะวันออกกลาง ประกอบกับระบบการเมืองของเกาหลีใต้ ไม่เอื้ออำ นวยให้อเมริกากดดันโดยตรงให้ประธานาธิบดีเกาหลีใต้เปลี่ยนแปลงนโยบาย ยุติการติดตั้ง THAAD ในเวลาอันจำกัด นอกจากจะต้องโค่นล้ม ปักกึนเฮ ลงโดยเร็วที่สุด ไม่มีหลักฐานว่าอเมริกาได้มีการปรึกษา หารือกับจีน ซึ่งก็น่าจะเห็นไปในทำนองเดียวกัน ในต้นเดือนตุลาคม ก็เริ่มมีข่าวเกี่ยวกับการฉ้อฉลของผู้ใกล้ชิดปักกึนเฮ และกำลังกระพือกระแสต่อต้านปักกึนเฮในหมู่ประชาชนไปทั่วเกาหลีใต้ ซึ่งเป็นไปได้ที่จะขยายตัวไปสู่การโค่นล้มตำแหน่งประธานาธิบดีเกาหลีใต้ของปักกึนเฮ
ในที่สุดแล้ว ก็นับว่าเกาหลีเหนือมีความล้ำลึกในการวางแผนทดลองจรวดนำวิถีและระเบิดนิว เคลียร์ จนประสบความสำเร็จในการมีส่วนทำลายแผนการ Pivot to Asia ของอเมริกา สามารถทำลายความสัมพันธ์ใกล้ชิดระหว่างจีนกับเกาหลีใต้ลงได้ สามารถทำลายความพยายามของอเมริกาที่จะผลักจีนให้มาเป็นหนังหน้าไฟเผชิญหน้ากับเกาหลีเหนือแทนตน และสามารถโค่นประธานาธิบดีเกาหลีใต้ .....
จบตอนที่ 4
[3]“ความไม่เชื่อมต่อกันของการเมืองกับการทหาร” เหมาเจ๋อตุงกล่าวถึงความสัมพันธ์ระหว่างการเมืองกับการทหาร
ไว้ในหัวข้อ สงครามกับการเมืองในนิพนธ์เหมาเจ๋อตุง “ว่าด้วยสงครามยืดเยื้อ”
(พฤษภาคม ๑๙๓๘), สรรนิพนธ์เหมาเจ๋อตุง เล่ม ๒ ตอนต้น:
สงครามกับการเมือง
สงครามกับการเมือง
(๖๓) “สงครามคือการต่อเนื่องของการเมือง”เมื่อกล่าวในแง่นี้แล้วสงครามก็คือการเมืองและตัวสงครามเองก็คือการปฏิบัติการที่มีลักษณะการเมือง.ตั้งแต่โบราณกาลเป็นต้นมา
ไม่มีสงครามใด
ๆเลยที่ไม่มีลักษณะการเมืองติดอยู่.สงครามต่อต้านญี่ปุ่นเป็นสงครามปฏิวัติของทั้งประชาชาติชัยชนะของสงครามนี้มิอาจแยกออกจากจุดมุ่งหมายทางการเมืองของสงคราม—ขับไล่จักรพรรดินิยมญี่ปุ่นออกไปและสถาปนาประเทศจีนใหม่ที่มีอิสรภาพและความเสมอภาคมิอาจแยกออกจากเข็มมุ่งทั่วไปที่ให้ยืนหยัดในสงครามต่อต้านและยืนหยัดในแนวร่วม
มิอาจแยกออกจากการระดมประชาชนทั่วประเทศ,มิอาจแยกออกจากหลักการการเมืองต่าง
ๆอาทิการให้นายทหารกับพลทหารเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันการให้กองทัพกับประชาชนเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันและการทำให้กองทหารข้าศึกแตกสลายมิอาจแยกออกจากการปฏิบัติตามแนวนโยบายแนวร่วมเป็นอย่างดีมิอาจแยกออกจากการระดมทางวัฒนธรรม,มิอาจแยกออกจากความพยายามในการช่วงชิงการช่วยเหลือของพลังทางสากลและของประชาชนในประเทศคู่อริ.
พูดสั้น ๆ
ก็คือสงครามนั้นจะแยกออกจากการเมืองไม่ได้แม้สักขณะเดียว.ในหมู่ทหารต่อต้านญี่ปุ่นถ้ามีความโน้มเอียงที่ดูเบาการเมืองโดยถือว่าสงครามเป็นสิ่งโดดเดี่ยวจนกลายเป็นพวกสัมบูรณ์นิยมในสงครามแล้ว
ก็เป็นการผิด ควรที่จะแก้เสีย.
(๖๔) แต่ว่า
สงครามก็มีลักษณะพิเศษของมันเองเมื่อกล่าวในแง่นี้แล้ว
สงครามก็มิใช่ว่าจะเท่ากับการเมืองทั่ว ๆ ไป.“สงครามคือการต่อเนื่องของการเมืองด้วยวิธีการพิเศษ”.เมื่อการเมืองคลี่คลายถึงขั้นที่แน่นอนขั้นหนึ่งไม่สามารถจะรุดหน้าต่อไปเช่นเดิมได้อีกแล้ว
ก็ระเบิดเป็นสงครามขึ้นเพื่อขจัดอุปสรรคบนเส้นทางการเมืองให้หมดไป.
เป็นต้นว่าฐานะกึ่งเอกราชของประเทศจีนเป็นอุปสรรคในการคลี่คลายทางการเมืองของจักรพรรดินิยมญี่ปุ่น
ญี่ปุ่นต้องการจะขจัดอุปสรรคนี้ออกไปฉะนั้นจึงได้ก่อสงครามรุกรานขึ้น.
ส่วนประเทศจีนการกดขี่ของจักรพรรดินิยมเป็นอุปสรรคของการปฏิวัติประชาธิปไตยชนชั้นนายทุนของจีนมานานแล้ว,ฉะนั้นจึงได้มีสงครามปลดแอกเกิดขึ้นหลายต่อหลายครั้งด้วยความพยายามที่จะขจัดอุปสรรคนี้ไปเสีย.
ขณะนี้ญี่ปุ่นใช้สงครามมากดขี่หมายจะมาตัดเส้นทางที่แล่นไปสู่การปฏิวัติของจีนให้ขาดสะบั้นลงโดยสิ้นเชิงเราจึงจำต้องเข้าทำสงครามต่อต้านญี่ปุ่นตัดสินใจแน่วแน่ที่จะขจัดอุปสรรคนี้ไปเสียให้พ้น.
เมื่ออุปสรรคถูกขจัดไปจุดมุ่งหมายทางการเมืองบรรลุผลแล้ว,สงครามก็ยุติ.ถ้าอุปสรรคยังขจัดไม่หมดสิ้นสงครามก็ยังจะต้องดำเนินต่อไปเพื่อบรรลุผลให้ตลอด.
เป็นต้นว่าถ้าภาระหน้าที่ในการต่อต้านญี่ปุ่นยังมิได้ปฏิบัติให้ลุล่วงไปแล้วมีผู้คิดจะหาทางประนีประนอม
ก็ย่อมจะสำเร็จไปไม่ได้เป็นแน่; เพราะถึงแม้ว่าจะได้ประนีประนอมกันด้วยเหตุบางประการ,แต่สงครามก็ยังจะต้องเกิดขึ้น
ประชาชนอันไพศาลจะไม่ยอมเป็นแน่จะต้องทำสงครามต่อไปเพื่อให้จุดมุ่งหมายทางการเมืองของสงครามบรรลุผลโดยตลอด.
ดังนั้นจึงกล่าวได้ว่า,การเมืองคือสงครามที่ไม่หลั่งเลือดและสงครามคือการเมืองที่หลั่งเลือด.
(๖๕) เนื่องจากลักษณะพิเศษของสงคราม จึงต้องมีการจัดตั้งพิเศษชุดหนึ่งวิธีการพิเศษชุดหนึ่งและกระบวนการพิเศษชนิดหนึ่งสำหรับสงคราม.การจัดตั้งนี้ก็คือกองทัพและสิ่งทั้งปวงที่ติดพ่วงมากับกองทัพ.วิธีการนี้ก็คือยุทธศาสตร์และยุทธวิธีที่ชี้นำสงคราม.กระบวนการนี้ก็คือรูปการการเคลื่อนไหวทางสังคมชนิดพิเศษชนิดหนึ่งซึ่งกองทัพที่เป็นคู่อริต่างเข้าตีหรือตั้งรับซึ่งกันและกันโดยนำเอายุทธศาสตร์และยุทธวิธีที่เป็นผลดีแก่ตนและไม่เป็นผลดีแก่ข้าศึกมาใช้.
ดังนั้นความจัดเจนจากสงครามจึงเป็นความจัดเจนพิเศษ.บรรดาผู้ที่เข้าร่วมในสงครามจะต้องสลัดความเคยชินตามปรกติเสียและให้ชินกับสงคราม
จึงจะสามารถช่วงชิงชัยชนะจากสงครามได้.
No comments:
Post a Comment