Monday, January 23, 2017

ยุทธศาสตร์ของอเมริกา vs การแก้เกมของจีน ตอนที่ 2/6

ตอนที่ 2.
4.การตอบโต้ของจีน   One Belt One Road Initiative
ตลอดประวัติศาสตร์ยุคใหม่ของจีน  จีนตระหนักดีถึงจุดอ่อนของตนที่จำต้องพึ่งพาการติดต่อทางทะเลในมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตกโดยเฉพาะอย่างในยุคปัจจุบันที่จีนต้องใช้น้ำมันซึ่งต้องขนส่งมาทางเรือจากมหาสมุทรอินเดียผ่านช่องแคบมะละกาและทะเลจีนใต้อย่างไม่มีทางหลีกเลี่ยง     ในขณะที่กำลังรบทางเรือของจีนก็อ่อนด้อยกว่าศัตรูทั้งในเชิงปริมาณและคุณภาพไม่สามารถปกป้องคุ้มครองเส้นทางเส้นชีวิตนี้ได้เมื่อถึงคราวจำเป็น     ทำให้จีนต้องตกอยู่ในฐานะเป็นฝ่ายที่ถูกกระทำทางยุทธศาสตร์จำต้องหาทางสลัดตัวให้หลุดจากสภาพการณ์นี้

สภาพการเป็นฝ่ายถูกกระทำทางยุทธศาสตร์ [1] นี้เนื่องมาจากข้อจำกัดคือ
1. ในขณะที่เศรษฐกิจของจีนกำลังเติบโตรวดเร็วก็จำเป็นจะต้องใช้เชื้อเพลิงในปริมาณมากซึ่งจีนไม่สามารถผลิตเองได้เพียงพอ ส่วนใหญ่ต้องนำเข้าทางเรือผ่านเส้นทางทรานส์อินโด-แปซิฟิก (Trans Indo-Pacific Sea Routes)

2. กำลังทัพเรือของจีนอ่อนแอ เทคโนโลยีล้าหลัง และมีจำนวนน้อย

3. จีนไม่สามารถมีอิทธิพลทางการเมืองได้ในประเทศกลุ่มอาเซียนแม้ว่าจีนได้ใช้ความพยายามมาหลายสิบปีก็ยังไม่สามารถทำให้ประเทศเหล่านี้หันมาให้การสนับสนุนทางการเมืองต่อจีนได้   สะท้อนให้เห็นว่าอิทธิพลของอเมริกายังมีอยู่สูง  จากสภาพข้อจำกัดนี้ทำให้จีนต้องกำหนดเข็มมุ่งยุทธศาสตร์ขึ้นมาใหม่เพื่อเอาชนะการปิดล้อมหรือในความเข้าใจของจีนก็คือ“การล้อมปราบ”ของอเมริกาโดยใช้ความสามารถที่ไม่มีประเทศใดในโลกมีนั่นคือความสามารถใน“การระดมเคลื่อนที่รวมศูนย์และกระจาย”ทรัพยากรได้อย่างรวดเร็วโดยมีความจำกัดน้อยที่สุด [2]  
เป้าหมายทางยุทธศาสตร์ใหญ่ของจีน
การต้านการล้อมปราบของอเมริกาหรือที่เรียกว่า China Containment Policy นี้เป็นขั้นหนึ่งของยุทธ- ศาสตร์ใหญ่ของจีนในการต่อสู้กับอเมริกาก่อนที่อเมริกาจะประกาศ Pivot to Asia ในเวลาต่อมาคือ
1) โลกหลายขั้ว (คัดค้านลัทธิโลกขั้วเดียวของอเมริกา)
2) จีนเป็นตัวแทนเศรษฐกิจ-วิทยาศาสตร์เทคโนโลยี หลักของโลกสำแดงความล้ำเลิศของระบอบสังคมนิยมที่มีลักษณะเฉพาะของจีนที่นำโดยพรรคคอมมิวนิสต์จีน (โลกทรรศน์วิทยาศาสตร์ (ลัทธิมาร์กซ-เลนิน, ความคิดเหมาเจ๋อตง, ทฤษฎีเติ้งเสี่ยวผิงฯลฯ)เพื่อรักษาเป้าหมายลัทธิโลกหลายขั้ว จีนจะไม่ประกาศตัวว่าเป็นเศรษฐกิจลำดับหนึ่ง ไม่ว่าข้อเท็จจริงจะเป็นอย่างไรก็ตาม แต่จะให้อเมริกาอยู่ในฐานะอันดับหนึ่งของโลกต่อไป เพื่อบังคับให้อเมริกาตกอยู่ในฐานเป็นฝ่ายรับ เป็นฝ่ายถูกกระทำทางยุทธศาสตร์ และปิดตัวเองเข้าเรื่อยๆ นานเท่าที่จะสามารถกระทำได้  จนกระทั่งอเมริกาจะจำนนยอมรับลัทธิโลกหลายขั้ว

การต้านการล้อมปราบของอเมริกา
จากสภาพข้ออ่อนของจีนและความจำเป็นที่จะต้องมีฐานะเป็นฝ่ายกระทำในทางยุทธศาสตร์ในการต่อสู้กับอเมริกา ในรูปแบบของสงครามที่ไม่ต้องรบจีนจะต้องลบข้ออ่อนโดยกำหนดเข็มมุ่งดังนี้
ระยะก่อน Pivot to Asia ของอเมริกา

(1) กำหนดเป้าหมายการใช้พลังงานของชาติลดการพึ่งพาน้ำมันในระยะยาวนั่นคือการใช้ไฟฟ้าพลังนิว เคลียร์เป็นหลัก    แม้จีนจะมีการใช้กังหันลมผลิตกระแสไฟฟ้าที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลกก็ตามแต่ในความเป็นจริง ไฟฟ้าที่ได้จากกังหันลมมีความไม่สม่ำเสมอจนไม่สามารถให้หลักประกันความมั่นคงในโครงข่ายไฟฟ้า(Power Grid) ของประเทศได้    จนมีข้อสรุปที่น่าตกใจว่า แนวความคิดเรื่องกังหันลมผลิตไฟฟ้านั้นไม่มีประสิทธิภาพพอและล้มเหลวที่จะเชื่อมต่อกับโครงข่ายไฟฟ้าของประเทศ

(2) เสริมความสัมพันธ์กับประเทศในเอเชียกลางในระดับเข้มข้นผ่าน Shanghai Co-operation Organization โดนเน้นรัสเซียเพื่อให้เข้าถึงแหล่งน้ำมันและก๊าซทางบก

(3) พัฒนากองทัพปรับโครงสร้างบัญชาการพัฒนาเทคโนโลยีทางการทหารฟื้นฟูระบบทหารท้องถิ่น-ทหารบ้าน  เร่งพัฒนากองทัพเรือและขยายปฏิบัติการเข้าไปในมหาสมุทรอินเดีย

(4) สร้างกรณีตึงเครียดบริเวณหมู่เกาะเตียวหยวี (เซนคะคุ) กับญี่ปุ่นที่ญี่ปุ่นยึดไปตามสนธิสัญญาชิโมโนเซกิ    และเมื่อสงครามโลกครั้งที่ 2 ยุติลง อเมริกาก็ไม่คืนหมู่เกาะนี้ให้จีนนอกจากนี้จีนยังเข้ายึดครองหมู่เกาะและแก่งปะการังในทะเลจีนใต้อย่างเปิดเผยทั่ง 2 กรณี น่าสงสัยว่า จีนมีเจตนา ให้ญี่ปุ่นใช้เป็นข้ออ้างในการสร้างกองทัพขึ้นมาใหม่แก้ไขรัฐธรรมนูญจนสามารถปลดแอกตัวเองจากการยึดครองของอเมริกาในภายหลังเปิดทางให้ญี่ปุ่นเข้าร่วมแกนโลกหลายชั้ว จีน-รัสเซีย



กรณีพิพาทหมู่เกาะเตียวหยวี
(5) เปิดการรุกทางเศรษฐกิจและวัฒนธรรมเข้าไปในอัฟริกาเน้นที่ เคนยา เอธิโอเปีย และอัลจีเรีย
ระยะหลัง Pivot to Asia ของอเมริกาเริ่มปฏิบัติการ
เมื่ออเมริกาเริ่มดำเนินนโยบาย Pivot to Asia เต็มตัวในปี 2013 จีนจึงประกาศเข็มมุ่งยุทธศาสตร์ One Belt One Road Initiative ในช่วงเวลาใกล้เคียงกัน One Belt หมายถึง “เข็มขัด”  ในที่นี้หมายถึงเส้นทางทางทะเล ในระยะแรก จีน มักจะแสดงเส้นทางขน ส่งทางทะเล ในแปซิฟิกตะวันออก ลงใต้เข้าสู่ทะเลจีนใต้ แล้วผ่านช่องแคบมะละกา เข้าสู่มหาสมุทรอิน เดีย ซึ่งเป็นเส้นทางขนส่งตามปรกติของจีนอยู่แล้ว จนมีคนแปลความหมาย Belt ว่าเป็น “แถบ” เนื่องจากมันไม่มีลักษณะของ “เข็มขัด” เลย อย่างไรก็ดีเราก็จะทราบภายหลังว่า จีนจงใจจะใช้คำว่า “เข็มขัด” จริง ๆ เมื่อเส้นทาง “ช่องทางตะวันออกเฉียงเหนือ” (North-East Passage) เข้าสู่ทะเลอาร์คติกเปิดเผยขึ้น 

One Road หมายถึง “ถนน” ในที่นี้ก็คือ ทางสายไหม ที่เคยเชื่อมการติดต่อระหว่างจีนกับโลกตะวันตก แต่ทางสายไหมยุคใหม่ ไม่ได้เป็นแต่เพียงถนน  หากยังเป็นทางรถไฟ  ท่อส่งน้ำมัน  ท่อแก็ส ที่พักสิน ค้า ศูนย์การขนส่ง  ศูนย์ซ่อมบำรุง  ศูนย์อุตสาหกรรม  สถานีการค้า  เส้นทางท่องเที่ยว ฯลฯ และก็ไม่ ได้เป็นทางเส้นเดียวหากมีหลากหลายเส้นทาง ที่ผ่านเข้าไปในพื้นที่เอเชียกลางรัสเซียและตะวันออกกลาง เชื่อม จีน ผ่านยูเรเชีย ไปสู่ยุโรป หรือในทางกลับกับ จากยุโรปสู่จีน

เค้าร่างของ One Belt One Road Initiative

ไม่ว่า One Belt One Road Initiative จะใช้ถ้อยคำสวยหรูเพียงใดเนื้อหาของมันก็คือ
1. ต้านการล้อมปราบของอเมริกา   โดยเลี่ยงจุดแข็งของอเมริกาในทะเล ทะลวงจุดอ่อนของอเมริกาในเอเชียกลางเมื่อทะลวงได้แล้ว เร่งระ  ดมกำลังทั้งหมดไปเสริมความมั่นคงโดยเร็วที่สุด สร้างรากฐานทางเศรษฐกิจให้มั่นคง ใช้เส้นทางทางบกในการเชื่อมต่อกับแหล่งพลังงานและทรัพยากรต่าง ๆ การขนส่งสินค้า ในเอเชียกลาง

เอเชียกลาง
ในขณะเดียวกัน ก็เคลื่อนไหวสร้างจุดสนใจให้เกิดขึ้นในทะเลจีนใต้และแปซิฟิกตะวันตก ให้เป็นไปตามสภาพที่อเมริกาต้องการที่จะเห็น     ให้อเมริกาเร่งรวมศูนย์ทุ่มกำลังของตนมาที่ทะเลจีนใต้ และแปซิฟิกตะวันออก และในทางการเมือง ให้อเมริกาติดหล่มอยู่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และจำต้องผ่อนปรนต่อญี่ปุ่นให้ญี่ปุ่นมีโอกาสสร้างเงื่อนไขปลดแอกจากอเมริกา
ร่วมมือกับรัสเซียในการสร้างความมั่นคงในเอเชียกลาง และดึงญี่ปุ่นเข้าร่วมแกน “โลกหลายขั้ว” ในฐานะ “หุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์” ที่ไม่ใช่ “พันธมิตรทางทหาร” แบบที่อเมริกาใช้

2. ขยายแนวรบออกไปเกินเลยออกไปจากเอเชียกลางและแปซิฟิกตะวันตก
ให้ลึกเข้าไปในตะวันออกกลาง อัฟริกาเหนือ (และอัฟริกาตะวันตกในระยะต่อไปเพื่อประกันการเข้าถึงมหา สมุทรแอตแลนติกทางบกจากทิศตะวันออก) และอเมริกาใต้ ที่อเมริกาไม่สามารถใช้อิทธิพลโดยตรงของตนได้

One Belt หมายถึงเส้นทางสายไหมทางทะเลเหมือนอย่างที่เป็นอยู่ในปัจจุบันเพียงแต่เพิ่มกิจกรรมอื่นๆนอกเหนือไปจากการเดินเรือ One Belt นี้ยังหมายถึงการเชื่อมต่อกับอัฟริกาในระยะต่อไปด้วย เมื่อ One Road มั่นคงแล้ว นอกจากนี้ One Belt ยังจะขยายออกไปสู่อเมริกาใต้ทางแอตแลนติก และทางแปซิฟิก แปรสภาพจีนจากฝ่ายถูกล้อม ไปเป็นฝ่ายล้อมอเมริกาในที่สุด แทนที่จะใช้การทหาร จีนกลับใช้ การเมือง เศรษฐกิจ และวัฒนธรรมเป็นอาวุธหลัก  ว่าไปแล้ว One Belt ก็คือการเชื่อมต่อการตั้งรับทางยุทธศาสตร์ของ One Road ไปสู่การรุกทางยุทธศาสตร์กลับไปล้อมอเมริกานั้นเอง

One Road หมายถึงเส้นทางสายไหมดั้งเดิมที่เชื่อมระหว่างยุโรปกับจีนผ่านเอเชียกลางในยุคใหม่ทางสายไหมไม่ใช่แต่เพียงเป็นเส้นทางการค้าแต่เป็นเส้นทางส่งน้ำมันและก๊าซให้จีนและยังหมายถึงฐานทางเศรษฐกิจใหม่ของโลก (จีน - เป็นป้อมใหญ่ทางการผลิตและเอเชียกลางเป็นกำแพงเมืองจีนยุคใหม่) ที่ไม่มีใครสามารถปิดล้อมและตีให้แตกได้อีก


เส้นทางส่งแก๊สและน้ำมันจากเอเชียกลางมาสู่จีน
ดังนั้น One Road จึงเป็นด้านหลักที่จีนจะต้องสร้างให้เกิดเป็นจริงได้ให้รวดเร็วที่สุดโดยใช้ความสามารถในการระดมเคลื่อนย้ายรวมศูนย์และกระจายทรัพยากรทั้งหลายที่จีนมีอยู่ไปสู่เอเชียกลางโดยมี Shanghai Cooperation Organization (SCO) เป็นผู้ให้การคุ้มกันนอกจากนี้ SCO ยังเป็นผลประโยชน์ร่วมทางยุทธ ศาสตร์ของจีนกับรัสเซีย

การสร้างแนวร่วมกับรัสเซียและดึงญี่ปุ่นเข้าร่วมแกนจีน-รัสเซีย-ญี่ปุ่นจะมีผลสะเทือนอย่างสำคัญต่อภูมิรัฐ ศาสตร์ของโลกและทำให้ลัทธิโลกหลายขั้วเกิดเป็นจริงขึ้นมาได้
ในขณะเดียวกันจีนก็สร้างจุดสนใจขึ้นในทะเลจีนใต้และแปซิฟิกตะวันตกให้สอดคล้องกับความต้องการของอเมริกาในการใช้เป็นข้ออ้างเข้ามีแสดงบทบาทอย่างเต็มที่ตามนโยบาย Pivot to Asia ปิดล้อมจีนโดยละทิ้งที่มั่นเดิมของตนในยุโรปและตะวันออกกลาง

The Northeast Passage     ในเดือนสิงหาคม 2013 จีนส่งเรือสินค้าชื่อ หย่งเซิง ขนาดระวางขับน้ำ 19,000 ตันจากเมืองท่าต้าเหลียน มุ่งสู่เมืองท่า Rotterdam ของเนเธอร์แลนด์ ผ่านเส้นทางที่เรียกว่าช่อง  ตะวันออกเฉียงเหนือ NEP (Northeast Passage) โดยเดินทางขึ้นสู่แปซิฟิคเหนือ เข้าช่องแคบ แบริ่ง  สู่ย่านอาร์คติคของรัสเซีย มุ่งสู่ทะเลแบเรนทส์(Barents Sea) และทะเลเหนือ ตามลำดับ      จนถึงเมืองท่ารอตเตอร์ดัม เนเธอร์แลนด์ ซึ่งใช้เวลาเพียง 35 วัน เมื่อเทียบกับ 48 วันหากใช้เส้นทางดั้งเดิม ผ่านช่องแคบมะละกา คลองซูเอซและ ทะเลเมดิเตอเรเนียน นอกจากนี้ต้นทุนการขนส่งเมื่อรวมค่าใช้บริการนำร่องน้ำแข็งของรัสเซีย ก็ยังต่ำกว่าเส้นทางขนส่งเดิมมาก

NEPนี้ใช่ว่าจะมีความสำคัญแต่เฉพาะจีน แต่ก็มีความสำคัญมากต่อ เกาหลีและญี่ปุ่นด้วย ที่จะสามารถส่งสินค้าไปยุโรปและเข้าถึงแหล่งทรัพยากรธรรมชาติในย่านอาร์คติกของรัสเซีย 


เส้นทางเดินเรือในทะเลอาร์คติคของรัสเซีย จากทะเลชุคชีจนถึงทะเลแบเรนท์ส
ที่เส้นทาง NEP เป็นไปได้ก็เนื่องจาก น้ำแข็งทะเลอาคติคละลายเปิดช่องทางให้สามารถเดินเรือได้อย่างน้อย 2 เดือนในหนึ่งปีโดยไม่ต้องใช้เรื่อตัดน้ำแข็งนำทาง   และเทคโนโลยีเรือตัดน้ำแข็งสมัยใหม่ที่ทำให้สามารถสร้างเรือตัดน้ำแข็งขนาดใหญ่(10,000 ตัน)ที่สามารถตัดน้ำแข็งได้หนากว่า 4 เมตรได้เพื่อนำทาง เรือสินค้าขนาดใหญ่ผ่านทะเลอาร์คติคในฤดูหนาว จะทำให้สามารถเดินเรือในเส้นทาง NEP นี้ได้ตลอดปี ที่สำคัญยิ่งกว่านี้ก็คือความสัมพันธ์อันแน่นแฟ้นระหว่างจีนกับรัสเซีย     ทำให้รัสเซียเปิดเส้นทางในทะเลอาร์คติคของรัสเซียให้กับจีนรวมทั้งการให้บริการเรือตัดน้ำแข็งนำร่องในฤดูหนาว

ด้วยเส้นทาง NEP อเมริกาไม่สามารถที่จะปิดช่องแคบแบริงได้ เนื่องจากจีนสามารถเดินเรือในน่านน้ำรัสเซีย และขีดความสามารถทางทหารของอเมริกาในย่านอาร์คติดมีต่ำ เนื่องจากอเมริกาวางยุทธศาสตร์ไว้ในทะเลที่อยู่ในย่านเส้นแวงที่ต่ำลงมา และรวมศูนย์กำลังไว้ในแปซิฟิกตะวันออกซุ่มรอทำลายกองทัพ เรือจีนในทะเลจีนใต้เมื่อมีเงื่อนไข

การเปิดเส้นทางเดินเรือ NEP ช่วยให้รัสเซียเข้าถึงแหล่งทรัพยากรอันได้แก่ น้ำมันและก๊าช รวมไปถึงแร่ธาตุต่าง ๆ มากมายในย่านอาร์คติคของตนได้ง่ายขึ้น และช่วยให้รัสเซียสามารถควบคุมทางยุทธศาสตร์และประกันสิทธิอธิปไตยทางทะเลในทะเลย่านขั้วโลกเหนือเป็นส่วนใหญ่ตามสนธิสัญญา  สวอลบาร์ด(Svalbard Treaty,1920) ความสัมพันธ์ระหว่างจีนกับรัสเซียที่ดีขึ้นเรื่อย ๆ อันเป็นผลมาจาก Pivot to Asia ชองอเมริกา  ช่วยให้จีนเปิดทางออกทางทะเลในย่านอ่าร์คติก ทำให้วง One Belt สมบูรณ์


ภาพเต็มของเข็มมุ่งOne Belt ของจีน
5. ช่องโหว่ของ Pivot to Asia
1. ยุโรป :  NATO Expansion,รัฐประหารฝ่ายขวาจัดในยูเครน, โนโวรุสเซีย, และรัสเซียผนวกไครเมีย
เมื่ออเมริกามอบให้ NATO แสดงบทบาทนำในยุโรปในการปิดล้อมรัสเซียโดยการขยายเขตอิทธิพลเข้าไปครอบงำประเทศยุโรปตะวันออก     อดีตสมาชิกสนธิสัญญาวอร์ซอว์ และประเทศอดีตสหภาพโซเวียตให้ร่วมมือกับ NATO ต่อต้านรัสเซีย ปฏิบัติการนี้เรียกว่า NATO Expansion


NATO สร้างความตึงเครียดทางการเมืองในยุโรปตะวันออกโดยเข้าไปแทรกแซงและสนับสนุนให้กลุ่มฟาสซิสต์ก่อรัฐประหารในยูเครนเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2014 ซึ่งทำให้รัสเซียต้องออกมาสนับสนุนดอนบาส (ยูเครนตะวันออกซึ่งประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวรัสเซีย) ให้ประกาศตัวเป็นอิสระไม่ยอมขึ้นต่อรัฐบาลกลางยูเครน    และในเดือนมีนาคม 2014 รัสเซียผนวกไครเมียเข้าเป็นของรัสเซียก่อนที่ NATO จะเข้ายึดครอง ทำให้ NATO ตอบโต้ด้วยการแซงชั่นทางเศรษฐกิจต่อรัสเซีย    นอกจากนี้ยังมีการเคลื่อนไหวทางทหารตลอดชายแดนที่ติดกับรัสเซียพร้อมกับสนับสนุนให้รัฐบาล เคียฟ ปราบปรามดอนบาส(Donbasหมายถึงดินแดนคุ้งแม่น้ำดอนที่ประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวคอสแซครัสเซีย

ด้วยกำลังซึ่งล้มเหลวจนกระทั่ง ดอนบาส ประกาศก่อตั้งสาธารณรัฐประชาชนโดเนียทสค์(Donetsk) และลูกันสค์(Luhansk – ออกเสียงท้องท้องถิ่นว่า “ลูกันสค์”) แล้วรวมตัวเรียกว่าสหภาพสาธารณรัฐประชาชนโนโวรุสเซีย(Novorossiya)เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2014 ซึ่งยังสงวนสิทธิเป็นส่วนหนึ่งของประเทศยูเครนในขณะเดียวก็แสดงท่าทีว่าอาจเข้าร่วมสหพันธรัฐรัสเซีย       นอกจากนี้ยังเคลื่อนไหวกับพื้นที่อื่นของยูเครนและมอลโดวาที่ประชากรมีเชื้อสายรัสเซียอาศัยอยู่เพื่อจะให้มารวมกันเป็น โนโวรุสเซีย อีกครั้ง
การที่ NATO เข้าไปปฏิบัติการสนับสนุนฝ่ายขวาให้ก่อรัฐประหารในยูเครนส่วนหนึ่งก็เนื่องจากเห็นว่ายูยูเครนเป็นเพียงประเทศเดียวในยุโรปตะวันออกที่มีศักยภาพทางการทหารพอที่จะประมือกับรัสเซียได้และตั้งใจที่จะใช้ไครเมียของยูเครนเป็นฐานทัพเรือเพื่อปิดล้อมรัสเซียในทะเลดำ 
Donetsk และ Luhansk ยูเครนตะวันออกเฉียงใต้
โดยไม่ดาดคิดว่าดอนบาส(Donbas) ซึ่งประชากรส่วนใหญ่มีเชื้อสายรัสเซีย จะแยกตัวออกจากยูเครนและรัสเซียจะผนวกไครเมีย   ต่อมาเมื่อรัฐบาลฟาสซิสต์เคียฟ (รัฐบาลกลางยูเครน) ส่งกองทัพเข้าปราบปรามดอนบาสก็โดยไม่คาดคิดเช่นกันว่ากองกำลังอาสาสมัครฟาสซิสต์และกองทัพแห่งชาติยูเครนที่ดูเข้มแข็งนั้นไร้ประสิทธิภาพในการรบโดยสิ้นเชิง    ถูกกองกำลังอาสาสมัครประชาชนโนโวรุสเซียขนาดเล็กๆบดขยี้เอาจนแทบไม่เหลือซาก     ครั้งแรกในการรบฤดูร้อนปี 2014 และอีกครั้งหนึ่งในฤดูหนาวต้นปี 2015 ที่ทำ ลายความสามารถทางการทหารของยูเครนลงไปจนเกือบหมดสิ้น   ไม่สามารถเป็นหัวหอกของ NATO ในการต่อสู้กับรัสเซียได้อีกต่อไป เนื่องมาจากสภาพภายในของยูเครนเน่าเฟะเต็มไปด้วยการโกงกินจนเกือบมีสภาพเป็นรัฐที่ล้มเหลวภายใต้การนำของพวกฟาสซิสต์-นีโอนาซี
รัสเซียกับจีนโผเข้ากอดกัน
การแซงชั่นทางเศรษฐกิจและการเคลื่อนไหวทางทหารของ NATO ที่กดดันรัสเซียอย่างหนักนี้เป็นเงื่อน ไขสำคัญที่บีบบังคับให้รัสเซียต้องกระชับความสัมพันธ์กับจีนทางเศรษฐกิจ การเมืองและการทหาร อย่างช่วยไม่ได้       ความสัมพันธ์ที่ลึกซึ้งระหว่างรัสเซียกับจีนนี้เป็นสิ่งที่อเมริกาได้ใช้ความพยายามอย่างหนักป้องกันไม่ให้เกิดขึ้นตลอดยุคสงครามเย็นและเป็นส่วนหนึ่งของ China Containment Policy ที่ต้องแยกจีนกับรัสเซียให้ออกจากกัน  แต่ Pivot to Asia ของ Obama ได้ทำลายความพยายามที่มีมายาวนานกว่าครึ่งศตวรรษของอเมริกานี้ลงไปสิ้น    อันจะทำให้ นโยบาย China Containment ล้มคว่ำลง และให้ผลในทางตรงกันข้ามทำให้อเมริกาตกอยู่ในวงล้อมของจีนและรัสเซียเสียเอง
2. ตะวันออกกลาง
Arab Spring
ในปลายสมัยของObamaครั้งแรกเกิดปรากฎการณ์ Arab Spring เกิดการลุกขึ้นประท้วงรัฐบาลอย่างขนานใหญ่ในประเทศตะวันออกกลาง   เริ่มขึ้นที่บาห์เรนแต่การลุกขึ้นสู้ครั้งนั้นถูกปราบปรามลงได้แล้วก็เกิดเหตุ การณ์เช่นเดียวกันในอียิปต์ ประธานาธิบดี มูบารัค   ถูกโค่นลงเป็นผลทำให้ โมฮาหมัด มอ์ร์ซี  แห่งพรรค Muslim Brotherhood ได้รับเลือกตั้งให้เป็นประธานาธิบดี    ซึ่งเป็นสถานการณ์ที่อเมริกาไม่ได้คาดหมายมาก่อน ในทำนองเดียวกันก็เกิดการลุกฮือของประชาชนในตูนิเซียจนรัฐบาลก็ถูกโค่นลงไปจนกระทั่งเกิด
รัฐบาลลิเบียสามารถที่จะควบคุมสถานการณ์เอาไว้ได้เนื่องจากอเมริกายังไม่มีแผนการแน่ชัดในเรื่องนี้ จึงให้ NATO จัดการไปก่อน โดยให้ UAE เป็นผู้ขอความช่วยเหลือจาก NATO เข้าแทรกแซงลิเบียโดยสนับ สนุนฝ่ายกบฏจนกระทั่งสังหารกัดดาฟีได้ในที่สุดและทำให้ลิเบียมีสภาพถูกทำลายยับเยิน    เหตุการณ์ที่ตามมาคือ ฝ่ายกบฏกลุ่มต่างๆต่อสู้แก่งแย่งความเป็นใหญ่และอาวุธที่ลิเบียเคยสะสมเอาไว้ไหลทะลักเข้าสู่สถานการณ์เลวร้ายจนไม่มีใครสามารถควบคุมได้     ต่อจากนั้นไฟสงครามลุกลามไปทั่วอัฟริกาตอนล่างเกิดการแพร่ตัวของกลุ่มก่อการร้ายอิสลามทั้งนี้เป็นผลมาจากอเมริกาไม่ได้เตรียมตัวมาก่อน      ไม่มีแผนรองรับ สะท้อนออกมาจากการที่ NATO ไม่ได้ปฏิบัติการทางการเมืองใด ๆ ต่อเนื่องในลิเบียจนกระทั่งเริ่มมีผู้อพยพจากอัฟริกาเข้าไปถึงยุโรป      ลิเบียกลายเป็นรัฐที่ล้มเหลวแต่ประสบการณ์นี้จะมีผลต่อไปในแผนการต่าง ๆ ในโยบาย Pivot to Asia เมื่อObamaเข้าเป็นประธานาธิบดีในสมัยที่ 2
กลุ่มเป็นกลางหรือว่าพวกสุดขั้ว(Moderates or Extremists)
ในทำนองเดียวกันกับลิเบียก็เกิดการจลาจลติดอาวุธขึ้นในซีเรียเริ่มตั้งแต่ปี 2011   การจลาจลขยายตัวออกไปทั่วซีเรียแต่ก็ถูกรัฐบาลซีเรียสกัดปราบปรามเอาไว้ได้บางส่วนซึ่งบางส่วนก็หลบหนีเข้าไปในตุรกีซึ่งในปี 2012 หลังการประกาศ Pivot to Asia ของโอบมาจึงได้มีการตั้งกลุ่มต่อต้านรัฐบาลซีเรียเป็น FSA (Free Syria Army) ที่ได้รับการสนับสนุนจาก NATO ผ่านตุรกีแล้วส่ง FSA กลับเข้าไปในซีเรียเพื่อโค่นรัฐบาลอัสซาด  ในปีเดียวกันนั้นก็เกิดขบวนการอิสลามหัวรุนแรงลัทธิวะหะบี ANF (Al-Nusra Front) ซึ่งเป็นองค์การในเครือ al-Qaeda ที่มี UAEและซาอุดิอาระเบียเป็นผู้ให้การสนับสนุนเพื่อรวบรวมกำลังฝ่ายต่อต้านรัฐบาลซีเรียที่กระจัดกระจายอยู่แล้วแปรมาเป็นขบวนนักรบมุสลิมจิฮาดนิยมลัทธิวาฮาบิ

รัฐบาลซีเรียต้องกระจายกำลังออกประกอบสภาพการบัญชาที่ผิดพลาดทำให้ตกอยู่ในฐานะฝ่ายถูกกระทำเขตอำนาจถูกจำกัดแคบลงเรื่อยๆฐานที่มั่นต่างๆถูกกบฏปิดล้อมเอาไว้เกือบทั้งหมดแต่ฝ่ายกบฏก็ยังมีกำ ลังไม่พอ    จึงต้องนำเข้ากำลังจากต่างชาติโดยประเทศตะวันตกเปิดทางให้มีการรับสมัครนักรบจิฮาดกัน อย่างเปิดเผย     นอกจากนี้ฝ่ายกบฏยังใช้ยุทธวิธีสยดสยองสังหารหมู่ประชาชนและเชลยศึกระเบิดฆ่าตัวตาย ใช้อาวุธเคมีฯลฯ มาทำลายขวัญสู้รบของฝ่ายรัฐบาลแต่ให้ผลทางกลับก็คือฝ่ายรัฐบาลต้องปักใจสู้ตาย    ในอีกทางหนึ่งก่อให้เกิดผู้อพยพลี้ภัยเข้าไปอยู่ในจอร์แดนและตุรกีและบางส่วนของผู้อพยพลี้ภัยเหล่าได้ข้ามเข้าไปในยุโรปมากขึ้นเรื่อยๆสถานการณ์ในปี 2013 จึงเป็นการตรึงกันอยู่กับที่อย่างกระจัดกระ จาย ทั้ง 2 ฝ่ายไม่มีกำลังพอที่รุกรบกันได้เปิดโอกาสให้ ISIS จะเข้ามาอุดช่องว่างดังกล่าว
ISIS
ในต้นปี 2013 เมื่ออเมริกาประกาศดำเนินนโยบาย Pivot to Asia เต็มตัวแล้วในซีเรียเกิดขบวนการ IS (Islamic State)หรือ Daesh นี้เป็นขบวนนี้อ้างว่าแยกออกมาจาก al-Qaeda แต่ยังคง ยึดถือลัทธิวาอาบิ และได้รับการสนับสนุนจากซาอุดิอาระเบีย ทั้งนี้เพื่อต้านยันอิทธิพลของอิหร่านในซีเรียและอิรักในปี 2013 นี้เองเนื่องจากวาฮาบิซาอุดิอาระเบียไม่มีกำลังพอจึงต้องหากำลังจากอดีตทหารอิรักในสมัยซัดดัมซึ่งนับถือนิกายสุหนี่ ที่กำลังทำสงครามจิฮาดต่อสู้การยึดครองอิรักของอเมริกา  ที่กำลังต้องการการสนับสนุนอย่างหนัก  แล้วจัดตั้งเป็นขบวนการ ISIL (Islamic State of Iraq and Levant) ขึ้นมาในภาคเหนือของอิรัก แล้วเข้ายึดครองโมซูลและทุ่งน้ำมันบนแม่น้ำไทกริส ไว้เป็นฐานปฏิบัติการที่จะป้องกันอิหร่านทางตะวันออก และขยายเข้าไปในซีเรียทางตะวันตกเฉียงเหนือเข้ายึดครองทุ่งน้ำมันบนฝั่งแม่น้ำยูเฟรติสเพื่อปิดช่องว่างที่ฝ่ายกบฏซีเรียยังยึดไม่ได้  IS เมื่อขยายพื้นที่ปฏิบัติการเข้าไปในซีเรียนี้ จึงกลายมาเป็นISIS (Islamic State of Iraq and Syria) แต่อเมริกาจงใจที่จะเรียกว่า ISIL (Islamic State of Iraq and Levant) เพื่อแยก IS ในซีเรียและอิรักออกจากกันและตนจะเอาใจใส่เฉพาะ IS ในอิรักเท่านั้น

ความเคลื่อนไหวของ ISIS ตามแนวแม่น้ำยูเฟรติสในซีเรีย และไทกริสในอิรัก ปี 2014
จบตอนที่ 2.
[1]   ฐานะการเป็นฝ่ายกระทำและฝ่ายถูกกระทำคัดจากหมายเหตุผู้ตัดสำเน่า  ในนิพนธ์เหมาเจ๋อตุงเรือง ปัญหายุทธศาสตร์ในสงครามจรยุทธ์ต่อต้านญี่ปุ่น (พฤษภาคม ๑๙๓๘), สรรนิพนธ์เหมาเจ๋อตุง เล่ม ๒ ตอนต้น ฉบับภาษาไทย สำนักพิมพ์ภาษาต่างประเทศ ปักกิ่ง  ๑๙๖๘, ฉบับเผยแพร่ใหม่ ๒๐๑๖ สำนักพิมพ์สื่อแสงสว่าง
ฐานะการเป็นฝ่ายกระทำและฝ่ายถูกกระทำ นี่เป็นหัวข้อยุทธศาสตร์ที่สำคัญที่สุด ที่มีผลต่อการปฏิวัติ  รวมไปถึงการแก้ปัญหาประจำวันในชีวิตส่วนตัวของปัจเจกบุคคล ไปถึงระดับยุทธวิธี ทั้งในทางการเมืองและการทหาร ในทางประวัติศาสตร์ พลังการผลิตของมนุษย์ที่ก้าวหน้ามาจนทุกวันนี้ ก็เกิดจากความต้องการที่มนุษย์จะเป็นฝ่ายกระทำต่อธรรมชาติ ในขณะที่ต้องทนเป็นฝ่ายถูกการกระทำจากธรรมชาติตลอดมา
เป็นธรรมดาของกฎความขัดแย้ง ที่มี ๒ ด้านที่ตรงกันข้ามกันดำเนินความสัมพันธ์กันทั้งที่เป็นแบบปฏิพัทธ์ (เกื้อกูลกัน) หรือแบบปฏิปักษ์ (ต่อสู้กัน) ณ ขณะหนึ่ง ๆ ด้านหนึ่งจะดำรงเป็นด้านหลักและอีกด้านหนึ่งเป็นด้านรองเสมอ  ด้านหลักจะเป็นผู้กำหนดความเป็นไปของด้านรอง  ภาวะนี้เรียกว่า “ฝ่ายกระทำ” ส่วนด้านรองที่ถูกกำหนดโดยด้านหลักเรียกว่า “ฝ่ายถูกกระทำ”(โปรดอ่าน “ว่าด้วยความขัดแย้ง” ในสรรนิพนธ์เหมาเจอตุง เล็มที่ ๑ ตอนปลาย)
ฝ่ายกระทำมีเสรีภาพสามารถกำหนดให้ฝ่ายถูกกระทำเคลื่อนไหวไปตามความต้องการของตนได้ เช่นเราต้อนควายไปเลี้ยงในทุ่งหญ้า เราเป็นฝ่ายกระทำ และควายเป็นผู้ถูกกระทำ แต่เมื่อควายเตลิดหนีไปทุ่งอื่นเราต้องตามไปต้อนควายกลับมา ในเวลาเช่นนี้ ควายเป็นผู้กระทำ บังคับให้เราต้องไล่ติดตามควายไป ตอนนี้ เราเป็นผู้ถูกกระทำ อย่างไรก็ตามในสภาพทั่วไป เราก็ยังเป็นฝ่ายกระทำอยู่แต่สูญเสียความเป็นฝ่ายกระทำไปชั่วคราวเท่านั้น
ปัจจัยของความเป็นฝ่ายกระทำก็คือ เสรีภาพที่จะกระทำหรือไม่กระทำการใด ๆ ในความสัมพันธ์กับฝ่ายตรงกันข้าม นั่นคือ เสรีภาพในการเคลื่อนไหวตามอำเภอใจของเราและในขณะเดียวกันก็มีอิทธิพลอำนาจกำหนดให้ฝ่ายตรงกันข้ามเคลื่อนไหวไปตามที่เราต้องการ
เส้นแบ่งระหว่างความเป็น “ฝ่ายกระทำ” กับ “ฝ่ายถูกกระทำ” นั้นบางมาก ด้านที่ฝ่ายกระทำ อาจเปลี่ยนไปเป็นฝ่ายถูกกระทำ ได้ในชั่วพริบตา หากค้านนั้นสูญเสียความสามารถในการยึดกุมเงื่อนไขปัจจัยในการเป็นฝ่ายกระทำของตนไปแม้เพียงชั่วพริบตา ในขณะเดียวกันในด้านที่เป็นฝ่ายถูกกระทำ ก็สามารถช่วงชิงเงื่อนไขปัจจัยในการเป็นฝ่ายกระทำมาได้ในชั่วพริบตานั้นมาเป็นของตนได้ก็จะกลายเป็นฝ่ายกระทำไปในทันที ภาวะเช่นนี้เรียกว่า “จุดพลิกผัน”
“จุดพลิกผัน” นี้ไม่ได้เกิดขึ้นมาลอย ๆ แต่เป็นจุดที่ฝ่ายถูกกระทำใช้ความพยายามไปช่วงชิง เงื่อนไขปัจจัยในการเป็นฝ่ายกระทำมาได้
การเป็นฝ่ายกระทำ มีได้ทั้งในทางการเมืองและการทหาร โดยทางประวัติศาสตร์และยุทธศาสตร์แล้วฝ่ายปฏิวัติเป็นฝ่ายประทำ และฝ่ายปฏิกิริยาเป็นฝ่ายถูกกระทำ แต่ในระยะผ่านทางประวัติศาสตร์นี้ ฝ่ายปฏิวัติและฝ่ายปฏิกิริยาผลัดเปลี่ยนกันเป็นฝ่ายกระทำกันไปมา โดยเฉพาะในตอนเริ่มแรกของการปฏิวัติ ชนชั้นปกครองปฏิกิริยาได้กระทำการกดขี่ต่อประชาชนผู้ถูกปกครอง ฝ่ายปฏิกิริยาเป็นฝ่ายกระทำ จนทำให้เกิดการต่อต้านการกดขี่ของผู้ปกครองโดยประชาชน ตอนนี้ฝ่ายประชาชนกลับเป็นฝ่ายกระทำ  จากนั้นฝ่ายผู้ปกครองก็ปราบปรามการต่อต้านของประชาชน ผู้ปกครองเป็นฝ่ายกระทำ ..... จนกระทั่งถึงเกิดสงครามปฏิวัติของประชาชน ฝ่ายปฏิวัติจึงเป็นฝ่ายกระทำ จนการปฏิวัติได้รับชัยชนะ ผู้ปกครองถูกกระทำจนต้องถูกโค่นล้มออกไป นี่เป็นท่วงทำนองประวัติศาสตร์ ตลอดระยะประวัติศาสตร์ ประชาชนผู้ถูกกดขี่จะตอบโต้และพลิกสถานการณ์เป็นฝ่ายกระทำในที่สุดเสมอ
เมือในทางประวัติศาสตร์ และทางยุทธศาสตร์ ฝ่ายปฏิวัติเป็นฝ่ายผู้กระทำ ปัญหาแท้จริงกลับมาเป็นในทางยุทธวิธี ที่มักก่อความเสียหายที่ไม่จำเป็นต่อฝ่ายปฏิวัติ เนื่องจากไม่สามารถยึดกุมยุทธศาสตร์การเป็นฝ่ายกระทำไปใช้ได้ ซึ่งอาจเนื่องมาจากไม่มีวิธีคิด ไม่มีความสันทัดจัดเจน หรือไม่มีอะไรเลย แม้มีดุลกำลังเหนือกว่า เป็นฝ่ายกระทำตั้งแต่เริ่มต้น ในตอนท้ายก็มักตกอยู่ในสภาพฝ่ายถูกกระทำเสมอ  
อเมริกาเป็นตัวอย่างของการไม่มีวิธีคิด ไม่ว่าในเวียดนาม อัฟกานิสถาน และอิรัก เริ่มเป็นฝ่ายกระทำ รุกเข้าไปยึดได้แล้ว แต่แล้วในที่สุดก็ตั้งรับรอแต่การโจมตีของข้าศึก ตกเป็นฝ่ายถูกกระทำ ข้าศึกมีเสรีภาพในการเคลื่อนไหว และเลือกรบกับฝ่ายอเมริกาในเวลาและสถานที่ที่ตนเองได้เปรียบที่สุด และไม่ยอมทำตามที่อเมริกาต้องการ ไม่ยอมรบในสนามรบที่อเมริกากำหนด ที่จะทำให้ตนสูญเสียฐานะการเป็นฝ่ายกระทำไป
โดยพื้นฐานแล้ว การเป็นฝ่ายกระทำ สัมพันธ์กับ การเคลื่อนที่ เมื่อหยุดการเคลื่อนที่ โอกาสที่จะเป็นฝ่ายกระทำ ก็น้อยลง เว้นแต่ฝ่ายเราจะมีดุลกำลังเหนือกว่าศัตรู และตั้งใจที่จะล่อศัตรูให้เข้ามาโจมตี ในพื้นที่ตั้งรับที่เราได้ตระเตรียมไว้แล้ว ตัวอย่างก็คือ การยุทธ์ที่เคอร์สค(Battle of Kursk) ในสงครามโลกครั้งที่ ๒ ในรัสเซีย เมื่อเดือนกรกฎาคม ๑๙๔๓ ที่รัสเซียล่อให้เยอรมันเข้าโจมตีแนวตั้งรับที่เตรียมเอาไว้อย่างดี เมื่อเยอรมันอ่อนกำลงลงแล้ว จึงใช้กำลังตีโอบปีกทั้ง ๒ ข้างของเยอรมัน บังคับให้เยอรมันต้องถอยไป ๆ ไกลถึง เบลโลรัสเซียใกล้ชายแดนโปแลนด์ อันเป็นจุดที่ เยอรมัน เริ่มต้นรุกรานรัสเซียในปี ๑๙๔๑ การพ่ายแพ้ที่เคอร์สค ทำให้เยอรมันหมดกำลังจนไม่สามารถทำการรุกโต้ได้อีกในแนวรบตะวันออก หมดสภาพและความสามารถการเป็นฝ่ายกระทำลงโดยสิ้นเชิง และพ่ายแพ้สงครามในที่สุด
แต่โดยทั่วไป การเป็นฝ่ายกระทำ สัมพันธ์กับ การเคลื่อนที่ การหยุดนิ่งอยู่กับที่ ยอมกลายเป็นเป้าให้ถูกกระทำได้ง่าย หมดความสามารถที่จะเป็นฝ่ายกระทำ  จักรพรรดินิยม และพวกปฏิกิริยามีพลังอำนาจสามารถเป็นฝ่ายกระทำในความขัดแย้งใด ๆ อย่างเช่นอเมริกา ไม่มีวิธีคิดอย่างนี้ ไม่เข้าใจยุทธศาสตร์การเป็นฝ่ายกระทำ ทุก ๆ สงครามที่อเมริกาเข้าไปยุ่งเกี่ยว ก็เริ่มต้นจากการเป็นฝ่ายกระทำ แล้วในที่สุดก็จบลงด้วยกลายเป็นฝ่ายถูกกระทำ เห็นได้ว่าอมริกาเป็นฝ่ายกระทำในขณะทำการรุก เมื่อการรบยุติลง อเมริกาก็หยุดเคลื่อนที่ แล้วยึดพื้นที่ตั้งรับ ในทางทหารก็ถือว่าเป็นปรกติ แต่ตามทรรศนะวิทยาศาสตร์ เห็นว่าการเมืองกับการทหารเป็นเรื่องเดียวกัน เป็นกระบวนการเชื่อมต่อกัน เมื่อยุติการรบลง ก็ต้องเริ่มงานการเมือง อเมริกามีทรรศนะด้านเดียวไม่ทำการรุกต่อทางการเมือง เพื่อรักษาการเป็นฝ่ายกระทำของตนเอาไว้  การรุกทางการเมืองนี้เราหมายความว่า “การสร้างมิตร” แต่อเมริกากลับทำในทางตรงกันข้ามคือ “สร้างศัตรู” ปฏิบัติการปราบปรามพลเมืองในพื้นที่ยึดครองอย่างโหดร้าย.
การกระทำของอเมริกากลับเลวร้ายยิ่งกว่าผู้ปกครองเดิมเสียอีก จักรพรรดินิยมและพวกปฏิกิริยามองเห็นว่าประชาชนเป็นศัตรูไปหมด และพบว่าตัวเองถูกศัตรูล้อมเอาไว้ทุกด้าน จึงกลายเป็นฝ่ายถูกกระทำไปโดยปริยาย สิ่งนี้เกิดขึ้นใน เกาหลี เวียดนาม อัฟกานิสถาน และอิรัก  ที่ในที่สุดจักรพรรดินิยมต้องพ่ายแพ้ในทุกสงคราม นี่คือตัวอย่างหนึ่งของการไม่มีวิธีคิดที่ถูกต้อง ไม่เข้าใจเรื่อง การเป็น “ฝ่ายกระทำ” และการเป็น “ฝ่ายถูกกระทำ” ที่สัมพันธ์กับ “การเคลื่อนที่” และ “การหยุดอยู่กับที่” รวมทั้งความเชื่อมต่อกันของ การทหารและการเมือง
อ่านเพิ่มเติมในข้อ (๗๘) - (๙๐),ความเป็นฝ่ายกระทำ ความพลิกแพลง และความมีแผนการ,“ว่าด้วยสงครามยืดเยื้อ”, สรรนิพนธ์เหมาเจ๋อตุง เล่ม ๒ ตอนต้น. ซึ่งนำมาบรรจุไว้เป็น ภาคผนวก ต่อท้ายหมายเหตุท้ายบท หน้า 57

[2] ความสามารถใน“การระดมเคลื่อนที่รวมศูนย์และกระจาย”ทรัพยากรได้อย่างรวดเร็วเป็นเป็นความสามารถเฉพาะและพิเศษของจีน ที่พัฒนามาตั้งแต่สงครามปฏิวัติจีน (ปี 1927-1949) ที่เหมาเจ๋อตุงได้ให้ความสำคัญเป็นยุทธวิธีในการรบสงครามเคลื่อนที่ หลักการทางยุทธวิธีนี้ ได้พัฒนาไปเป็นยุทธศาสตร์ด้านต่าง ๆ ของจีนในปัจจุบัน ที่ส่งผลให้จีนก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานเส้นทางคมนาคมอย่างขนานใหญ่ต่าง ๆ ทั่วประเทศอย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นที่ไหนมาก่อนในโลก เพื่อเอื้ออำนวยให้ ความสามารถใน “การเคลื่อนที่-รวมศูนย์-กระจาย” มีประสิทธิภาพสูงสุด 

No comments:

Post a Comment